Home | Bibliography | Site map | About us
    แบบทดสอบก่อนเรียน
    สถาปัตยกรรมบ้านเรือนไทย
    สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์
    สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
    ฐานานุศักดิ์ของสถาปัตยกรรมไทย
    บ้านเรือนไทยกับพลังงาน
    บ้านเรือนไทยประยุกต์
    สถาปัตยกรรมไทยในต่างแดน
    กำเนิดหมู่บ้านเรือนไทย
    บ้านเรือนไทยสมัยรัตนโกสินทร์
    ฐานรากของบ้านเรือนไทย
    มรดกทางวัฒนธรรม
    บ้านเรือนไทย รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี
    บ้านเรือนไทยในภาคอีสาน
    เรือนท้องถิ่นในชนบท
    บ้านเรือนไทยกับความเย็น
    ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน
    ความเชื่อของชาวอีสาน
    ฤกษ์ยามในการปลูกเรือน
    ลักษณะเรือนไทยอีสาน
    รูปแบบของเรือนไทยอีสาน
    แบบทดสอบหลังเรียน
Download Plug In
Internet Explorer 7
Silverlight 2.0
 
Flash Player 9
 



 

บ้านทรงไทยสมัย รัชกาลที่ 4

 

     ในรัชกาลที่ ๕ เรือนหลังคาปั้นหยาเริ่มมีกันหนาตาแทนบ้านทรงไทยโบราณ อย่างสมัยต้นรัตนโกสินทร์ บ้านไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ชั้นเดียวหรือสองชั้น นิยมสร้างประยุกต์แบบตะวันตกเข้ากับไทย คือสร้างด้วยไม้ ยกพื้นกันน้ำท่วม แต่ใต้ถุนเตี้ยกว่าบ้านไทยเดิม

     รัชกาลที่ ๖ เป็นยุคบ้านเมืองสงบราบรื่น เศรษฐกิจดี ชาวเมืองนิยมความประณีตงดงาม ประกวดประขันความหรูหราของเรือนแบบตะวันตก ได้รับอิทธิพลจากบ้านวิกตอเรียนของอังกฤษ โดยเฉพาะการตกแต่งด้วยลายฉลุที่เรียกว่าขนมปังขิง(gingerbread) และเล่นรูปทรงตัวห้องมุขหกหรือแปดเหลี่ยม 

บ้านทรงไทยสมัยรัชกาลที่ 6

บ้านทรงไทยสมัยรัชกาลที่ 7
 

       พอมาถึงรัชกาลที่ ๗ ที่เผชิญปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง บ้านทรงไทยเริ่มลดความหรูหราเป็นเรียบง่าย ตัดลายฉลุฟุ่มเฟือยออกไป หลังคานิยมจั่วตัด

บ้านทรงไทยสมัยรัชกาลที่ 8
 

    ในรัชกาลที่ ๘ รูปทรงบ้านทรงไทยเก๋ไก๋ทันสมัยแบบตะวันตกสมัยศตวรรษที่ ๒๐ เป็นบ้านสองชั้น แม้ว่าใช้ไม้ซึ่งเป็นวัสดุหาง่ายของไทย แต่หลังคาก็เล่นแบบซ้อนกันหลายชั้น มีหน้าต่างบานเกล็ดและกระจกสีเหนือหน้าต่างแบบฝรั่ง

 


 

    Home | Bibliography | Site map | About us

Best view resolution at 1024 x 768 px, Internet Explorer 7 or having "SiverLight" & Flash Player is available. This is Web 2.0