user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('ไม่พบหน้าที่เรียก | Page not found', 'node/207', '', '18.222.197.128', 0, '4d19ef05eb588765ce10578d74d2c9b1', 100, 1716228282) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

อารยธรรมอินเดียโบราณ:สมัยมหากาพย์

รูปภาพของ lenneyuna

 

อารยธรรมอินเดียโบราณ

Ancient India Civilization

 

 

ขอขอบคุณ ภาพสวยๆ จาก  http://images.north40commerce.com/TheAncientWeb/pop/9788854401679.jpg 


 

 

      สมัยมหากาพย์         

         สมัยมหากาพย์(1,000 – 500 B.C.) เกิดอาณาจักรใหม่บริเวณลุ่มน้ำคงคามีลักษณะเป็นนครรัฐอิสระ “ ราชา” เป็นผู้ปกครอง แบบราชาธิปไตย (monarchy) มีฐานะเป็นสมมุติเทพ  เช่น อาณาจักรมคธ  วัชชั  อวันตี วิเทหะ ฯลฯ มีการแบ่งวรรณะชัดเจน 4 วรรณะ พราหมณ์  กษัตริย์(นักรบ)  แพศย์  ศูทร(ทาส)  มีการติดต่อค้าขายทางเรือ กับอาณาจักรเมโสโปเตเมีย อียิปต์ อาราเบีย    สมัยนี้จะมีวรรณกรรมที่สำคัญ คือ มหากาพย์มหาภารตยุทธ เป็นสงครามกลางเมืองที่ทุ่งกุรุเกษตรระหว่างตระกูล ปาณฑพและเการพต้นตระกูลเป็นเชื้อสาย อินโด-อารยัน  มีการสอดแทรกบทบาทหน้าที่ของคนที่อยู่ในสังคม ดังปรากฎใน “ภควัทตีคา” สอนในคนทำหน้าที่ของตนในสังคมให้ครบถ้วย    และมหากาพย์รามายณะ ที่สะท้อนให้เห็นถึงการแบ่งชั้นวรรณะ การขยายอาณาเขตของอารยันไปทางตอนใต้ทำสงคราม ปราบชาวดราวิเดียน

          ยุคนี้เกิดหลังจากที่เผ่าอารยันได้ตั้งรกรากอย่างมั่นคงแล้วในชมพูทวีป แต่ก็ยังมีการรบพุ่งอยู่กับชนเผ่าพื้นเมือง เกิดขึ้นราวก่อนพุทกาล 700 ถึง 250 ปี ได้เกิดวรรณกรรมที่สำคัญขึ้น ๒ เรื่องคือ มหาภารตะ (Mahabharata) และรามายณะ (Ramayana) ซึ่งมีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อชาวอินเดียในปัจจุบันโดยเฉพาะชาวฮินดู และคำว่าภารตะก็กลายมาเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของอินเดีย ก็เพราะอาศัยอิทธิพลจากวรรณกรรมเรื่องนี้

1. รามายณะ (Ramayana)

