อารยธรรมอินเดียโบราณ

Ancient India Civilization

 

ขอขอบคุณ ภาพสวยๆ จาก  http://images.north40commerce.com/TheAncientWeb/pop/9788854401679.jpg 

 

   

อารยธรรมสมัยสุลต่านเตลฮีและสมัยราชวงศ์โมกุล
         ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 โมฮัมเม็ดเผยแพร่ศาสนาอิสลามที่เมกกะ เนื่องจากเขาได้ยินเสียงจากกาเบรียลผู้อยู่บนสวรรค์ว่าในโลกนี้มี พระเจ้าองค์เดียวคือ พระอัลลาห์ ศิษย์ของพระอัลล่าห์ เรียกว่า มุสล”ม ค.ศ. 622 โมฮัมเม็ดออกจากเมกกะไปเมดินา เป็นวันเริ่มต้นปฏิทินมุสลิม

ค.ศ. 630 โมฮัมเม็ดกลับมาเมกกะสร้างหิน Ka'aba เพื่ออัลล่าห์
         คำพูดสุดท้ายของโมฮัมเม็ดที่ เมกกะ คือ จงรู้ไว้ว่ามุสลิมทุกคนเป็นพี่น้องกัน จงหลีกเลี่ยงการต่อสู้ซึ่งกันและกัน มุสลิมจงต่อสู้กับคนศาสนาอื่นจนกว่าพวกเขาจะเปล่งวาจาออกมาว่า ลา อิลลาฮา อิลลา อัลล่าห์ (แปลว่า ไม่มีพระเจ้าองค์ใดอีกนอกจากพระเจ้าของเรา) ความปราถนาของอัลลาห์ที่บอกโมฮัมเม็ดไว้ เขียนไว้ในคัมภีร์กุรอ่านและใช้เป็นกฎหมายสังคมด้วย ขณะเดียวกัน อาณาจักรไบเซนไทน์และอาณาจักรอื่นในเอเซียตะวันตกอ่อนแอเพราะมีโรคระบาด กองทัพมุสลิมจึงถือโอกาสเข้าโจมตี ได้แผ่นดินหลายแห่ง ทำให้ศาสนาอิสลามมีอิทธิพลมากขึ้น ชาวมุสลิมเชื่อว่าโมฮัมเม็ดเป็นศาสดาองค์สุดท้าย ต่อจากโมฮัมเม็ด เรียกเป็น กาลิฟ ซึ่งต่อจากโมฮัมเม็ดมีอีก 4 คน มีอาณาจักรใหม่เกิดขึ้น จากอิหร่านถึงตุนีเซีย เรียกว่า กาลิฟัต เมืองดามัสคัส (ซีเรีย) เป็นศูนย์กลาง มีตระกูล Umaiyads ครองกาลิฟัต ค.ศ. 711 พวก Umaiyads ตีแคว้นสินธ์และมุลตันได้ ไม่นานศูนย์กลางของ กาลิฟัต มาอยู่ที่แบกแดด ภายใต้การปกครองของกาลิฟตระกูล Abbassids

         ดินแดนของอินเดียที่รบชนะมาและปกครองโดยพวก Ismaili (นิกายของอิสลามในอิหร่าน) เปลี่ยนมาเป็นของพวกเตอร์ก-อาฟฆาน เกิดชาติอาหรับที่ยังไม่เป็นมุสลิมขึ้นมากมายในเอเซีย

สมัยเตอร์ก-อาฟฆาน (ค.ศ. 1000-1526)
         กาลิฟ Abbassids แห่งแบกแดด จ้างทหารเตอร์กมาคุ้มครองตนเอง และมาไว้ในกองทัพเพื่อทำสงครามเผยแพร่ศาสนา เนื่องจากตอนนั้นแบกแดดมีศัตรู คือ อิหร่านและพวกอาหรับ

