Home | Bibliography | Site map | About us
    แบบทดสอบก่อนเรียน
    สถาปัตยกรรมบ้านเรือนไทย
    สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์
    สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
    ฐานานุศักดิ์ของสถาปัตยกรรมไทย
    บ้านเรือนไทยกับพลังงาน
    บ้านเรือนไทยประยุกต์
    สถาปัตยกรรมไทยในต่างแดน
    กำเนิดหมู่บ้านเรือนไทย
    บ้านเรือนไทยสมัยรัตนโกสินทร์
    ฐานรากของบ้านเรือนไทย
    มรดกทางวัฒนธรรม
    บ้านเรือนไทย รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี
    บ้านเรือนไทยในภาคอีสาน
    เรือนท้องถิ่นในชนบท
    บ้านเรือนไทยกับความเย็น
    ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน
    ความเชื่อของชาวอีสาน
    ฤกษ์ยามในการปลูกเรือน
    ลักษณะเรือนไทยอีสาน
    รูปแบบของเรือนไทยอีสาน
    แบบทดสอบหลังเรียน
Download Plug In
Internet Explorer 7
Silverlight 2.0
 
Flash Player 9
 


     
        รูปแบบของตัวเรือนไทยภาคกลาง ได้มีการปลูกสร้างสืบกันมาโดยตลอด แต่อย่างไรก็ตามก็จะส่วนแตกต่างให้เห็นได้บ้าง เช่น ระบบการเปิดหน้าต่างแบบดั้งเดิมจะเปิดบานเข้าภายในตัวเรือนเป็นหน้าต่างแบบมี อกเลา ส่วนที่สร้างในระยะหลังนั้นส่วนใหญ่บานหน้าต่างจะเปิดออกทางด้านนอก และเป็นแบบที่ไม่มี อกเลา ฝาเรือนก็มักจะค่อนข้างใหญ่ คือ มักจะเป็นฝาแบบเรียง เป็นเกล็ดซ้อนกันขึ้นไปตลอดแนวด้านข้าง และด้านสกัดของตัวเรือน รูปทรงก็มักจะเป็นแบบตั้งฉากขึ้นไปหมดทุกด้าน ต่างไปจากรูปแบบของเรือนรุ่นเก่า ซึ่งนิยมทำเป็นแบบทรงล้มสอบ ขึ้นไปทั้ง 4 ด้าน เรือนประเภทนี้ยังคงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง ในกลุ่มที่เป็นชุมชนดั้งเดิม เช่น บางปลาสร้อย อ่างศิลา หนองมน พนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เรือนรูปแบบดังกล่าวมีลักษณะพิเศษคือ มีการต่อชายคาทางด้านของตัวเรือนให้ยื่นยาวออกมา และมีการทำเสารับส่วนปลายของชายคา การที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่ส่วนนี้สำหรับจอดเกวียน ทั้งนี้เนื่องจากเกวียนที่ใช้เป็นพาหนะในแถบภาคตะวันออกนี้มีขนาดสูงใหญ่ ไม่สามารถนำเข้าจอดเก็บไว้ใต้ถุนเรือนได้ดังเช่นเกวียนของภาคอื่น เรือนประเภทนี้ ส่วนหนึ่งจะพบมากในกลุ่มของชุมชนเดิมที่ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน และอาจกล่าวได้ว่าเรือนในลักษณะนี้ก็คือแบบหนึ่งซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ ภาคตะวันออกได้

ไทยพนัสนิคม มีลักษณะเฉพาะคือ
จะต่อชายคายื่นยาวออกมาทางด้านขัาง เพื่อใช้เป็นที่จอดเก็บเกวียนลา
    
        ปรากฏพบ ก็คงทำนองเดียวกับเรือนไทยในภาคกลาง คือ มีทั้งประเภทที่เป็นเรือนเดี่ยวและเรือนหมู่ โดยเรือนหมู่จะประกอบด้วยตัวเรือน 3 หลัง มีชานเชื่อมกลาง การวางตำแหน่งของตัวเรือนจะอยู่ในลักษณะของเรือน จะอยู่ในลักษณะแต่ละหลังที่เรียงล้อมรอบชานอยู่ 3 ด้าน ส่วนด้านหน้าจะทำเป็นบันไดทางขึ้นประกอบประตูรั้วชาน ซึ่งทำให้เกิดความเป็นสัดส่วนเฉพาะร่วมกันของเรือนดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม จะมีเรือนหลังหนึ่งที่อยู่ทางด้านข้างของชาน ต่อชายคายื่นยาวออกมา เพื่อใช้เป็นที่จองเก็บเกวียน อันเป็นลักษณะเฉพาะ เป็นข้อกำหนดความแตกต่างของเรือนท้องถิ่นภาคตะวันออกกับเรือนไทยภาคกลาง


 


 

    Home | Bibliography | Site map | About us

Best view resolution at 1024 x 768 px, Internet Explorer 7 or having "SiverLight" & Flash Player is available. This is Web 2.0