Home | Bibliography | Site map | About us
    แบบทดสอบก่อนเรียน
    สถาปัตยกรรมบ้านเรือนไทย
    สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์
    สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
    ฐานานุศักดิ์ของสถาปัตยกรรมไทย
    บ้านเรือนไทยกับพลังงาน
    บ้านเรือนไทยประยุกต์
    สถาปัตยกรรมไทยในต่างแดน
    กำเนิดหมู่บ้านเรือนไทย
    บ้านเรือนไทยสมัยรัตนโกสินทร์
    ฐานรากของบ้านเรือนไทย
    มรดกทางวัฒนธรรม
    บ้านเรือนไทย รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี
    บ้านเรือนไทยในภาคอีสาน
    เรือนท้องถิ่นในชนบท
    บ้านเรือนไทยกับความเย็น
    ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน
    ความเชื่อของชาวอีสาน
    ฤกษ์ยามในการปลูกเรือน
    ลักษณะเรือนไทยอีสาน
    รูปแบบของเรือนไทยอีสาน
    แบบทดสอบหลังเรียน
Download Plug In
Internet Explorer 7
Silverlight 2.0
 
Flash Player 9
 



    
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือนไทยที่เป็นเครื่องสับของเราเองช่างมีฝีมือประณีตมากในการเจาะสลักเดือยให้เข้ากันได้ เดือยมีหลายแบบ มีเดือยหางเหยี่ยวบ้าง เดือยเข็ญบ้าง แต่ถ้าเป็นทางโน้นต้องใช้ช่างฝรั่งแทน เพราะว่าช่างคนไทยคงไม่ไหวไปอยู่ที่นั่นลบ 40 องศาเซลเซียส แค่ลบ 10 ก็แทบไม่ไหวแล้ว เพราะฉะนั้นกรรมวิธีในการสร้างบ้านต้องปรับใหม่หมด ต้องปรับกรรมวิธีใหม่หมด นำเอารูปลักษณ์ของไทยที่มีสัดส่วนที่งดงามอ่อนช้อยมาใช้ประโยชน์ในการใช้สอยได้ทุกจุด เพราะว่าที่โน่นเรื่องของประโยชน์ใช้สอยก็ถือว่าสำคัญมากแล้วก็ออกแบบให้ใช้ได้แม้กระทั่งใต้ถุนเรือนไทยที่ออกแบบไว้เป็นเรือนไทยหมู่ที่เรียกว่า Super Deluxe ซึ่งมีอ่างอาบน้ำและห้องนอนอย่างดี น้ำที่ใช้เป็นน้ำอุ่นจากน้ำแร่ สูบจากข้างล่างขึ้นมาตามท่อโดยรอบ มองจากภายนอกจะเห็นว่าเป็นเรือนไทยที่งดงามมาก ที่โน่นทิวทัศน์สวยงามมากเข้ากับบรรยากาศ จึงใช้กระจกทำหน้าต่างและประตูเพื่อดูวิวได้รอบ ๆ เมื่อถึงฤดู Spring คือ หน้าร้อนก็จะเห็นวิวทิวทัศน์อีกแบบหนึ่ง พอถึงหน้า Fall คือ ใบไม้ร่วงก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง สีสันสวยงามมากเปลี่ยนสีจากเหลืองเป็นแดงบ้าง ทีนี้พอถึงหน้าหนาวหิมะลงเต็มหมดขาวโพลนไปหมดเห็นเฉพาะต้นสนอย่างเดียวที่มีสีเขียวอยู่ แม้กระทั่งเรือนไทยถ้าคุณเห็นภาพจะเห็นรอยหิมะปกคลุมหลังคาเต็มไปหมด เพราะฉะนั้นต้องคำนวณเรื่องรับน้ำหนักปกติสำหรับนอกชานกว้าง ๆ บ้านเราไม่มีหิมะไม่ต้องเผื่อน้ำหนักเท่าไหร่ แต่ที่โน่นไม่ได้ต้องเผื่อเอาไว้เมื่อเผื่อก็จะต้องเป็นคานเหล็กไฮบีม ซึ่งต้องเปลี่ยนแปลงกรรมวิธีในการใช้เรื่องของโครงสร้างด้วย เพราะทั้งหมดเป็นการออกแบบให้อยู่ได้ในประเทศเมืองหนาว จะเป็นเรือนไทยหมู่แรกในประวัติศาสตร์ของไทยต่อไป

     ความภูมิใจของสถาปนิกในผลงาน

    นอกจากที่ประเทศแคนาดาแล้ว ยังมีประเทศอื่น ๆ อีกที่มีเรือนไทยอยู่ แต่ไม่เชิงเป็นเรือนไทยมากนักเป็นรูปลักษณ์ซะมากกว่ามีลักษณะเป็นศาลาไทยบ้าง เป็นพระอุโบสถบ้าง ส่วนมากเป็นอาคารทางพระศาสนาเสียมากกว่า อย่างเช่น ศาลาไทยที่กรุงเทลอาวีฟ ประเทศ อิสราเอล อย่างนั้นสร้างเพื่อเฉลิมฉลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ครบ 6 รอบก็ไปสร้างไว้ในสวนโมดิอินสวยงามมาก อิสราเอลก็ดูแลเป็นอย่างดี ไปทำโบสถ์หรือวัดที่กุสินาราเป็นที่เสด็จปรินิพพานขององค์พระพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานที่กรุงกุสินารา คณะกรรมการดำเนินการก็เชิญวิทยากรไปเป็นสถาปนิกออกแบบวัดกุสินารา ซึ่งเดี๋ยวนี้เรียบร้อยสมบูรณ์แล้วมีความงดงาม ถือว่าเป็นพระอุโบสถที่งดงามมากแห่งหนึ่ง เสร็จจากกุสินาราแล้วคนของรัฐบาลไทยที่ลุมพินีวันที่ซึ่งพระพุทธองค์ประสูติประเทศเนปาล ในสมัยก่อนเป็นเขตเดียวกันกับอินเดีย แต่ปัจจุบันแบ่งเป็น ณ ที่ประสูติเป็นของเนปาล ขณะนี้กำลังก่อสร้างอยู่มีหลายประเทศที่ไปทำ ในการทำวิทยากรก็จะนึกถึงลูกศิษย์อยู่ตลอดเวลาว่าที่ทำนี้จะได้เป็นแบบอย่างเป็นบทเรียนให้ลูกศิษย์ที่เรียนสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาปัตยกรรมไทยให้ดูกว้างขวางและแพร่หลายยิ่งขึ้น ซึ่งนั่นก็คือ ความสามารถของคนไทยเป็นศิลปไทยและสมควรที่คนไทยทุกคนจะภาคภูมิใจกับผลงานของวิทยากรสมควรได้รับการยกย่อง

 

 

 


 

    Home | Bibliography | Site map | About us

Best view resolution at 1024 x 768 px, Internet Explorer 7 or having "SiverLight" & Flash Player is available. This is Web 2.0