          เป็นวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่เรื่องหนึ่งของอินเดียและยังแพร่ไปสู่หลายประเทศในเอเซีย เช่น ในเมืองไทยเรียกว่า รามเกียรติ์ ในลาวเรียกว่าพระลักษณ์พระราม ในอินโดนีเซียเรียก รามายณะ นอกนั้นยังมีที่กัมพูชา สิงคโปร์ มาเลเซีย พม่าและเนปาล เรื่องนี้แต่งโดย ฤๅษีวัลมีกิ (Valmiki)
          นักประวัติศาสตร์ เชื่อว่าเป็นการรุกรานต่อพวกมิลักขะของพวกอารยัน โดยมีพระรามอันเป็นเป็นตัวแทนชาวอารยัน กับราวณยักษ์ฝ่ายดราวิเดียนคำว่ารามายณะ แปลว่า การไปของพระราม ซึ่งหมายถึงการบุกป่า ฝ่าดงของพระรามในการติดตามหานางสีดา เป็นวรรณกรรมยาวเป็นที่สองรองมาจาก มหาภารตะ มีโศลก 24,000 บท แบ่งออกเป็น 7 กัณฑ์
          เรื่องย่อของรามายณะกล่าวถึง ท้าวทศรถ (Dasharatha) แห่งเมืองอโยธยา (Ayodhya) มีพระมเหสี 3 องค์ แต่ที่ปรากฏชื่อมี 1 องค์คือ 1. พระนางไกเกยี มีพระโอรส 1 พระองค์คือ เจ้าชายภารตะ มเหสีอีกองค์มีโอรส 2 ประองค์คือ พระรามและพระลักษณ์ ส่วนมเหสีอีกองค์ไม่ได้ระบุว่ามีโอรสหรือธิดา พระนางไกเกยีต้องการให้บุตรของตนคือท้าวภารตะครองราชสมบัติต่อจากท้าวทศรถ พระองค์จำยอมเพราะเคยประทานพรไว้คราวนางประสูติพระโอรส พระรามและพระลักษณ์ จึงต้องไปสู่ป่า ตามคำสั่งของพระบิดา พร้อมนางสีดา ผู้เป็นชายา ทั้งสามชิวิตอาศัยที่ภูเขาวินทยะ
          ต่อมาสุรภนกะ น้องสาวของยักษ์ราวณะแห่งกรุงลังกา (ในไทยเรียกว่าท้าวทศกัณฑ์) มาเห็นพระลักษณ์ ด้วยความพอใจอย่างยิ่ง แต่พระลักษณ์ไม่ชอบ ฝ่ายนางก็ไม่ละความพยายาม ด้วยความโมโห พระลักษณ์จึงตัดจมูกนางด้วยดาบ สร้างความโกรธแค้นให้กับราวณะผู้พี่ชายอย่างยิ่ง จึงให้ลูกน้องแปลงร่าง เป็นกวางมาล่อระรามไป แล้วทำเลียนเสียงเหมือนพระรามให้ไปช่วย พระลักษณ์จึงออกตามหา คงเหลือนางสีดาคนเดียวที่กระท่อม เมื่อได้จังหวะจึงจับนางสีดาไปกรุงลังกา พระรามพระลักษณ์ออกตามหา ได้เจอสุกรีวะ หัวหน้าลิงซึ่งมีลูกน้องชื่อดัง คือหนุมาณ พวกเขาสัญญาจะช่วยตามหานางสีดา เมื่อทราบว่าถูกลักพาไปลังกา กองทัพลิงจึงสร้างสะพานไปลังกา แล้วยึดนางสีดามาคืนนางสีดามาคืนสำเร็จ ราวณะก็ถูกฆ่า ทั้งหมดก็กลับไปครองราชย์ที่อโยธยาอย่างมีความสุข

 

ภาพจาก http://www.consciousart.de/galleries/painting/images/vrindavandas/ramayana_4.jpg

2. มหาภารตะ (Mahabharata)

       เป็นเรื่องที่ใหญ่ที่สุด มีโศลกมากถึง 100,000 บท แบ่งเป็นบรรพได้ 18 บรรพ มหาภารตะเป็นการกล่าวถึงการทำสงครามกันระหว่างพี่น้องสองตระกูล คือตระกูลเการพและปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างสืบเชื้อสายมาจากตระกูลเดียวกันคือ ท้าวภรตะ การทำสงครามขับเคี้ยวกัน ณ ทุ่งกถรุเกษตเป็นเวลา 18 วัน สุดท้ายตระกูลฝ่ายธรรม คือปาณฑพเป็นฝ่ายชนะ เรื่องนี้แต่งโดยฤๅษีเวทวยาสหรือ กฤษณะ ไทวปายน 

          มีเรื่องย่อว่า ณ แคว้นกุรุ (ใกล้เดลลี) มีเมืองหลวงชื่อ หัสตินปุระ ตั้งอยู่ฝั่งแม่น้ำคงคา มีพระราชา พระราชาก พระนามว่าวิจิตรวิริยะมีโอรส 2 พระองค์ องค์หนึ่งนามว่าธฤตราษฏร์ ซึ่งมีพระเนตรบอด อีกองค์นามว่าปาณฑุ ตามกฏมณเฑียรบาลผู้ไม่สมประกอบ ไม่สามารถครองบัลลังก์ได้ ต่อมาราชสมบัติจึงตกแก่เจ้าชายปาณฑุ

         เจ้าชายธฤตราษฏร์ (Dhritarashtra) มีพระโอรส 100 องค์ เป็นต้นตระกูลเการพ ส่วนเจ้าชายปาณฑุมีโอรสเพียง 5 เท่านั้น ต่อมาเป็นต้นตระกูลปาณฑพ ทั้ง ๕ คนคือ ยุทธิสถิระ (ยุธิษเฐียร) ภีมะ อรชุน นกุลและสหเทวะ เมื่อเจ้าชายปาณฑุสิ้นพระชนม์ลง เจ้าชายธฤตราษฏร์ผู้มีพระเนตรบอดก็ดูแลอาณจักรไปพลาง ทั้งโอรสและนัดดา 105 ได้รับการศึกษาศิลปวิทยาอย่างดี