ค.ศ. 961 กษัตริย์ราชวงศ์ Samanid (ค.ศ.864- 1005) ของอิหร่านแต่งตั้งให้ผู้นำทหารเตอร์กคนหนึ่งเป็นเจ้าครองแคว้น Khurasan แต่หนึ่งปีต่อมาเกิดทะเลาะกัน ทหารเตอร์กผู้นี้จึงเข้ายึดแคว้น Ghazni เสีย แล้วยกทัพเข้าตีอินเดียหลายครั้ง โดยเฉพาะที่ปัญจาป เพราะเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ แต่ผู้ที่ตีอินเดียได้ คือ ลูกชายชื่อ มามุด เข้าปล้น เมืองนำของมีค่ากลับไป Ghazni (อัฟกานิสถาน) แล้วตัดสัมพันธ์กับอิหร่าน กลับไปมีสัมพันธ์กับแบกแดด มามุดกลับไปครอง Ghazni ตามเดิม ไม่อยู่ครองอินเดีย อินเดียจึงอยู่ในสภาพที่เป็นอิสรภาพบ้างไม่เป็นบ้าง จนชาวเตอร์กจาก Ghor ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของ Ghazni มาตี Ghazni ได้ แล้วหันมาสนใจอินเดีย Mohammed Ghori (น้องชาย) ตีได้แคว้นสินธ์และพยายามเข้ารุกรานอาณาจักรราชพุทธ ในแคว้นกุจาราท จนได้รับชัยชนะครองอินเดียเหนือทั้งหมด แล้วมอบให้ทหารของตนไปครอง มุสลิมครองอินเดียเหนือจนถึง

ค.ศ.1311 สมัยสุลต่าน Alauddin มีเจงกีสข่านบุกมาถึงแม่น้ำสินธุแต่ไม่ได้อินเดียจึงกลับไป ทิ้งผู้คนมองโกลไว้ พวกนี้ปรับตัวรับศาสนาอิสลาม เรียกว่า พวกมอสเลม อยู่อินเดียเหมือนประเทศตนเอง

ค.ศ.1326-1327 Mohammed Tughlag ย้ายเมืองหลวงไปที่เทวาคีรี และบังคับให้พลเมืองเดลฮี อพยพไปด้วย เป็นผู้นำเงินเหรียญทองแดงมาใช้และขยายอาณาเขตไปเดดคาน สุลต่านองค์ต่อมา คือ Shah Tuglak ครองราชย์ต่อเป็นองค์สุดท้ายของสมัยสุลต่านเดลฮี เมืองหลวงกลับไปอยู่ที่เดลฮี และมีการสร้างคลองระบายน้ำ อินเดียตกอยู่ในความครอบครองของอิสลามจนกระทั่งพวกมาราธาตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่ราวคริสต์ศตวรรษที่7 พวกมาราธามีอำนาจมาก ภายหลังแพ้ Ahmad Shah of Afghanistan ปอร์ตุเกสเริ่มเข้ามาในอินเดีย (ค.ศ.1505-1515) ผู้สำเร็จราชการ Ameida และ Albuquerque ตั้งสถานีการค้าที่เมืองกัว ศรีลังกา มะละกา และคาบสมุทรอินเดีย  

