การป้องกันการโดนฟ้าผ่า

  เพื่อความปลอดภัยจากฟ้าผ่า ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง เช่น ทุ่งนา สนามกอล์ฟ สระน้ำ เป็นต้น แต่ หากเลี่ยงไม่ได้...ปฏิบัติดังนี้

กรณีอยู่ที่โล่งแจ้ง

  • อย่าอยู่รวมกลุ่ม
  • อย่าอยู่ใต้ต้นไม้ โดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่ หากมีต้นไม้รวมเป็นกลุ่มให้เลือกต้นเตี้ยๆ
  • อย่าอยู่ที่สูง หรือชูของสูง เช่น ร่ม เบ็ดตกปลา ถุงกอล์ฟ
  • ถอดวัตถุที่เป็นโลหะออกจากร่างกาย
  • อย่าอยู่ในสระน้ำหรือแหล่งน้ำ
  • อย่าอยู่ในตู้โทรศัพท์สาธารณะ
  • หลีกเลี่ยงวัตถุที่เป็นโลหะ

    ที่สำคัญอย่านอนราบ แต่ให้นั่งยองๆ เท้าชิด มือปิดหู เขย่งปลายเท้า ซึ่งเป็น ท่านั่งลด อันตรายจากฟ้าผ่า ลดความเสี่ยงกรณีกระแสจากฟ้าผ่าไหลมาตามพื้น

กรณีอยู่ในรถ

  • อย่าสัมผัสส่วนที่เป็นโลหะ โดยนั่งกอดอกหรือวางมือบนตัก
  • ปิดหน้าต่างทุกบาน
  • อย่าจอดใต้ต้นไม้ใหญ่
  • อย่าใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์แฮนด์ฟรี

กรณีอยู่ในอาคาร

  • ปิดประตูหน้าต่าและเข้าไปอยู่ในห้องชั้นใน ซึ่งปลอดภัยกว่าห้องที่มีทางออกภายนอก
  • หลีกเลี่ยงจุดที่ไฟสามารถวิ่งเข้าถึงได้ผ่านสายไฟ สายอากาศ สายโทรศัพท์ และท่อน้ำ
  • ถอดสายไฟ สายอากาศ สายโทรศัพท์ สายโมเด็ม ก่อนเกิดฝนฟ้าคะนอง
  • อย่าใช้โทรศัพท์แบบมีสายในอาคาร เนื่องจากกระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่าจะวิ่งผ่านอุปกรณ์ ด้านนอก
    อาคารที่ต่อกับสายโทรศัพท์ แล้วเข้ามาทำอันตรายผู้ใช้โทรศัพท์ได้โดยตรง

สัญญาณเตือนฟ้าผ่า

  • สัญญาณจากร่างกาย เมื่อรู้สึกขนลุก หรือเส้นผมตั้งขึ้น แสดงว่ากำลังเสี่ยงถูกฟ้าผ่า เนื่องจากขนและ
    เส้นผมถูกเหนี่ยวนำอย่างแรง
  • สัญญาณ 30/30 โดยเลข 30 แรก หมายถึง หากเห็นสายฟ้าแลบ แล้วตามด้วยเสียงฟ้าร้องในเวลาไม่
    เกิน 30 วินาที แสดงว่าเมฆฝนฟ้าคะนองอยู่ใกล้มาก พอที่ฟ้าผ่าจะทำอันตรายเราได้ ดังนั้นให้หาที่
    หลบที่ปลอดภัยทันที ส่วนเลข 30 หลัง หมายถึง หลังฝนหยุดตก และไม่มีเสียงฟ้าร้องแล้ว ให้หลบอยู่
    ในที่ปลอดภัยอย่างน้อย 30 นาที ทั้งนี้แม้ช่วงท้ายของฝนฟ้าคะนอง และอยู่ห่างในระยะ 30 กิโลเมตร
    แล้วก็อาจเกิดฟ้าผ่าได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ    มหาวิทยาลัยศรีปทุม          ศูนย์อบรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิก อันดับ 1 ในประเทศไทยในใจของคุณ     NIIT