Home | Bibliography | Site map | About us
    แบบทดสอบก่อนเรียน
    สถาปัตยกรรมบ้านเรือนไทย
    สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์
    สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
    ฐานานุศักดิ์ของสถาปัตยกรรมไทย
    บ้านเรือนไทยกับพลังงาน
    บ้านเรือนไทยประยุกต์
    สถาปัตยกรรมไทยในต่างแดน
    กำเนิดหมู่บ้านเรือนไทย
    บ้านเรือนไทยสมัยรัตนโกสินทร์
    ฐานรากของบ้านเรือนไทย
    มรดกทางวัฒนธรรม
    บ้านเรือนไทย รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี
    บ้านเรือนไทยในภาคอีสาน
    เรือนท้องถิ่นในชนบท
    บ้านเรือนไทยกับความเย็น
    ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน
    ความเชื่อของชาวอีสาน
    ฤกษ์ยามในการปลูกเรือน
    ลักษณะเรือนไทยอีสาน
    รูปแบบของเรือนไทยอีสาน
    แบบทดสอบหลังเรียน
Download Plug In
Internet Explorer 7
Silverlight 2.0
 
Flash Player 9
 


      เรือนเครื่องสับ มีลักษณะพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือ จะมี “ฐานานุศักดิ์” ในตัวของมันเองอยู่ทุกหลัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะความเป็นผู้พักอาศัย เช่น ในระยะแรกยังมีฐานะไม่ดีนักก็อาจใช้ “ฝากระดานตีเรียบ” ฝีมือช่างไม่สูงนัก แต่เมื่อฐานะดีขึ้นอาจเปลี่ยนเป็น “ฝาปะกน” ซึ่งมีลูกตั้งและลูกเซ็นประกอบกันขึ้นมาเพื่อความงดงามและคงทนถาวรมากขึ้น หรืออาจทำเป็น “ฝาลูกฟักกระดานดุน” ที่ทำให้ฝามีความหนามากขึ้น
 

     ข้อสังเกตอีกแห่งหนึ่งที่ทำให้ทราบว่าบ้านใดเป็นบ้านพักของเจ้านายหรือผู้มีฐานะสูง คือ บริเวณ “หย่องหน้าต่าง” ของกรอบเช็ดหน้าจะมีลักษณะแตกต่างออกไปตามฐานะของเรือน ถ้าเป็นเรือนธรรมดาอาจเป็นแผ่นกระดานเรียบ ๆ ถ้าฐานะสูงขึ้นมาก็เป็นลูกฟักกระดานดุน ลูกกรงมะหวด จนสูงที่สุดก็จะแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายก้านแย่ง ลายพฤกษชาติ แต่ไม่ได้แกะสลักทั้งหลังเหมือนอาคารทางพระพุทธศาสนา

    ดังนั้น เราจะทราบฐานะของผู้ที่พักอาศัยในเรือนนั้น ๆ ได้จากลักษณะรูปแบบอาคาร ถ้าเป็นเจ้านายระดับสูงอาคารก็จะเริ่มใหญ่ขึ้น คือ จะมีขนาดตั้งแต่ ๖ แปลานขึ้นไป การประดับตกแต่งนอกจากที่หย่องหน้าต่างแล้ว ก็ยังมีในส่วนอื่น ๆ ด้วย เช่น การทำลูกกรงประดับต่าง ๆ ซึ่งในเรื่องฐานานุศักดิ์ของเรือนเครื่องสับนี้จะเห็นตัวอย่างได้จากเรือนหมู่ในพระที่นั่งวิมานเมฆ เรือนทับขวัญที่จังหวัดนครปฐม วังบ้านหม้อ วังปลายเนิน วังสวนผักกาด เป็นต้น

    รือนเครื่องก่อ แต่เดิมการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยจะใช้ไม้เป็นหลัก แต่เพื่อความคงทนถาวรในการใช้งานจึงมีการพัฒนาวัสดุก่อสร้างใช้เป็นการก่ออิฐถือปูนขึ้นมา

   ในสมัยโบราณมักจะสร้างอาคารก่ออิฐถือปูนกับอาคารทางศาสนาเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเริ่มมีการนำไปใช้ในการก่อสร้างพระราชวังหลวง วังของเจ้านาย และเรือนของข้าราชบริพารระดับสูง การก่อสร้างอาคารก่ออิฐถือปูนจะทำรากแผ่แล้วก่อผนังขึ้นไป ส่วนโครงสร้างหลังคายังทำเป็นเครื่องสับอยู่เหมือนเดิม วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างใช้ “ปูนสอ” เชื่อมยึดกับแผ่นอิฐ ปูนสอหรือปูนขาว (lime stone) ได้จากการเผาหินปูนหรือเปลือกหอย แล้วนำมาผสมกับทรายหยาบและน้ำผึ้ง หากเป็นงานขนาดใหญ่จะใช้น้ำผึ้งที่เคี่ยวจากตาลโตนด แต่ถ้าเป็นงานละเอียดจะใช้น้ำผึ้งจากรวงผึ้งนอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มความเหนียวได้โดยการเติม “กาวหนัง” หรือยางไม้บางชนิดลงไปได้ด้วย

   รูปแบบของเรือนเครื่องก่อ อาคารเครื่องก่อมักจะเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีความคงทนกว่าเรือนเครื่องสับโดยจะมีส่วนที่เป็น “เดี่ยวล่าง” และ “เดี่ยวบน” ของอาคารเป็นเครื่องก่อและส่วนหลังคาเป็นเครื่องสับก่อนที่จะเป็นเครื่องก่อทั้งหลังก็ยังมีการสร้างส่วนเดี่ยวล่างเป็นเครื่องก่อ ส่วนเดี่ยวบนเป็นเครื่องสับ เมื่อต้องการสร้างอาคารที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจึงต้องก่อส่วนเดี่ยวบนด้วยอิฐ แล้วฉาบปูนแทนเครื่องสับ บริเวณทางเข้าออกและช่องระบายอากาศที่ผนังจะทำคานทับหลังด้วยไม้ แต่อาคารบางที่มีการก่ออิฐเป็น “ทรงพนม” ก็ไม่ต้องมีคานทับหลังพบในอาคารเครื่องก่อขนาดใหญ่ เช่น พระราชวัง

 

 


 

    Home | Bibliography | Site map | About us

Best view resolution at 1024 x 768 px, Internet Explorer 7 or having "SiverLight" & Flash Player is available. This is Web 2.0