เครื่องมือที่ใช้ในการคาดเดาปรากฏการณ์2

 

เทอร์มอมิเตอร์

    เป็นเครื่องมือใช้วัดอุณหภูมิของสาร ภายในเทอร์มอมิเตอร์นั้นจะใส่ สารพวก แอลกอฮอล์ผสมสีไว้บางชนิดใส่ ปรอทสีเงินเข้าไปภายใน สเกลในเทอร์มอมิเตอร์จะ มีตั้งแต่ช่วงอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ถึง 100 องศาเซล เซียส เป็นต้น ไม่ควรนำ เทอร์มอมิเตอร์ไปใช้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงเกิน 100 องศาเซลเซียส เนื่องจาก เมื่อนำ เทอร์มอมิเตอร์นั้นมาใช้ในอุณหภูมิที่เย็นจะทำให้สารใน เทอร์มอมิเตอร์ขาดเป็น ช่วง ๆ ได้ เมื่อได้รับความร้อน และหดตัวเมื่อคายความร้อนของเหลวที่ใช้บรรจุใน กระเปาะแก้วของเทอร์มอมิเตอร์ คือปรอทหรือแอลกอฮอล์ ที่ผสมกับสีแดง เมื่อ แอลกฮอล์ หรือปรอทได้รับความร้อน จะขยายตัวขึ้นไปตามหลอดแก้วเล็กๆ เหนือกระเปาะ แก้ว และจะหดตัวลงไปอยู่ในกระเปาะตามเดิมถ้าอุณหภูมิลดลงสาเหตุที่ใช้ แอลกอฮอล์หรือปรอท บรรจุลงใน เทอร์มอมิเตอร์เพราะของเหลวทั้งสอง นี้ไวต่อการ เปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และไม่เกาะผิวของหลอดแก้ว แต่ ถ้าเป็นของเหลวชนิดอื่น เช่นน้ำจะเกาะผิวหลอดแก้ว เมื่อขยายตัวหรือหดตัวจะติดค้างอยู่ในหลอดแก้วไม่ยอม กลับมาที่กระเปาะ

 

เทอร์โมมิเตอร์ที่ผลิตเพื่อใช้งาน จะมีด้วยกัน 3 แบบ คือ

  1. Partial Immersion Thermometer เทอร์โมมิเตอร์ชนิดนี้ถูกออกแบบไว้เพื่อให้ใช้วัดอุณหภูมิของ เหลวในการจุ่มเทอร์โมมิเตอร์ชนิดนี้เพื่อวัดอุณหภูมิ ต้องจุ่มเทอร์โมมิเตอร์ลงในของเหลวจนระดับผิว ของของเหลวถึง ขีดImmersion Ring เทอร์โมมิเตอร์ชนิดนี้เป็นแบบที่มี Accuracy น้อยที่สุดเพราะ อุณหภูมิของ Stem ส่วนที่อยู่บนอากาศส่งผลกระทบต่อการวัด ดังนั้นจึงต้องควบคุมอุณหภูมิภายใน ห้อง หรือสถานที่ที่ทำการวัดด้วย (Accuracy บอกค่าความผิดพลาดจากค่าจริง)
  2. Total Immersion Thermometer เป็นเทอร์โมมิเตอร์ที่ออกแบบไว้ให้ใช้วัดอุณหภูมิของของเหลว โดยความลึกของตัวเทอร์โมมิเตอร์ที่จุ่มในของเหลวนั้นจะต้องอยู่ที่หรือ ระดับของผิวของเหลวที่ระดับ ของเหลวใน Capillaryชี้บอกค่าอุณหภูมิ ในขณะใช้งานนั้น ๆ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องควบคุม อุณหภูมิห้อง หรือสถานที่ที่ทำการวัด
  3. Complete Immersion Thermometer เทอร์โมมิเตอร์แบบนี้ในการใช้งานต้องจุ่มตัวเทอร์โมมิเตอร์ ให้จมหมดทั้งตัว ซึ่งตัวทำอุณหภูมิต้องเป็นกระจก ในกรณีที่ใช้หม้อต้มและเทอร์โมมิเตอร์แบบนี้ สามารถใช้วัดอุณหภูมิของอากาศได้ เพราะถือว่าเทอร์โมมิเตอร์นี้จุ่มทั้งตัวอยู่ในอากาศ  เช่น เทอร์โมมิเตอร์แบบ Max-Min

ส่วนประกอบที่สำคัญของเทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะแก้ว

  1. Bulb คือ ส่วนกระเปาะแก้วที่ภายในบรรจุของเหลวที่มีความไว ต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
  2. Stem คือ ก้านแท่งแก้ว ภายในเป็นท่อเล็ก ๆ (Capillary) ให้ของเหลวขยายตัววิ่งเข้าไปเมื่อได้รับ อุณหภูมิ
  3. Scale คือ ขีดแสดงอุณหภูมิที่ติดอยู่บน Stem บอกค่าอุณหภูมิ โดยดูจากระดับของเหลวใน Capillary
  4. Contraction Chamber เป็นส่วนขยายกว้างใน Capillary มีไว้ป้องกันไม่ให้ของเหลวหดตัวเข้าไปใน กระเปาะเมื่อวัดอุณหภูมิต่ำเกินไป (บางตัวไม่มี)
  5. Expansion Chamber เป็นส่วนขยายกว้างใน Capillary ด้านบนสุดของเทอร์โมมิเตอร์มีไว้ป้องกัน ไม่ให้เทอร์โมมิเตอร์แตก เมื่อวัดอุณหภูมิสูงเกินไป
  6. Immersion Ring มีเฉพาะเทอร์โมมิเตอร์แบบ Partial Immersion Thermometerเป็นขีดบอกเพื่อให
    จุ่มเทอร์โมมิเตอร์จนผิวของเหลวอยู่ที่ขีดนี้ เพื่อวัดอุณหภูมิของของเหลว

   ของเหลวที่ใส่ในเทอร์โมมิเตอร์ชนิดนี้มักเป็นปรอท แต่ยังมีของเหลวชนิดอื่นที่ใช้ เช่น แอลกอฮอล์ โทลูอีน เพนเทน เป็นต้น

การทำงานของ Liquid in Glass Thermometer ใช้การขยายตัวของของเหลวที่ใช้บรรจุ ซึ่งขยายตัวมาก กว่าแท่งแก้วที่เป็น Body ความสูงของของเหลวใน Capillary จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ    มหาวิทยาลัยศรีปทุม          ศูนย์อบรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิก อันดับ 1 ในประเทศไทยในใจของคุณ     NIIT