ฉบับที่15

ฉบับที่13 ฉบับที่14 ฉบับที่15ฉบับที่16

ฉบับที่17 ฉบับที่18

 

ฉบับที่15 

ฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 

     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มักจะถูกเรียกขานว่า "รัฐธรรมนูญฉบับ ร.ส.ช." เพราะเป็นผลงานการยกร่างและจัดทำของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อันประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 292 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำกราบบังคมทูลของประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีทั้งสิ้นจำนวน 233 มาตรา และได้ประกาศใช้ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 นั้น

     โดยที่ในชั้นร่างรัฐธรรมนูญนั้น มีประเด็นปัญหาทางกฎหมายรัฐธรรมนูญหลายประเด็น อันก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดระหว่างคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญของสภานิติบัญญัติแห่งชาติกับสาธารณชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะประเด็นเรื่องว่า นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะประชาชนต่างเข้าใจกันดีว่า การกำหนดให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้นั้น เท่ากับว่าเป็นการเปิดโอกาสให้มีการสืบทอดอำนาจให้กับคณะ ร.ส.ช. ออกไปได้อีก ในที่สุด เมื่อรัฐธรรมนูญนี้ มีผลบังคับใช้ บทบัญญัติมาตรา 159 ก็ได้เปิดโอกาสให้เชิญบุคคลภายนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ และหลังจากที่มีการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญนี้ เนื่องด้วยปัญหาบางประการ ทำให้พรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากในฐานะพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ได้เชิญนายทหารในคณะ ร.ส.ช. คือ พลเอก สุจินดา คราประยูร ให้มาเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกับเหตุผลที่ว่า “เสียสัตย์เพื่อชาติ” ซึ่งนับว่าเป็นการทวนกระแสกับความรู้สึกของประชาชนไม่น้อย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชนชั้นกลาง) เพื่อที่จะควบคุมสถานการณ์เอาไว้ รัฐบาลก็เลยออกคำสั่งให้ทหารและตำรวจเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มประชาชนซึ่งรวมตัวกันประท้วงอยู่ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และถนนราชดำเนิน ในช่วงระหว่าง วันที่ 17 ถึง 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 แต่ทว่ากลับเป็นการนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดที่เรียกกันว่า เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ในที่สุด ซึ่งต่อมา สถานการณ์ต่างๆ ก็บีบรัดจนทำให้พลเอกสุจินดาต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปอย่างใจจำยอม

   

 พลเอก สุจินดา คราประยูร

                                                                           พลเอก สุจินดา คราประยูร

ที่มา : www.sainampeung.ac.th/chalengsak...tory.htm

                             
ภาพเหตุการณ์ วันพฤษภาทมิฬ                พลตรีจำลอง ศรีเมือง                    

                            ภาพเหตุการณ์ วันพฤษภาทมิฬ                                 พลตรีจำลอง ศรีเมือง

 

   ที่มา : http://www.thaination.ob.tc/May2553.htm   

                                                                  ที่มา : http://thai-people.blogspot.com/2008/10/blog-post_05.html 
 


     รัฐบาลชั่วคราวภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว และบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น ได้ดำเนินการแก้ไขวิกฤตการณ์อันสืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญ โดยเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญรวม 4 ฉบับ ซึ่งนับว่าเป็นความสำเร็จครั้งแรกที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้แสดงเจตนาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยให้มากยิ่งขึ้น แต่ทว่า ความสำเร็จในครั้งนี้ ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการสูญเสียครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของสังคมการเมืองไทย

     รัฐธรรมนูญฉบับประวัติศาสตร์นี้ มีระยะเวลาใช้บังคับรวมทั้งสิ้น 5 ปี 10 เดือน 2 วัน ซึ่งได้ถูก "ยกเลิก" เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 โดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
  

สร้างโดย: 
นายธานินทร์ พร้อมสุข และ นางสาวภาชินี ผลงามเนตรอรุณ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 291 คน กำลังออนไลน์