อุตุนิยมวิทยา

อุตุนิยมวิทยา   เป็นศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอากาศและปรากฎการณ์ของภูมิอากาศ ข้อมูลที่ได้จาก
การรวบรวม นำมาใช้ประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์ ต่อคนในอาชีพต่างๆ เช่น ชาวนา ชาวประมง วิศวกร นักบริหาร
ธุรกิจ เป็นต้น ซึ่งนำมาใช้ในตรงและทางอ้อม

กรมอุตุนิยม   เป็นหน่วยราชการทำหน้าที่รวบรวมผลตรวจอากาศจากสถานีต่างๆ จัดทำแผนที่อากาศ          

การพยากรณ์อากาศ คือ  การคาดหมายลักษณะอากาศล่วงหน้า รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น ในช่วงเวลาข้างหน้า

การพยากรณ์อากาศแบ่งได้ตามระยะเวลาของการคาดหมาย ดังนี้
  1. พยากรณ์อากาศระยะปัจจุบัน (Nowcast) พยากรณ์ในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
  2. พยากรณ์อากาศระยะสั้นมาก (Very short-range Forecast) พยากรณ์ระหว่าง 3-12 ชั่วโมง
  3. พยากรณ์อากาศระยะสั้น (Short-range Forecast) พยากรณ์ระหว่าง 12-72 ชั่วโมง
  4. พยากรณ์อากาศระยะปานกลาง (Medium-range Forecast) พยากรณ์ระหว่าง 3-10 วัน
  5. พยากรณ์อากาศระยะนาน (Long-range Forecast) พยากรณ์ตั้งแต่ 10 วันขึ้นไป
องค์ประกอบของการพยากรณ์อากาศ

ในการที่จะพยากรณ์อากาศได้นั้นต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

  1. การตรวจอากาศ
  2. การสื่อสารข้อมูลข่าวอากาศ
  3. การวิเคราะห์ลักษณะอากาศ

กาลอากาศ  คือ สภาวะอากาศที่เป็นอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ปรากฏการณ์ของอากาศ ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันใดวันหนึ่งนั้น
ภุมิอากาศ หมายถึง การรวบรวมเอาปัจจัยในหลายๆ ด้าน ทั้งอุณหภูมิความชื้น ความกดอากาศ ลม และปริมาณ น้ำฝน รวมไปถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นในทางอุตุนิยมวิทยา ในบริเวณหนึ่ง เป็นระยะเวลานานสภาพภูมิอากาศของ
แต่ละพื้นที่ทั่วโลกจะมีความแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่ตั้งทางละติจูด สภาพภูมิประเทศ ความสูงของพื้นที่ น้ำแข็งหรือหิมะปกคลุม รวมไปถึงระยะห่างจากทะเลหรือมหาสมุทร และกระแสน้ำทะเลลักษณะของลมฟ้า อากาศที่มีอยู่ประจำท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยพิจารณาจากค่า สภาวะอากาศที่เป็นเกณฑ์เฉลี่ยของกาลอากาศ
ในปีหนึ่งๆ เป็นระยะเวลายาวนาน

การพยากรณ์อากาศกับแผนที่อากาศ

    ในการพยากรณ์อากาศ นักอุตุนิยมวิทยาใช้แผนที่อากาศประกอบการอธิบายหรือแสดงข้อมูล
แผนที่อากาศ  คือสิ่ง ที่ แสดงลักษณะอากาศ ในเวลาขณะใดขณะหนึ่งโดยประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับความกด ดันอากาศ แนวปะทะ อากาศอุณหภูมิลักษณะของเมฆ ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ เช่น หิมะ ฝนฟ้าคะนอง ฟ้า แลบ เป็นต้น ซึ่งข้อ มูลนี้นำมาเขียนในลักษณะของรูปรหัสและสัญลัษณ์

ตัวอย่างรหัสและสัญลักษณ์ในแผนที่อากาศ

  1. เส้นไอโซบาร์ คือ เส้นที่ลากผ่านจุดที่มีความกดอากาศเท่ากันนั่นคือบริเวณต่างๆ ที่อยู่บนเส้นเดียวกัน ในขณะที่มีการตรวจวัดสภาพอากาศนั้น
  2. H แทนหย่อมความกดอากาศสูง หรือบริเวณที่มีความกดอากาศสูง
  3. L แทนหย่อมความกดอากาศตำ่ หรือบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ    มหาวิทยาลัยศรีปทุม          ศูนย์อบรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิก อันดับ 1 ในประเทศไทยในใจของคุณ     NIIT