ราชวงศ์โมกุล (ค.ศ.1526-1658)
         พระเจ้าบาบูร์ สืบเชื้อสายมาจากเจงกีส ข่านและตาแมร์ลัง แห่ง กาบูล (คือ มีเชื้อสายเตอร์ก-มองโกล) เป็นผู้สืบทอดการเผยแพร่อิสลาม ในฮินดูสถานต่อ พระองค์ทรงเป็นนักรบที่กล้าหาญและปกครองประเทศตามแบบเจงกีส ข่าน อาณาจักรของบาบูร์จากโอซุสไปถึงแม่น้ำคงคา และเบงกอล พระองค์ทรงขับไล่ Ibrahim Lodi จากการเป็นสุลต่านเดลฮี ด้วยการใช้เทคนิคการรบที่เหนือกว่า ที่ทรงได้รับมาจากพวกเตอร์ก จากนั้น ทรงเข้าครองเมืองอัครา พระเจ้าบาบูร์นอกจากเป็นนักรบแล้วยังเป็นนักประพันธ์ ทรงเขียนกลอนได้ทั้งภาษาเปอร์เซียและภาษาเตอร์ก ทรงนำวรรณคดีและดนตรีจากเปอร์เซียมาให้อินเดีย เมื่อว่างจากศึกสงครามทรงใช้เวลาไปในการสร้างพระราชวัง สุเหร่า สวน สะพาน ทรงจ้างสถาปนิกมาจากเมืองอิสตันบูล (ตุรกี)   กษัตริย์อินเดียที่มีชื่อว่าเป็นผู้สร้างจักรวรรดิโมกุลที่แท้จริง คือ พระเจ้าอักบาร์มหาราช (ค.ศ.1556-1605) ทรงเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่ อาณาจักรของพระองค์กว้างใหญ่ ทรงเป็นนักปกครองที่ชาญฉลาด ที่ทราบว่าการปกครองประเทศใหญ่ที่เต็มไปด้วยพล เมืองหลายเผ่าพันธุ์ หลายศาสนา และหลายภาษา ควรปกครองด้วยวิธีใด การ บริหารการปกครองทรงได้รับอิทธิพลมาจากอิหร่าน ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิง อินเดียเพื่อเป็นตัวอย่าง ยกเลิกภาษีจิซิยา (Jizya = poll tax on non-Moslems) เปิดโอกาสให้คนฮินดูเข้ารับราชการเท่าเทียมกับพวกมุสลิม ทรงแต่งตั้ง ให้ Todar Mall จากราชพุทธมาเป็นผู้นำทหาร ปรับภาษีใหม่ คือ หนึ่งในสามของ ผลผลิตเป็นของรัฐเท่ากันทุกคน Todar Mall ให้คนฮินดูเรียนภาษาเปอร์เซีย เพื่อเข้ารับราชการในตำแหน่งสูงๆ ได้ การผสมกันระหว่างภาษาเปอร์เซียและภาษาฮินดูทำให้เกิดภาษาใหม่ เรียกว่า ภาษาอูรดู เกิดเมืองใหม่ คือ City of Victory เต็มไปด้วยสุเหร่า ราชวัง สถานที่สาธารณะ บ้านเรือน ศาสนาทุกศาสนามีอิสระในการเผยแพร่ศาสนาของตน   กษัตริย์องค์ต่อมา คือ พระเจ้าจาหันกี ทรงอภิเษกสมรสกับหญิงม่ายชาวเปอร์เซีย

ค.ศ.1612-1613
         เริ่มสมัยล่าอาณานิคมของอังกฤษตอนต้น อินเดียแตกแยกกันภายใน เมื่อ พระเจ้าชาห์จาหัน ขึ้นครองราชย์ต่อจากบิดา ทรงขยายอาณาเขตไปถึงเดคคาน ทรงดำเนินนโยบายแบบอย่างพระเจ้าอัคบาร์ ทรงมีพระทัยกว้างรับทุกศาสนา และคนทุกเชื้อชาติในอาณาจักรของพระองค์ ดัช อังกฤษ ปอร์ตุเกส ฝรั่งเศส ต่างเดินทางเข้ามาค้าขายและเผยแพร่ศาสนา ทรงสร้างสุเหร่ามุก (Pearl Mosque) และทัชมาฮัล (Taj Mahal) ขึ้นที่เมืองอัครา ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา พระเจ้าจาหันกีทรงสละราชสมบัติก่อนสิ้นพระชนม์ พระโอรสองค์ที่ 3 ขึ้นครองแผ่นดินต่อ ชื่อว่า พระเจ้าโอรังเซป พระองค์ทรงเป็นนักรบ และเป็นมุสลิมที่เคร่งครัดมาก ทรงสั่งให้กลับมา เก็บภาษีคนที่ไม่ใช่มุสลิม ปลุกระดมมุสลิมให้รวมตัวกันทำลายโรงเรียนและวัดของฮินดู ส่งเสริมแต่อิสลามนิกายซันนี (Sunni) ทรงปลดขุนนางและข้า ราชการเปอร์เซียในวังออกเพราะพวกเขาอยู่ในนิกายชิอาส (Shias) ทำให้อินเดียขาดสัมพันธไมตรีกับอิหร่านและกับพระราชาแห่งราชพุทธ ความไม่สงบในประเทศจึงเกิดขึ้น เกิดสมาคมมาราธาของพวกฮินดูที่รวม ตัวกับพวกราชพุทธและพวกซิกเพื่อต่อต้านราชวงศ์โมกุล

