มีอะไรในนํ้าทะเล

       ถ้าเราไปที่หาดทรายชายทะเล เราจะรู้สึกว่าทะเลนั้นสวยงามแต่ดูลึกลับ อาจเป็นเพราะว่ากว้างใหญ่สุดคณานับ มองไปจนสุดสายตาก็ยังเห็นน้ำทะเลอยู่ไกลลิบๆ โดยทั่วไปน้ำทะเลมีขึ้นมีลงวันละสองเวลา แต่บางแห่งขึ้นลงเพียงวันละครั้ง หรืออาจจะปนกัน เมื่อน้ำทะเลขึ้น น้ำจะเอ่อสูงขึ้นๆ ทุกทีจนท่วมหาดทรายเกือบหมด น้ำขึ้นมาสูงจนถึงขอบฝั่ง จากนั้นระดับน้ำก็จะเริ่มลดลง เรียกว่าเป็นเวลาน้ำลง น้ำทะเลจะลดระดับต่ำลงๆ ไปทุกที หาดทรายที่เปียกชุ่มด้วยน้ำทะเลก็จะโผล่ขึ้นให้เห็นใหม่อีก เราอาจนึกไม่ถึงว่าข้างใต้พื้นทรายนี้มีสัตว์ทะเลใหญ่น้อยจำพวกหอย ปู กุ้ง และ หนอนทะเล อาศัยอยู่มากมาย


ส่วนประกอบของนํ้าทะเล

       ในน้ำทะเลมีเกลือและแร่ธาตุหลายชนิดละลายปนอยู่ เกลือที่มีอยู่มากที่สุดคือ เกลือทะเล หรือเกลือแกง ซึ่งเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "โซเดียมคลอไรด์"  มีอยู่ในน้ำทะเลมากถึงร้อยละหกสิบ สารนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำทะเลมีรสเค็ม น้ำทะเลบางแห่งเค็มมาก เช่น น้ำกลางทะเลหลวง เป็นเพราะน้ำถูกแสงแดดเผาทำให้ระเหยเป็นไอไปเสียมาก บางแห่งเค็มน้อย เช่น น้ำทะเลแถวปากแม่น้ำ ซึ่งมีน้ำจืดจากแม่น้ำไหลลงมาปะปนอยู่ตลอดเวลา น้ำทะเลที่มีความเค็มต่ำมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำทะเลที่มีความเค็มสูง ดังนั้นน้ำจืดและน้ำกร่อยก็จะลอยอยู่เหนือน้ำทะเล เราจึง เห็นทะเลแถวปากแม่น้ำมีสีไม่เขียวจัดเหมือนสีของน้ำในทะเลหลวง       นอกจากเกลือแกงหรือโซเดียมคลอไรด์แล้ว ยังมีเกลือที่เป็นปุ๋ยของพืช เช่นไนเตรท ฟอสเฟต และ ซิลิเกต ซึ่งมีอยู่มากในน้ำทะเล สารเคมีสามชนิดนี้เป็นสารจำเป็นสำหรับพืชทะเลเพื่อการเจริญเติบโต ส่วนแร่ธาตุอื่นๆ กว่าร้อยชนิดมีอยู่อย่างละเล็กละน้อยเท่านั้น ทะเลเป็นที่รวมของเกลือและแร่ธาตุทุกชนิดที่มีอยู่บนผืนแผ่นดิน เกลือและแร่ธาตุต่างๆ เหล่านั้นมีแทรกปนอยู่ในหินหรือภายในภูเขา เมื่อถูกลมพายุพัดกระหน่ำก็แตกแยกผุพัง ไหลเลื่อนมารวมกันอยู่ในทะเลก๊าซทุกชนิดในบรรยากาศของโลกมีละลายอยู่ในน้ำทะเลด้วยทั้งสิ้น ก๊าซออกซิเจนมีละลายอยู่เป็นปริมาณสูง และมีมากตามบริเวณพื้นผิวทะเล ออกซิเจนที่มากขึ้นนี้ ได้มาจากไฟโตแพลงตอนหรือแพลงตอนที่เป็นพืชซึ่งล่องลอยอยู่ที่ผิวทะเล นอกจากนั้นเมื่อเกิดพายุพัดทำให้น้ำทะเลปั่นป่วน ก็จะทำให้ออกซิเจนจากบรรยากาศละลายปนลงในน้ำทะเลมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ในขณะเดียวกันน้ำก็จะระเหยจากทะเลเข้าไปในบรรยากาศแทนที่ออกซิเจนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซอีกชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในบรรยากาศ ก็มีละลายอยู่ในน้ำทะเลเช่นกัน พืชทะเลสีเขียวใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายอยู่ในน้ำปรุงเป็นอาหารไม่แต่เท่านั้น ในน้ำทะเลยังมีอินทรียสารละลายปนอยู่ด้วย อินทรียสารเกิดจากสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล เมื่อพืชและสัตว์ทะเลตายลง ซากของมันจะละลายปนอยู่ในน้ำทะเลหรืออาจจมลงสู่เบื้องล่าง แต่น้อยนักที่ซากเหล่านี้จะจมลงถึงก้นทะเล เพราะระหว่างทางจะถูกสัตว์ทะเลกินเป็นอาหารไปเสียก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อนานนับพันนับหมื่นปีเข้าก็จะมีซากของสิ่งมีชีวิตตกตะกอนอยู่ที่ก้นทะเลไม่น้อย

วีดีทัศน์ประกอบสื่อการสอน

ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=Fracw5Aa030

 

สร้างโดย: 
คณะทีมงานครูมาโนช นันทา

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 414 คน กำลังออนไลน์