เมฆแนวตั้งตระกูล D (Vertical Clouds)

   เป็นเมฆที่มีแนวก่อตัวในแนวตั้ง ซึ่งทำให้เมฆมีความสูงจากฐาน

ชนิดของเมฆ

   คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus - Cb): Cumulonimbus, Cumulonimbus incus, Cumulonimbuscalvus ,Cumulonimbuswithmammatus ลักษณะเป็นเมฆก้อน ใหญ่รูปร่างคล้ายภูเขาใหญ่ มียอดเมฆแผ่ออกเป็นรูป ร่างคล้ายทั่ง(an vil) ฐานเมฆต่ำ มีสีดำมืด เป็นเมฆหนา มืดทึบ มีฟ้าแลบ ฟ้าร้องอาจอยู่กระจัดกระจาย หรือรวม กันอยู่น้อย มักมีฝนตกลงมา เรียกเมฆชนิดนี้ว่า "เมฆฟ้าคะนอง"เมฆแนวตั้งขนาดใหญ่มหึมา ซึ่งเกิดจากกระแส ลมลอยสูง ส่วนยอดเมฆอาจสูงมากจนขึ้นไปถึงบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ได้ ด้วยรูปร่างใหญ่โตในแนวตั้ง ของเมฆคิวมูโลนิมบัส จึงถือเป็นเมฆที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเมฆทั้งหมด ความสูงตั้งแต่ยอดเมฆถึงฐาน เมฆอาจมากกว่า ๑ หมื่นเมตร บางครั้งอาจเรียกว่า เมฆสายฟ้า สาเหตุการณ์เกิดเมฆคิวมูโลนิมบัสขึ้นนั้นมีอยู่ หลายสาเหตุ บางครั้งก็เกิดจากกระแสลมลอยสูงของสภาพถ่ายเทความร้อน เนื่องจากความแตกต่างของ อุณหภูมิิบริเวณใกล้พื้นดินกับบริเวณที่สูงขึ้นไปที่เกิดขึ้นโดยความไม่มีเสถียรภาพของบรรยากาศ บางครั้งก็ยัง ได้รับอิทธิพลจากภูมิประเทศด้วย ดังนั้นโดยส่วนมากเมฆคิวมูโลนิมบัสจะเกิดในช่วงฤดูร้อนที่มีความแตกต่าง ระหว่างอุณหภูมิบริเวณใกล้พื้นดินกับบนท้องฟ้าเพิ่มสูงขึ้น แต่ที่ฝั่งทะเลของญี่ปุ่นในฤดูหนาวก็อาจเกิดเมฆคิวมู โลนิมบัสเนื่องจากลมมรสุมที่พัดแรงได้เมฆคิวมูโลนิมบัสโดยทั่วไปแล้วจะเกิดจากการขยายตัวของเมฆคิวมูลัส ลัสธรรมดา เมฆรูปทั่งนี้ก่อตัวขึ้นด้วยผลึกน้ำแข็ง โดยความดันต่ำในบริเวณใกล้ๆ     

   เหตุผลที่เมฆขยายตัวออกด้านข้างอยู่ที่บริเวณโทรโพเพาส์โดยไม่่ผ่านเข้าไปยังชั้นสตราโทสเฟียร์เพราะ อุณหภูมิ ของโทรโพสเฟียร์ส่วนบนกับสตราโทสเฟียร์ส่วนล่างนั้นต่างกัน คือที่โทรโพสเฟียร์ส่วนบน อุณหภูมิิ ประมาณ -๗๐ องศาเซลเซียส ในขณะที่ชั้นสตราโทรสเฟียร์ได้รับอิทธิพลจากชั้นโอโซนทำให้อุณหภูมิสูงกว่า ความแตกต่างของอุณหภูมินี้ทำให้ยอดเมฆไม่สามารถผ่านเข้าไปยังชั้นสตราโทสเฟียร์ได้ เมฆคิวมูโลนิมบัสใน ขณะที่กำลังเกิดเป็นรูปทั่งนี้คือรูปร่างที่กำลังโตเต็มที่ จะมีกิจกรรมต่างๆมากมายเช่นเกิดฝนฟ้าคะนองเมื่อเมฆคิว
มูโลนิมบัสปกคลุมท้องฟ้า บริเวณนั้นจะถูกบดบังแสงอาทิตย์จนมืด บางครั้งอาจทำให้ดูเหมือนกลางคืนทั้งที่ยัง กลางวันอยู่ ภายในเมฆจะเกิดการถ่ายเทอากาศอย่างรุนแรง กระแสลมที่พัดมายังพื้นดินนั้นอาจก่อให้เกิดลม กระโชก  และเกิดเมฆรูปกรวยซึ่งตามมาด้วยพายุทอร์นาโด


    เมฆคิวมูลัส (Cumulus) ลักษณะเป็นเมฆก้อนหนา มียอดมนกลมคล้ายกะหล่ำดอก เห็นขอบนอกได้ชัดเจน ส่วนฐานมีสีค่อนข้างดำ ก่อตัวในทางตั้งกระจัดกระจาย เหมือนสำลีถ้าเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆหรือลอยอยู่โดดเดี่ยว แสดงถึงสภาวะอากาศดี แดด จัดถ้ามีขนาดก้อนเมฆใหญ่ก็อาจมีฝนตกภายใต้ก้อนเมฆลักษณะเป็นฝนเฉพาะแห่ง
และเป็นเมฆที่ปรากฏให้เห็นในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส บางทีก็เรียกว่าเมฆฝ้าย รูปร่างเหมือนขนมสายไหมด้านบนมี
ลักษณะเป็นก้อนขรุขระส่วนด้านล่างราบเรียบ ก่อตัวขึ้นที่ระดับความสูง ๕๐๐-๒๐๐๐ เมตร แต่อาจพบเห็นได้ที่ ที่ระดับความสูงอื่นอีกด้วย

   เมฆคิวมูลัสจะขยายตัวขึ้นตอนช่วงบ่าย ส่วนใหญ่จะหายลับไปตอนเย็น แต่บางครั้งอาจขยาย ต่อไปถ้ามีแสง แดดแรงๆ ในช่วงที่เกิดใหม่จะมีลักษณะแบน เรียกว่าเมฆฮิวมิลิส แต่จะค่อยๆโตขึ้นเป็นลักษณะอย่างเมฆคิวมูลัส ที่เห็นทั่วไปซึ่งเรียกว่าเมฆเมดิโอคริส เมื่อโตขึ้น ยอดเมฆอาจสูงมากกว่า ๑๐กิโลเมตรเป็นเมฆคิวมูลัสขนาด ใหญ่เรียกว่า เมฆคอนเจสตัส ถ้าเมฆคิวมูลัสขนาดใหญ่นี้ยังคงพัฒนาขึ้นไปอีกจะกลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัสและ ทำให้เกิดฝนตกใหญ่ และฟ้าผ่า บางครั้งก็อาจเกิดพายุหมุนหรือลูกเห็บตก เมฆคิวมูลัสที่แตกตัวออกเป็นฝอยๆ จะเรียกว่าเมฆแฟรคตัส


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ    มหาวิทยาลัยศรีปทุม          ศูนย์อบรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิก อันดับ 1 ในประเทศไทยในใจของคุณ     NIIT