ค.ศ.1729 ทหารเปอร์เซียผู้หนึ่งชื่อ นาดีร์ ชาร์ ยึดเมืองกันดาหา กาบูล และกาซนีซึ่งเป็นของจักรพรรดิโมกุลแห่งเดลฮีได้ ต่อมาค.ศ.1738 ได้ยกทัพมาที่ลุ่มน้ำสินธุ ตีเมืองเดลฮี ทำลายและปล้นเมืองเอาของมีค่ารวมทั้งพระที่นั่งนกยูง (Peacock Throne) ไปเปอร์เซียด้วย เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์โมกุล  

อารยธรรมอิสลามในอินเดีย
         ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15-17 อารยธรรมอิสลามเข้ามาอินเดียโดยผ่านเปอร์เซีย ชนชั้นขุนนางอิสลามรับธรรมเนียมอินเดีย อิทธิพลจากศาสนาอิสลามเข้มงวดกับผู้หญิงฮินดู จำนวนการแต่งงานวัยเด็กและการ เผ่าหญิงม่ายเพิ่มมากขึ้น ภาษาที่ใช้เป็นภาษาราชการ คือ อูรดู แต่ ไวยกรณ์เป็นไวยกรณ์อินเดียและศัพท์เป็นอาหรับ-เปอร์เซีย เกิดภาษาใหม่หลายภาษา เช่น ฮินดี เบงกาลี ปัจจาบี มาราตี ฯลฯ สุลต่านอินเดียนำกวี นักประวัติศาสตร์และนักปราชญ์ชาวเปอร์เซียมาทำงานในพระราชวัง พระเจ้าบาบูร์สนพระทัยในการศึกษา ทรงนิพนธ์ บันทึกความทรงจำ ของพระองค์ขึ้นมา พระเจ้าอัคบาร์ทรงจัดระบบการศึกษาใหม่ ทรงสร้างห้องสมุดและมหาวิทยาลัยไว้หลายแห่ง จักรพรรดิราชวงศ์โมกุลล้วนเป็นนักสร้างที่ยิ่งใหญ่ ทางด้านศิลปกรรมมีการเลียนแบบการวาดภาพขนาดย่อจากเปอร์เซียเช่นกัน ทางวรรณคดี มีการแปลหนังสืออุปนิษาทเป็นภาษาเปอร์เซีย โดย Dara Shokoh ทำให้คนยุโรปรู้จักวรรณคดีอินเดีย มหากาพย์รามายณะได้รับการปรับปรุงเป็นภาษาฮินดี  ทางสถาปัตยกรรม อินเดียได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เซีย (ลานด้านใน ประตูโค้ง) ที่เมืองหลวงใหม่ของพระเจ้าอัคบาร์ คือ ฟาเตห์ปูร์สิครี ใกล้เมืองอัครา แสดงสถาปัตยกรรมแบบโมกุลแท้ในการสร้างราชวัง สุเหร่า เช่นเดียวกับหลุมศพของพระเจ้าอัคบาร์ที่สีกันดารา และ วัดโก-แมนดาล ที่โอไดปูร์ แต่งานที่เด่นที่สุด คือ ทัชมาฮัล ประดับด้วยหินมีค่า บนยอดเป็นหินสีขาว เส้นทุกเส้นเข้ากันได้อย่างงดงามกับสวน และน้ำพุ นับเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในโลก นอกจากนั้นมีสุเหร่ามุกของเมืองอัครา เกิดนิกายขึ้นหลายนิกายในหมุ่คนฮินดู เช่น ตันตริก ซิก มาดวา ฯลฯ

Buland Darwaza

 

ภาพจาก http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/220/15220/images/2_Travel/012_India/074_LegendOfTajMahal/DSCN4658.JPG

ทัชมาฮาล

 

ภาพจาก http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/220/15220/images/2_Travel/012_India/074_LegendOfTajMahal/DSCN4667.JPG