อารยธรรมอินเดียโบราณ

Ancient India Civilization

 

 

ขอขอบคุณ ภาพสวยๆ จาก  http://images.north40commerce.com/TheAncientWeb/pop/9788854401679.jpg 

 


 
 
         อารยธรรมอินเดียเริ่มที่บริเวณแม่น้ำ สินธุ (Sindhu) คุ้นหูใช่ไหมค่ะ ใช่แล้วค่ะคุณอาจเคยได้ยินจากชั่วโมงเรียนวิชาสังคมฯหรือพระพุทธ ในเนื้อหาพุทธประวัติค่ะ แคว้นสำคัญๆหลายแคว้นในพุทธประวัติตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำสินธุค่ะ คือ แคว้นมัจฉะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำยมุนาตอนบน แคว้นสุรเสนะ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำยมุนาตอนล่าง แคว้นคันธาระ ตั้งอยู่ทางลุ่มแม่น้ำสินธุตอนบน ค่ะ
          แม่น้ำสินธุ เป็นแม่น้ำสายสำคัญทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียโบราณ ชื่ออินเดีย ก็มาจากคำภาษาสันกฤตว่า สินธุ(Sindhu) ชาวเปอร์เซียเปลี่ยนตัวอักษร S เป็น H เรียกดินแดนในแถบนี้ว่า Hindu หรือ Hidu ต่อมาพวกกรักตัดตัว H ออกแล้วแผลงเป็น Indos ต่อมาก็เพี้ยนเป็น Indus และ India ตามลำดับค่ะ ในสมัยต้นชื่อนี้ใช้เรียกเฉพาะดินแดนในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ ต่อมาจึงใช้เรียกดินแดนที่เป็นประเทศอินเดียทั้งหมด
          ดินแดนอินเดียโบราณ ในทางศาสนามักจะเรียกกันว่า ชมพูทวีป ชื่อนี้เราค่อนข้างคุ้นหูกันดีนะค่ะ ส่วนชาวอินเดียเรียกดินแดนของเขาว่า ภรตวรรษ ซึ่งหมายความว่า ถิ่นที่อยู่ของชาวภารตะ คำว่า ภารตะ  มาจากคำว่า ภรตะ ซึ่งคือชื่อของกษัตริย์ต้นวงศ์ของพวกเการพปละปาณฑบ ที่ทำสงครามขับเดี่ยวกันในมหากาพย์ เรื่อง มหาภารตะ(คุ้นหูกันอีกแล้วใช่ไหมค่ะ) ในยุคมหากาพย์ ผู้สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์ภรตะจึงเรียกว่า พวกภารตะ (อย่างในสำนวนข่าวที่เรียกอินเดียว่า แดนภารตะ ค่ะ:ผู้เขียน) 

 

 อินเดียสมัยโบราณ
          อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ  เริ่มประมาณ  2,500  B.C.  -  1,500 B.C. โดยชาวดราวิเดียน  ต่อมา 1,500  B.C.  –  คริสต์ศักราชที่ 6 เป็นอารยธรรมที่ชาวอารยันสร้างขึ้น จนกลายเป็นแบบแผนของอินเดียต่อมา 

แผนที่ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

 

ภาพจาก http://www.history-of-india.net/images/indus_valley_civilization.jpg

          อนุทวีปอินเดยมีเทือกเขาฮินดูกูชอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือและเทือกเขาหิมาลัยอยู่ทางทิศเหนือ ทางตะวันตกและออก ตอนใต้ ติดทะเล  ทำให้อินเดียโบราณติดต่อกับภายนอกได้ยาก ทางที่จะเข้าสู่อินเดียได้คือทางช่องเขาตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นทางที่พ่อค้า และผู้รุกรานจากเอเชียกลางเข้าสู่อนุทวีป

          อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ ถูกสร้างขึ้นโดยชาวดราวิเดียน (มิลักขะหรือ ทมิฬ) ชนพื้นเมืองเดิมของอินเดียผิวดำ ร่างเล็ก จมูกแบนพูดภาษาตระกูลดราวิเดียน (ทมิฬ ) มีการค้นพบหลักฐานเมื่อค.ศ. 1856 เมื่อมีการก่อสร้างทางรถไฟบริเวณลุ่มน้ำสินธุ ค้นพบซากสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ค.ศ.1920 ปรากฏเป็นรูปเมือง บริเวณเมือง ฮารัปปา(Harappa) และเมืองโมเฮนโจดาโร(Mohenjo  Daro)  อายุประมาณ 2500 ปีก่อนค.ศ.  หลักฐานที่ค้นพบจัดเป็นอารยธรรมยุคโลหะมีสังคมเมือง ป้อมปราการขนาดใหญ่ มีสระอาบน้ำสาธารณะนักโบราณคดีสันนิฐานว่าอาจเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีการวางผังเมือง ตัดถนน มีกำแพงอิฐ บ้านเรือนสร้างด้วยอิฐ มีระบบระบายน้ำสองท่อดินเผาอยู่ข้างถนน เพื่อรับน้ำที่ระบายจากบ้าน มีอักษรภาพใช้ พบโบราณวัตถุรูปแกะสลักหินชายมีเครามีแถบผ้าคาดมีตราประทับตรงหน้าผาก รูปสำริดหญิงสาว รูปแกะสลักบนหินเนื้ออ่อน  เครื่องประดับ สร้อยทองคำ สร้อยลูกปัด มีการเพาะปลูกพืชเกษตรเช่นฝ้าย ข้าวสาลี ถั่ง งา ข้าวโพด พบหลักฐานการค้ากับต่างแดนทั้งทางบกและทางทะเล  เช่นเปอร์เชีย แอฟกานิสถาน เมโสโปเตเมีย  ธิเบต  โดยพบโบราณวัตถุหอยสังข์จากอินเดีย หินสี เงิน อัญมณีจากเปอร์เชีย แอฟกานิสถาน หยกจากธิเบตและมีการขุดค้นพบอารยธรรมนี้กว่า 100 แห่งบริเวณแม่น้ำสินธุ ส่วนใหญ่อยู่ในปากีสถาน

 
 
 

          ต่อมาชาวอินโด-อารยัน ผิวขาว ร่างสูง จมูกโด่งพูดภาษาตระกูลอินโด- ยูโรเปียน(ภาษาสันสกฤต) อพยพมาจากแถบทะเลสาบแคสเปียน บุกรุกเข้ามาทางเทือกเขาฮินดูกูช มายังลุ่มน้ำสินธุขยายความเจริญมาทางลุ่มแม่น้ำคงคา  ชาวดราวิเดียแพ้สงครามต้องเคลื่อนย้ายลงไปทางใต้  สู่ภาคกลางและภาคใต้ของอินเดีย   ต่อมาถูกชาวมุสลิมเตอร์กรุกรานทำให้ศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่ในอินเดีย

ชาวอินโด-อารยัน