user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('บัญชีผู้ใช้', 'user/login', '', '18.222.205.5', 0, '5c81502fa47f50160e8c1d646807bd14', 148, 1715951405) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

นิยามกรด-เบส

 

นิยามของกรด-เบส

ที่มา http://www.thaigoodview.com/sites/all/modules/tinymce/tinymce/jscripts/tiny_mce/blank.htm

 

* Arrhenius Concept

 กรด คือ สารประกอบที่มี H และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ H+ หรือ H3O+

 เบส คือ สารประกอบที่มี OH และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ OH-


ข้อจำกัดของทฤษฎีนี้คือ สารประกอบต้องละลายได้ในน้ำ และไม่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมสารประกอบบางชนิดเช่น NH3 จึงเป็นเบส


* Bronsted-Lowry Concept

กรด คือ สารที่สามารถให้โปรตอน (proton donor) แก่สารอื่น
เบส คือ สารที่สามารถรับโปรตอน (proton acceptor) จากสารอื่น

ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบสจึงเป็นการถ่ายเทโปรตอนจากกรดไปยังเบสเช่น แอมโมเนียละลายในน้ำ

NH3(aq) + H2O(1) = NH4+ (aq) + OH- (aq)

...............base 2 ........acid 1 ........acid 2 ........base 1

ในปฏิกิริยาไปข้างหน้า NH3 จะเป็นฝ่ายรับโปรตอนจาก H2O ดังนั้น NH3 จึงเป็นเบสและ H2O เป็นกรด แต่ในปฏิกิริยาย้อนกลับ NH4+ จะเป็นฝ่ายให้โปรตอนแก่ OH- ดังนั้น NH4+ จึงเป็นกรดและ OH- เป็นเบส อาจสรุปได้ว่าทิศทางของปฏิกิริยาจะขึ้นอยู่กับความแรงของเบส

* Lewis Concept

กรด คือ สารที่สามารถรับอิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยว (electron pair acceptor) จากสารอื่น
เบส คือ สารที่สามารถให้อิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยว (electron pair donor) แกสารอื่น

ทฤษฎีนี้ใช้อธิบาย กรด เบส ตาม concept ของ Arrhenius และ Bronsted-Lowry ได้ และมีข้อได้เปรียบคือสามารถอธิบาย กรด เบส ในกรณีที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างกัน และได้สารประกอบที่มีพันธะโควาเลนซ์ เช่น

OH- (aq) + CO2 (aq) HCO3- (aq)

BF3 + NH3 BF3-NH3

click ตัวอย่าง ถ้าเปิดขวดสารเคมีของ HCl และ NH3 ตั้งไว้ข้างกัน ปรากฏว่าเกิดควันขาวๆ ขึ้นเหนือขวดสาร อยากทราบว่า NH3 เป็นกรดหรือเบส และตามทฤษฎีของใคร

 

การแตกตัวของน้ำและค่า pH ของสารละลาย

น้ำบริสุทธิ์จัดเป็นตัวทำละลายที่สำคัญ เป็นพวกนอน-อิเลคโตรไลท์ (nonelectrolyte) หรือไม่สามารถนำไฟฟ้า แต่จากการทดลองพบว่า น้ำบริสุทธิ์นำไฟฟ้าได้บ้างเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะว่าน้ำสามารถแตกตัวได้เอง ซึ่งเรียกว่า self-ionization หรือ autoprotolysis


H2O(1) + H2O(1) H3O+(aq) + OH-(aq)

........................................acid 1 .....base 2 .............acid 2 ........base 1

หรือ 2H2O(1) = H3O+ (aq) + OH- (aq)

จากความสัมพันธ์ของ Kw ในปฏิกิริยาการแตกตัวของน้ำ

Kw = [H3O+][OH-] = 1.0 x 10-14 ที่ 25 C

(Kw ที่ 0 C = 0.12 x 10-14 และ ที่ 60 C = 9.6 x 10-14 M2)


จะได้ pKw = pH + pOH

โดยที่ pH ของ น้ำ = -log [H30+] = 7 และ pOH ของ น้ำ = -log[OH-] = 7


โดยทั่วไปแล้ว ค่า pH ของสารละลายที่พบอยู่ทั่วไป จะมีค่าอยู่ในช่วง 1-14 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ค่า pH อาจแสดงค่าเป็นลบหรือมีค่ามากกว่า 14 ได้เช่นเดียวกัน


ตัวอย่าง ค่า pH ของนมสด เท่ากับ 6.5 ถ้านมเสีย (เปรี้ยว) ค่า pH ของนมเสียจะมากหรือน้อยกว่านมสด ตอบ น้อยกว่า


ตัวอย่าง จงหาค่า pH ของสารละลายที่เจือจางของ HCl เข้มข้น 1.0 x 10-8 M

วิธีทำ HCl เจือจาง แตกตัวได้ H+ 1.0 x 10-8 M และน้ำแตกตัวได้ H+ 1.0 x 10-7 M

ปริมาณ H+ ที่เกิดขึ้น = 1.0 x 10-8 + 1.0 x 10-7 M

pH = -log (1.0 x 10-8 + 1.0 x 10-7 )

= 6.96

ที่มา http://www.thaigoodview.com/sites/all/modules/tinymce/tinymce/jscripts/tiny_mce/blank.htm

***************************************

ที่มา http://www.bloggang.com/data/nooyingja/picture/1227430027.gif

 

กรด - เบส คืออะไร


คู่กรด – เบส


ชนิดของกรดและเบส


ปฏิกิริยาของกรด - เบส


 ทดสอบความเป็นกรด-เบสกับวัสดุหาง่ายยุค IMF

กรด  เบส  เกลือ

 กรด,เบส, ค่า pH

สารละลายกรด เบส

กรด-เบส ที่พบในชีวิตประจำวัน


ความเป็นกรด-เบสของดิน

 อินดิเคเตอร์

การแตกตัวของกรด-เบสและน้ำ

กรดและเบสทำปฏิกิริยากัน

กรด

เบส

การไทเทรต กรดเบส


การรักษาสมดุลของกรด- เบสในมนุษย์

ลักษณะเฉพาะของเบส

นิยามกรด-เบส

 


 

สร้างโดย: 
วชิราภรณ์ พอสม

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 332 คน กำลังออนไลน์