ทอร์นาโด

 พายุ F3 ความเร็วลม 254-332 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 พายุ F4 ความเร็วลม 333-418 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 พายุ F5 ความเร็วลม 419-512 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

   จากการสำรวจเก็บสถิติพบว่าทุกๆ การเกิดพายุทอร์นาโด 1,000 ครั้ง จะเป็นระดับ F0 จำนวนประมาณ 389 ครั้ง, ระดับ F1 จำนวนประมาณ 356 ครั้ง, ระดับ F2 จำนวนประมาณ 194 ครั้ง, ระดับ F3 จำนวนประมาณ 49 ครั้ง, ระดับ F4 จำนวน ประมาณ 11 ครั้ง และระดับ F5 จำนวนประมาณ 1 ครั้ง

  ความแรงของพายุส่งผลกับขนาดและการสลายตัวของพายุด้วยพายุระดับ F0-F1 อาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
ไม่เกิน 100 เมตร และเคลื่อนตัวไปได้ไม่กี่กิโลเมตรก็สลายตัวไปในขณะที่พายุF5 อาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว กว่า1,600เมตร และเคลื่อนตัวไปได้มากกว่า 100 กิโลเมตร ก่อจะสลายตัว ซึ่งการที่พายุที่ระดับ สูงกว่าจะทำ
ให้พายุมีขนาดใหญ่และสลายตัวช้าด้วย

สาเหตุการเกิด  

   เนื่องมาจากการเกิดกลุ่มของอากาศที่เย็นกว่าลอยผ่านเข้าไปใต้กลุ่มของอากาศที่ ่อบอุ่นกว่าจึงทำให้เกิด การถ่ายเทอากาศหมุนเวียนกันขึ้นในเขตจำกัด และเป็นไปได้ โดยรวดเร็วใกล้ ๆ จุดศูนย์กลางจะมีกระแสลม หมุนเร็วที่สุดจนทำให้เกิดลำอากาศเป็น เกลียวตั้งสูงขึ้นไปในท้องฟ้า ถัดออกมาทางขอบนอกอัตราเร็วของการ หมุนค่อยๆ ช้า ลง แต่กระนั้นก็ตามที่ขอบนอกของมันก็มีความแรงพอที่จะพัดเอาบ้านทั้งหลังให้พังไป ได้อย่าง ง่ายดาย
  ทอร์นาโดเกิดขึ้นจากลมร้อนและลมเย็นมาเจอกันและก่อตัวให้เกิดลมหมุน และเมื่อ ลมหมุนในระดับที่ไม่คงที่ ทำให้ปลายข้างหนึ่งลงมาสัมผัสที่พื้นก่อให้เกิดทอร์นาโดได้โดยทอร์นาโดสามารถส่วนใหญ่เกิดในสหรัฐอเมริกา
เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ สามารถก่อให้เกิดลมร้อนและไอเย็นปะทะกันบริเวณทุ่งราบ


ที่มาของข้อมูล : http://th.wikipedia.org/wiki/

...ก่อนหน้านี้


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ    มหาวิทยาลัยศรีปทุม          ศูนย์อบรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิก อันดับ 1 ในประเทศไทยในใจของคุณ     NIIT