Home | Bibliography | Site map | About us
    แบบทดสอบก่อนเรียน
    สถาปัตยกรรมบ้านเรือนไทย
    สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์
    สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
    ฐานานุศักดิ์ของสถาปัตยกรรมไทย
    บ้านเรือนไทยกับพลังงาน
    บ้านเรือนไทยประยุกต์
    สถาปัตยกรรมไทยในต่างแดน
    กำเนิดหมู่บ้านเรือนไทย
    บ้านเรือนไทยสมัยรัตนโกสินทร์
    ฐานรากของบ้านเรือนไทย
    มรดกทางวัฒนธรรม
    บ้านเรือนไทย รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี
    บ้านเรือนไทยในภาคอีสาน
    เรือนท้องถิ่นในชนบท
    บ้านเรือนไทยกับความเย็น
    ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน
    ความเชื่อของชาวอีสาน
    ฤกษ์ยามในการปลูกเรือน
    ลักษณะเรือนไทยอีสาน
    รูปแบบของเรือนไทยอีสาน
    แบบทดสอบหลังเรียน
Download Plug In
Internet Explorer 7
Silverlight 2.0
 
Flash Player 9
 



       
ด้วยเหตุดังกล่าวเป็นผลทำให้เกิดร้านแม่น้ำลำคลองขึ้น หมู่บ้านที่เกิดขึ้นนี้มักมีลักษณะยาวติดต่อกันไปตามความยาวของลำคลองหรือแม่น้ำ ส่วนพื้นที่ด้านหลังมักเป็นสวน และถัดจากสวนจะเป็นทุ่งนาหรือไร่

   หมู่บ้านลักษณะนี้มักมีการขยายตัวไปตามความยาวของลำน้ำ ซึ่งทำให้ยากต่อการพัฒนาและการปกครอง ดังนั้น ภายในหมู่บ้านจึงมี "วัด" เป็นศูนย์กลางและมีอิทธิพลในการประสานยึดเหนี่ยวให้หมู่บ้านดำรงอยู่อย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อน

หมู่บ้านริมน้ำดังกล่าวนี้ถ้ามีปริมาณมาก และขยายตัวโดยมีขอบเขตและคันคูแล้ว

         จะกลายเป็นเมืองซึ่งมีลักษณะเรียกว่า "เมืองอกแตก" ที่หมายถึง เมืองที่มีแม่น้ำหรือลำคลองขนาดใหญ่ผ่านกลาง เช่น เมืองพิษณุโลก เป็นต้น


 

         แต่ถ้าเป็นหมู่บ้านที่เกิดขึ้นริมทาง ซึ่งในสมัยก่อนใช้เกวียนเป็นยานพาหนะทางบก และมีสัตว์พวกช้าง ม้า วัว ควายเป็นตัวลากจูง การเดินทางจึงมีขีดจำกัดตามกำลังความสามารถของสัตว์เหล่านั้น หากระยะทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งไกลเกินกำลังของสัตว์ ไม่สามารถไปถึงจุดหมายภายในหนึ่งวัน ก็จำเป็นต้องพักแรม พอรุ่งเช้าจึงเดินทางต่อ

      บริเวณที่เกวียนมาหยุดพักแรมนี้ มักมีชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นมาปลูกเพิงขายอาหารและสิ่งของเครื่องใช้แก่ผู้ที่สัญจรไปมารวมทั้งหาสิ่งของมาแลกเปลี่ยนด้วย ต่อมาเมื่อกิจการค้าเจริญขึ้นจึงมีชาวบ้านมาปลูกเพิงขายของเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เพิงคว้าขายเหล่านี้จึงขยายออกไปตามแนวยาวและเพิ่มจากหนึ่งแถวเป็นสองแถว

       และเมื่อเวลาผ่านไป ผู้อยู่อาศัยมีความคุ้นเคยกับสถานที่บริเวณนั้นมากขึ้น จึงได้ปลูกเป็นเรือนถาวรขึ้นแทนเพิงค้าขาย โดยจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นที่พักอาศัยและอีกส่วนหนึ่งเป็นที่ค้าขาย เมื่อจำนวนหลังคาเรือนมากขึ้นจึงกลายเป็นหมู่บ้านไปในที่สุด โดยด้านหลังของหมู่บ้านมักเป็นเรือกสวนไร่นา คล้ายๆ กับหมู่บ้านริมแม่น้ำลำคลอง

 


 

    Home | Bibliography | Site map | About us

Best view resolution at 1024 x 768 px, Internet Explorer 7 or having "SiverLight" & Flash Player is available. This is Web 2.0