Home | Bibliography | Site map | About us
    แบบทดสอบก่อนเรียน
    สถาปัตยกรรมบ้านเรือนไทย
    สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์
    สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
    ฐานานุศักดิ์ของสถาปัตยกรรมไทย
    บ้านเรือนไทยกับพลังงาน
    บ้านเรือนไทยประยุกต์
    สถาปัตยกรรมไทยในต่างแดน
    กำเนิดหมู่บ้านเรือนไทย
    บ้านเรือนไทยสมัยรัตนโกสินทร์
    ฐานรากของบ้านเรือนไทย
    มรดกทางวัฒนธรรม
    บ้านเรือนไทย รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี
    บ้านเรือนไทยในภาคอีสาน
    เรือนท้องถิ่นในชนบท
    บ้านเรือนไทยกับความเย็น
    ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน
    ความเชื่อของชาวอีสาน
    ฤกษ์ยามในการปลูกเรือน
    ลักษณะเรือนไทยอีสาน
    รูปแบบของเรือนไทยอีสาน
    แบบทดสอบหลังเรียน
Download Plug In
Internet Explorer 7
Silverlight 2.0
 
Flash Player 9
 


     
        เรือนไทยของเรามีบรรยากาศเย็นสบาย เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของไทยเราโดยแท้ ทำไมเรือนไทยถึงเย็น มีสาเหตุใหญ่ๆ เช่น การวางผังและออกแบบตัวเรือน ที่ทำให้เรือนไทยของเรามีเอกลักษณ์ ได้แก่การออกแบบหลังคาให้สูงโปร่ง มีระเบียงและชานเล่นระดับสูงต่ำและวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง เช่น ประตู หน้าต่าง ลูกกรง ช่องลม เป็นองค์ประกอบของเรือนไทยที่เน้นในเรื่องความโปร่งโล่ง ให้แสงและลมเข้าได้ ฝาผนังเป็นไม้ ซึ่งเป็นวัสดุที่เป็นฉนวนอันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เรือนไทยเย็น..

       สาเหตุที่ทำให้เรือนไทยเราเย็นนั้นมีสาเหตุอยู่ที่สองประเด็นหลักก็คือ
1. การวางผังและออกแบบตัวเรือน ที่ทำให้เรือนไทยของเรามีเอกลักษณ์
2. วัสดุที่ใช้ก่อสร้าง

       1. การวางผังและออกแบบตัวเรือน ที่ทำให้เรือนไทยของเรามีเอกลักษณ์

   องค์ประกอบที่ทำให้เรือนไทยของเราเย็น คือผังของตัวเรือนไทยซึ่งเป็นต้นแบบของการวางผังบ้านแบบกลุ่ม (CLUSTER) แบบแรกที่เอื้อประโยชน์ใช้สอยมหาศาล ตามลักษณะการดำรงชีวิตของเรากับความเหมาะสมต่อสภาพภูมิอากาศ ผังเรือนไทยโดยทั่วไปแบ่งออกได้สามส่วนคือ

   1) นอกชาน

   2) ชาน หรือระเบียงชาน

   3) ตัวเรือน

   นอกชาน คือพื้นที่ที่เป็นทางหรือลานไม้เชื่อมต่อระหว่างเรือนหลายหลังเข้าด้วย บรรยากาศบริเวณนอกชานซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างเรือนหลายหลังเข้าด้วยกัน มักปลูกต้นไม้ไว้ตรงกลางนอกชานเพื่อให้ความร่มรื่น สวนนอกชานส่วนใหญ่จะนิยมปลูกไม้กระถางซึ่งสามารถยกย้ายเปลี่ยนที่ได้


     ชาน คือระเบียงที่อยู่ต่อเนื่องกับตัวเรือน ระเบียงนี้จะมีหลังคาคลุมและใช้เป็นที่ใช้สอยอเนกประสงค์

    ตัวเรือนจะกำหนดเป็นห้องเพียง 1-2 ห้อง ใช้สำหรับเก็บของมีค่า เก็บเสื้อผ้า เป็นบริเวณแต่งตัว เป็นที่นอนของลูกๆที่โตแล้ว หรือกั้นเป็นห้องพระ เรือนนี้กำหนดเป็นเรือนใหญ่ เรือนเล็กมักเป็นเรือนตรงข้ามเรือนใหญ่ กั้นด้วยชาน (นอกชาน) สำหรับเป็นเรือนนอนของลูกชายคนโตในกรณีที่มีครอบครัวหรือเพื่อความเป็นสัดส่วน เรือนที่สามก็คือเรือนครัว มักวางผังตั้งฉากกับเรือนใหญ่ มีชานเป็นตัวเชื่อมเช่นกันจะใช้เป็นห้องอาหารด้วย ในเวลากลางวันจะอยู่อาศัยที่ระเบียงซึ่งมีหลังคาคลุมกันแดด แต่ไม่มีผนัง ทำให้สว่างและรับลมที่ผ่านชานเข้ามา และเมื่อแดดร่มก็จะใช้ชานสำหรับทำงานบ้านและอยู่อาศัยปกติ บริเวณทั้งสองนี้จึงไม่ร้อน เนื่องจากเป็นการใช้ตามสภาพแดดลม ในขณะที่เมื่อพลบค่ำก็จะอยู่อาศัยที่ระเบียงและเข้าเรือนนอน แนวการวางตัวเรือนจะวางตามความยาวในทิศทางตามตะวันเพื่อรับลมที่มาจากทิศใต้

 

 


 

 

 


 

    Home | Bibliography | Site map | About us

Best view resolution at 1024 x 768 px, Internet Explorer 7 or having "SiverLight" & Flash Player is available. This is Web 2.0