         เมื่อโตแล้วพระองค์ก็มอบราชสมบัติให้เจ้าชายยุธิษเฐียร เจ้าชายปกครองบ้านเมืองอย่างดี ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม สร้างความไม่พอใจให้กุมารทั้ง 100 ที่พระบิดายกสมบัติให้คนอื่น ท้าวทุรโยธน์ผู้เป็นเจ้าชายองค์โตในบรรดา 100 องค์ แห่งตระกูลเการพ อิจฉาแล้วคิดลอบฆ่าในงานเทศกาล โดยลักลอบวางเพลิงแต่แผนการไม่สำเร็จ

          เมื่อฝ่ายปาณฑวะทราบจึงหลบหนีไปผจญภัยในป่า ใกล้ป่าแห่งนั้นมีแคว้นชื่อปัญจาละ กษัตริย์ นามว่าทรุปทะ มีพระธิดาที่สวยสดงดงาม พระราชาสั่งให้มีพิธีสยมพร คือการเลือกคู่ให้ธิดาโดยแข่งยิงธนู การแข่งขันผ่านไปหลายวันก็ไม่มีผู้สามารุยิงธนูตรงเป้าได้ถูก จนอรชุนน้องชาย คนที่สามที่ปลอมเป็นพราหมณ์ จึงไปทดสอบสุดท้ายก็ยิงเข้าเป้าอย่างแม่นยำ พระราชาจึงยกธิดาให้แล้วไปนำไปอยู่ป่าด้วยกัน และพระธิดาก็เป็นชายาของทั้งห้า

          ด้านฝ่ายเการพที่ครองเมืองเห็นความจำเป็นที่จะผูกมิตร จึงเชิญให้กลับนครแล้วแบ่งเมืองให้ เรียกว่านครอินทรปรัสถ์ ทั้งห้าจึงตอบตกลง ต่อมาฝ่ายเการพท้าเล่นเกมส์สะกา เอาบ้านเมืองเป็นเดิมพัน ชั้นแรกฝ่ายปาณฑวะพ่ายแพ้ ต้องเสียฐานะทุกทุกอย่าง ต่อมาด้วยความขอร้องจากบิดาคือท้าวธฤตราษฏร์ ฝ่ายเการพจึงยอมมอบราชสมบัติให้และเมื่อมีการท้าครั้งที่สองเกิดขึ้น ทั้งสองจึงประลองกันอีกครั้ง ครั้งที่สองฝ่ายปาณฑวะก็ยังแพ้จึงต้องหนีเข้าป่าตามสัญญา 13 ปี

        เมื่อครบแล้วจะขอแผ่นดินคืน แต่ฝ่ายเการพไม่อนุญาต แม้แต่แผ่นดินเท่าปลายจุดเข็มก็ไม่อาจให้ได้ จึงได้ทำสงครามกันเป็นเวลา 18 วันที่ทุ่งกุรุเกษตร ทั้งสองฝ่ายเสียไพล่พลมหาศาล สุดท้ายสงครามสิ้นสุดลง โดยชัยชนะเป็นของฝ่ายปาณฑวะ และต่อมาท้าวยุธิษเฐียร ผู้พี่ก็ครองราชย์ต่อมาถึง 36 ปี

 

ภาพจาก http://www.indiadaily.org/images/r_disrobing_of_draupadi_in_mahabharata.gif

         มหากาพย์เรื่องนี้ เป็นการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายธรรมะคือ ตระกูลปาณฑพ และฝ่ายอธรรมคือตระกูลเการพ แม้จะแต่งนานแล้ว แต่ก็มีอิทธิพลต่อชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูโดยไม่เสื่อมคลาย ในมุมมองของพุทธศาสนาและศาสนาเชน เรื่องนี้ไม่มีคุณค่าต่อการส่งเสริม เพราะเป็นการสนับสนุนการทำสงคราม ประหัตประหารชีวิตมนุษย์ด้วยกัน แม้จะเป็นคนละตระกูลก็ตาม ทั้งนี้เพราะสองศาสนาเน้นการไม่เบียดเบียน (Ahimsa) เป็นหลักสำคัญ

แหล่งอ้างอิง www.mwit.ac.th/~t2060102/Indus1.doc 

                  http://www.dhammathai.org/buddhism/chapter01_6.php

 

สร้างโดย: 
น.ส.นภัสสชนก เคหะธูป และ นางพีรทิพย์ สุคันธเมศวร์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 313 คน กำลังออนไลน์