การเิกิดฟ้าผ่า

   ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยเริ่มจากการก่อตัวของเมฆฟ้าผ่า (Cumulonimbus Cloud) ที่มีทั้งประจุบวกและลบอยู่ในก้อนเมฆ เมื่อการสะสมประจุมากขึ้นก็ทำให้ศักดาไฟฟ้าระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดิน
มีการพัฒนาเพิ่มสูงขึ้นจนถึงจุดสูงสุดที่ทำให้เกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้าปริมาณมหาศาลระหว่างก้อนเมฆกับพื้น
ดินที่เรียกว่า ฟ้าผ่า

   อากาศเป็นฉนวนไฟฟ้ามันจะไม่ยอมให้ประจุต่างๆ เคลื่อนที่ผ่านมันได้โดย ง่าย ดังนั้น เมื่อประจุไฟฟ้าบนเมฆ จะเคลื่อนที่ลงสู่พื้นดินมัน จะต้องมีปริมาณ ที่สูงมาก โดยประจุเหล่านี้จะสร้างความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้น จะทำให้ อากาศซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้าแตกตัวเป็นไอออนชั่วคราว โดยที่อากาศที่แตกตัวนี้ จะลักษณะเป็นท่อผอมๆ ยาวๆ โดยทั่วไปจะมีความยาวประมาณ 50 เมตร เมื่อท่อนี้เกิดขึ้นประจุก็จะมีการถ่ายเทไปอีกจุดหนึ่ง เมื่อถ่ายเทเสร็จ แล้วก็จะ
ทำให้เกิดการแตกตัวของอากาศที่ใหม่ ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ เดิมที่เป็นท่อ เล็กๆ มีความยาวประมาณ 50 เมตร ดังนั้นการเกิดขึ้นของฟ้าฝ่าจะเป็นไปใน ลักษณะทีละขั้นทีละขั้น โดยแต่ละขั้นจะใช้เวลาประมาณ 0.000005 วินาที เนื่องจากแต่ละขั้นเกิดขึ้นเร็วมาก เราจึงเห็นการเกิดขึ้นของฟ้าผ่่า เป็นเหตุ การณ์ต่อเนื่อง และ เกิดขึ้นเร็วมาก มีของน่าสังเกตุอย่างหนึ่งที่ว่า แต่ละขั้น ของการทำให้อากาศแตกตัวเป็นไออนนี้ ท่อดังกล่าวไม่จำเป็นต้องอยู่ในแนว ดิ่งเสมอไป ความจริงแล้วมันอยู่ในทิศทางไหนก็ได้ ขึ้นอยู่กับค่าของการนำ ไฟฟ้าในอากาศ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของอากาศในที่นั้นๆ ดังนั้นเราจึงเห็นฟ้าผ่่าในรูปแบบต่างๆ มิใช่ฟ้าผ่าในแนว ดิ่ง แต่เป็นรูปร่าง ที่แตกกิ่งก้านสาขาไปอย่างสวยงาม โดยส่วนใหญ่ฟ้าผ่่าจะเกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุลบ ด้านล่างของเมฆ ลงสู่ดิน แต่การถ่ายเทประจุบวกลงสู่ดิน ที่ทำให้เกิดฟ้าฝ่า ก็เกิดได้เช่นเดียวกัน

ขั้นตอนการเกิดฟ้าผ่า

   ที่แล้วมาการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับฟ้าผ่าที่โด่งดังที่สุด คงจะเป็นของ เบนจามิน เฟรงคลิน (Benjamin Franklin) ในช่วงศตวรรษที่ 18 โดยใช้ว่าวทองแดงไปล่อฟ้าผ่านั่นเอง ทำให้เรารู้ว่าฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ที่ เกิดจากการไหลของประจุไฟฟ้า จากที่ๆ มีศักย์ประจุไฟฟ้าสูงไปยังที่ๆ มีศักย์ ไฟฟ้าต่ำ

 

 

 

 


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ    มหาวิทยาลัยศรีปทุม          ศูนย์อบรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิก อันดับ 1 ในประเทศไทยในใจของคุณ     NIIT