ลูกเห็บ

  หมายถึง เกล็ดน้ำแข้งซึ่งมีรูปร่าง และขนาดต่างๆกันแต่มีขนาดโตโดยมากจะเกิด เมื่อมีฝนฟ้าคะนองอย่างแรง เป็นก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่กว่า5เซนติเมตรเกิดขึ้นจาก กระแสในอากาศไหลขึ้น(updraft) และไหลลง (downdraft)ภายในเมฆคิวมูโลนิมบัส พัดให้ ผลึกน้ำแข็งปะทะกับน้ำเย็นยิ่งยวดกลายเป็นก้อนน้ำแข็งห่อหุ้มกัน เป็นชั้นๆ จนมีขนาด ใหญ่ และตกลงมา

  ฝนลูกเห็บมักจะมากับพายุฝนที่รุนแรง และมักจะมีอากาศเย็นโดยที่อุณหภูมิของชั้น อากาศที่อยู่สูงนั้นเย็นกว่า อากาศที่อยู่ต่ำมาก ลูกเห็บขนาดเล็กจะถูกพัดพาสะท้อน ขึ้นลงอยุ่ระหว่างชั้นบรรยากาศที่อากาศเย็นและร้อน เนื่องจากการลอยตัวขึ้นของ อากาศร้อน และแรงดึงดูดของโลก ลูกเห็บที่ลอยตัวอยู่นานก็จะมีขนาดใหญ่ดังนั้น จะเห็นได้ว่าลูกเห็บขนาดใหญ่ ก็อาจเกิดขึ้นได้ในเขต ที่มีอากาศร้อนเนื่องมาจาก การลอยตัวขึ้นที่รุนแรงของ อากาศ ร้อน และยังสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงฤดูร้อนอีกด้วย 

   ลูกเห็บส่วนใหญ่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 23 มิลลิเมตรแต่บางทีอาจมีขนาดใหญ่ถึงหลายเซนติ เมตร หรือใหญ่กว่านั้นลูกเห็บขนาดเมล็ดถั่วจนถึงขนาด ลูกกอล์ฟนั้นเป็นขนาดที่พบเห็นได้ทั่วไปเมื่อผ่าลูกเห็บ ออกจะเห็นชั้นหลายๆชั้นซ้อน กันอยู่ จำนวนชั้นบอกได้ว่าลูกเห็บนี้ถูกพัดขึ้นไปสูงขึ้นกี่ครั้งโดยชั้นข้าง ในจะมี สีน้ำเงิน แล้วชั้นต่อไปสีจะจางลงเรื่อยๆ จนถึงสีขาว

การเกิดลูกเห็บ

    ลูกเห็บเกิดจากที่สูงมากจากพื้นโลกกระแสลมแรงพัดพาเม็ดฝนขึ้นไปในกลุ่มเมฆที่ฟ้าคะนองในที่สูงอากาศ เย็นมาก ทำให้เม็ดฝนแข็งตัวยิ่งขึ้นไปสูง ยังมีเกร็ดหิมะเข้ามาเกาะ ม็ดน้ำแข็งครั้นตกลงมาอีกส่วนล่างของกลุ่ม เมฆซึ่งเย็นน้อยกว่าด้านบน ความชื้นเข้าไปห่อหุ้มเม็ดน้ำแข็ง แล้วกระแสลมก็พัดเอาเม็ดน้ำแข็งกลับขึ้น ไปด้าน บนของกลุ่มเมฆอีกที่อุณหภูมิความชื้นรอบๆเม็ดน้ำแข็งพอกเพิ่มเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง เม็ด น้ำแข็งก็โตขึ้นอีกนิด

    เม็ดน้ำแข็งลอยสูง แล้วตกลงมาวนซ้ำไปมาหลายครั้งในกลุ่มเมฆในขณะเดียวกัน เม็ดน้ำแข็งสะสมความชื้น ที่ด้านล่าง ซึ่งต่อไปจะแข็งตัวในที่สูงเย็นด้วยกระบวนการ เช่นนี้เม็ดน้ำแข็งก็ใหญ่ขึ้นทุกทีเมื่อใดที่มันใหญ่กว่า กระแสลมพายุจะพยุงมันไว้ได้ มัน ก็จะ ตกจากอากาศลงยังพื้นดิน เรียกว่า ลูกเห็บ ถ้าเราทุบก้อนลูกเห็บโตๆที่ เพิ่งตกถึงพื้นให้แตกครึ่ง เราจะเห็นภายในลักษณะเป็นวงชั้นน้ำแข็ง ซึ่งแสดงถึงการก่อเกิดลูกเห็บ

   แต่ไม่ว่าลูกเห็บจะเกิดจริงๆ ยังไง เวลาหล่นตุ้บลงมาก็ทำให้หลังคาสังกะสีทะลุ ต้นไม้หักเสียหาย หรือคนหัว ร้างข้างแตกได้สบายๆ ในประเทศไทยลูกเห็บมักเกิดขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนพฤษภาคม โดย เฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
   สถิติของลูกเห็บที่หนักที่สุดในโลกนั้น ตกที่ เมืองคอฟฟีย์วิลล์ (Coffeyville) รัฐแคนซัส ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2513 โดยหนักถึง 770 กรัม (หรือ 1.7 ปอนด์) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 14.5 เซนติเมตร (5.7 นิ้ว) ส่วนลูก เห็บที่ขนาดใหญ่ที่สุดนั้นตกที่ ออโรรา (Aurora) รัฐเนบราสกา ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ซึ่งมีเส้นผ่าน ศูนย์กลาง 17.8 เซนติเมตร(7 นิ้ว) แต่มีน้ำหนักน้อยกว่าอาจเนื่องมาจากมีบางส่วนแตกหลุดไปในระหว่างตก กระทบบ้าน


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ    มหาวิทยาลัยศรีปทุม          ศูนย์อบรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิก อันดับ 1 ในประเทศไทยในใจของคุณ     NIIT