Home | Bibliography | Site map | About us
    แบบทดสอบก่อนเรียน
    สถาปัตยกรรมบ้านเรือนไทย
    สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์
    สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
    ฐานานุศักดิ์ของสถาปัตยกรรมไทย
    บ้านเรือนไทยกับพลังงาน
    บ้านเรือนไทยประยุกต์
    สถาปัตยกรรมไทยในต่างแดน
    กำเนิดหมู่บ้านเรือนไทย
    บ้านเรือนไทยสมัยรัตนโกสินทร์
    ฐานรากของบ้านเรือนไทย
    มรดกทางวัฒนธรรม
    บ้านเรือนไทย รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี
    บ้านเรือนไทยในภาคอีสาน
    เรือนท้องถิ่นในชนบท
    บ้านเรือนไทยกับความเย็น
    ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน
    ความเชื่อของชาวอีสาน
    ฤกษ์ยามในการปลูกเรือน
    ลักษณะเรือนไทยอีสาน
    รูปแบบของเรือนไทยอีสาน
    แบบทดสอบหลังเรียน
Download Plug In
Internet Explorer 7
Silverlight 2.0
 
Flash Player 9
 



     
กำเนิดหมู่บ้านไทย

   ที่อยู่อาศัย นับเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ลักษณะที่อยู่อาศัยของแต่ละท้องถิ่นย่อมแตกต่างตามสภาพภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม ภูมิอากาศ ตลอดจนวัฒนธรรมความเชื่อต่างๆ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะประเทศไทย

    ความแตกต่างของสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตของคนไทยที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ภาคกลางพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลองไหลผ่าน ภาคเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ฯลฯ ลักษณะที่แตกต่างกันนี้ทำให้เกิดหมู่บ้านไทยในหลายลักษณะด้วยกัน ทั้งหมู่บ้านริมน้ำ หมู่บ้านริมทาง หมู่บ้านดอน หมู่บ้านเชิงเขา ฯลฯ

     
ลักษณะหมู่บ้านไทย

โดยทั่วไปหมู่บ้านไทยที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งออกเป็น ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้คือ

      1. ลักษณะหมู่บ้านริมแม่น้ำลำคลอง

    โดยทั่วไปสภาพของหมู่จะเกิดการรวมตัวกันขึ้นโดยธรรมชาติตามลักษณะสภาพภูมิศาสตร์ อันเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบอาชีพ สำหรับประเทศไทย คนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน ฯลฯ ซึ่งเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะนอกจากใช้เพื่อการเพาะปลูกแล้ว น้ำยังมีความจำเป็นสำหรับกิน อาบและเป็นเส้นทางคมนาคมจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วย

    การคมนาคมสมัยก่อนมีทั้งทางบกและทางน้ำ แต่โดยทั่วไปเส้นทางสัญจรที่สะดวกและนิยมมากที่สุดคือทางน้ำ ด้วยความสะดวกนี้จึงทำให้หมู่บ้านเกิดขึ้นตามริมแม่น้ำลำคลอง หรือที่เรียกว่า "หมู่บ้านริมน้ำ"

    หมู่บ้านริมน้ำนี้มักมีชื่อขึ้นต้นคำว่า "บาง" ซึ่งในที่นี้หมายถึง หมู่บ้านหรือร้านค้าซึ่งปลูกเรียงรายไปตามแม่น้ำ ลำคลอง หรือบริเวณใกล้ทะเล เช่น บางกอกน้อย บางปลาม้า บางปะกอก ฯลฯ

    เมื่อหมู่บ้านกำเนิดขึ้นแล้วสิ่งจำเป็นอื่นๆ ก็มักเกิดตามมาภายหลังได้แก่ ตลาด วัด สำหรับตลาดนั้นเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน เช่น ครอบครัวหนึ่งมีข้าวก็นำมาแลกกับเสื้อผ้า เป็นต้น ต่อมาภายหลังจึงเปลี่ยนมาใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแทน

 

 


 

    Home | Bibliography | Site map | About us

Best view resolution at 1024 x 768 px, Internet Explorer 7 or having "SiverLight" & Flash Player is available. This is Web 2.0