โครงสร้างของพาย

   การเคลื่อนตัวของเมฆรอบศูนย์กลางพายุก่อตัวเป็นรูปดวงก้นหอยที่เด่นชัดแถบ หรือวงแขนที่อาจยื่นโค้งเป็น ระยะที่ยาวออกไปได้มากในขณะที่เมฆถูกดึงเข้าสู่วงหมุน ทิศทางวงหมุนของพายุขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดว่าอยู่ ณ ส่วนใดของซีกโลกดังกล่าวแล้ว หากอยู่ซีกโลกเหนือ พายุจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา ด้านซีกโลกใต้จะหมุนตาม เข็มนาฬิกา ความเร็วสูงสุดของพายุหมุนเขตร้อนที่เคยวัดได้มีความเร็วมากกว่า 85 เมตร/วินาที (165 นอต, 190 ไมล์/ชั่วโมง, 305 กิโลเมตร/ชั่วโมง) พายุที่รุนแรงมาก และอยู่ในระยะก่อตัวช่วงสูงสุดบางครั้งอาจมีรูป ร่าง ของโค้งด้านในแลดูเหมือนอัฒจรรย์สนามแข่งขันฟุตบอลได้ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบางครั้งในลักษณะเช่นนี้
เรียกว่า “ปรากฏการณ์อัฒจรรย์” (stadium effect) วงหมุนที่เกิดผนังตาพายุจะเกิดตามปกติเมื่อพายุมีความ รุนแรง มาก เมื่อพายุแรงถึงขีดสุดก็มักจะเกิดการหดตัว ของรัศมีกำแพงตาพายุเล็กลงถึงประมาณ 8-24กิโลเมตร
(5-15 ไมล์)ซึ่งบางครั้งอาจไม่เกิด ถึงจุดนี้เมฆฝนอาจก่อตัวเป็นแถบอยู่ด้านนอกแล้วค่อยๆ เคลื่อนตัวเข้าวงใน แย่งเอาความชื้นและแรงผลักดันหรือโมเมนตันจากผนังตาพายุ ทำให้ความรุนแรงลดลงบ้าง(ความเร็วสูงสุดที่ ผนังลดลงเล็กน้อยและความกดอากาศสูงขึ้น) ในที่สุดผนังตาพายุด้านนอกก็จะเข้ามาแทนผนังในจนหมดทำให้ พายุกลับมามีความเร็วเท่าเดิม แต่ในบางกรณีอาจกลับเร็วขึ้นได้ แม้พายุหมุนจะอ่อนตัวลงที่ปลายผนังตาที่ถูก แทนที่ แต่ที่จริงแล้วการเพิ่งผ่านปรากฏการณ์ลักษณะนี้ในรอบแรกและชะลอการเกิดในรอบต่อไปเป็นการเปิด โอกาสให้ความรุนแรงสะสมตัวเพิ่มขึ้นอีกได้ถ้ามีสภาวะที่เหมาะสม

   ภาพด้านบน คือโครงสร้างของพายุหมุนเขตร้อน ประกอบไปด้วย 1) บริเวณตาพายุ (EYE STORM)คือ 2) บริเวณกำแพงตาพายุ (EYEWALL) 3) บริเวณพายุฝนฟ้าคะนองจากเมฆคิวมูโลนิมบัสมากที่สุด (RAINBANDS) ส่วนลูกศรสีแดงด้านบนสุด คือการขยายตัวของกระแสอากาศ และไอน้ำจากบริเวณกำแพงตา พายุ (EYEWALL) กระแสอากาศและไอน้ำจะถูกยกพัดขึ้นไปสู่เบื้องบนสุด และขยายใหญ่ครอบคลุมเป็นบริเวณ กว้างด้วยเมฆเซอร์รัสเป็นส่วนใหญ่

โครงสร้างของพายุหมุนเขตร้อนประกอบด้วย
1) บริเวณตาพายุ (EYE STORM)
2) บริเวณกำแพงตาพายุ (EYEWALL)
3) บริเวณพายุฝนฟ้าคะนองจากเมฆคิวมูโลนิมบัสมากที่สุด (RAINBANDS)

  1. บริเวณตาพายุ (EYE STORM) คือบริเวณใจกลางของพายุเลย พายุไต้ฝุ่นเมื่อยังไม่เจริญเต็มที่ (ระดับ 1-2) บริเวณตาพายุส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยชัดเจนนักมีเมฆชนิดคิวมูลัสลอยบริเวณตาพายุบ้างเป็นบางส่วน
    มีลมพัดอ่อนๆแต่ไม่ถึงกับสงบนักประมาณ 13 นอต(24 ก.ม./ช.ม.) แต่เมื่อใต้ฝุ่นเจริญเต็มที่(ระดับ 3-4-5) บริเวณตาพายุเริ่มเห็นชัดเจนขึ้น เมฆชนิดคิวมูลัสที่ลอยกระจัดกระจายบริเวณตาพายุก็พลันหาย ไปกลายเป็นท้องฟ้าแจ่มใส เมื่อตาพายุเคลื่อนไปอยู่บริเวณใด ท้องฟ้าจะแจ่มใสถ้ากลางวันแดดจะจัด สามารถ ปรากฏดวงอาทิตย์ได้ชัดเจน แต่ถ้ากลางคืนจะสามารถมองเห็นดวงดาวได้ชัดเจนมากๆ เสมือนหนึ่งว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ลมก็จะสงบนิ่งไม่ปรากฏลมพัดเลย อย่างไรก็ตามอากาศจะร้อนอบอ้าว เอามากๆเนื่องจากความกดอากาศในกลางพายุนั้นต่ำมาก ใครที่อยู่บริเวณใจกลางตาพายุระดับ 4-5 อาจทำให้แก้วหูเกิดอันตรายได้
        บริเวณตาพายุนี้เมื่อกำลังเคลื่อนผ่านบริเวณนั้นๆท้องฟ้าจะแจ่มใสมากเมื่อเรามองท้องฟ้าเวลากลาง วันท้อง ฟ้าจะสีฟ้าสด และลมจะสงบมาก บางคนดีใจคิดว่าพายุนี้ได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่
    จริงๆมันเป็นเพียงแค่ครึ่งแรกของพายุเท่านั้น แต่คล้อยหลังประมาณ 45 นาที 1 ชั่วโมงครึ่ง หลังของ พายุจะเริ่มพัดเข้ามา ครึ่งหลังของพายุนี้จะหนัก และรุนแรง กว่าครึ่งแรกของพายุหลายเท่า ทั้งนี้เนื่อง จากทิศทางการเคลื่อนที่ทำให้เกิดแรงเหวี่ยงของพายุ

<Next>


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ    มหาวิทยาลัยศรีปทุม          ศูนย์อบรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิก อันดับ 1 ในประเทศไทยในใจของคุณ     NIIT