อารยธรรมอินเดียโบราณ:สมัยอินโดอารยัน

รูปภาพของ lenneyuna

          

อารยธรรมอินเดียโบราณ

Ancient India Civilization

 

 

ขอขอบคุณ ภาพสวยๆ จาก  http://images.north40commerce.com/TheAncientWeb/pop/9788854401679.jpg 


 

         พวกอินโดอารยัน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อริยกะ สืบเชื้อสายมาจากพวกอารยันหรืออินโดยูโรเปียน สันนิฐานว่าเดิมมีภูมิลำเนาอยู่ทางภาคกลางชองทวีปเอเชีย บริเวณรอบๆทะเลสาบแคสเปียน ภายหลังได้เคลื่อนย้ายจากบริเวณดังกล่าว กระจัดกระจายไปตามส่วนต่างๆของโลก พวกหนึ่งไปทางทิศตะวันตกและกระจัดกระจายไปเป็นพลเมืองของประเทศต่างๆในทวีปยุโรป พวกที่สองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เข้าไปในอัฟกานิสถาน และหลังจากได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ระยะหนึ่ง พวกนี้ก็ขยับขยายไปทางทิศตะวันตกเข้าไปยังเปอร์เซีย พวกนี้เรียกว่า พวกเปอร์เซียน หรืออิเรเนียน พวกที่สาม ไปทางทิศตะวันออก ผ่านช่องเขาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าไปในอินเดีย เรียกว่าชาวอินโดอารยัน ซึ่งเข้ามารุกรานอินเดียประมาณ 1,500 ปี ก่อนคริสต์กาล

        ชาวอินโดอารยัน เป็นพวกกึ่งเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ดำรงชีวิตอยู่กีบการเลี้ยงปศุสัตว์ แม่วัวเป็นสมบัติหรือทรัพย์สินที่มีค่ามาก อละอาจเป็นด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้แม่วัวเป็นสัตว์ที่เคารพบูชา มีการห้ามบริโภคเนื้อวัว ยกเว้นในบางโอกาส ซึ่งถือเป็นเทศกาลพิเศษ คุณค่าในทางเศรษฐกิจของวัวทำให้ค่าควรเคารพบูชาสูงขึ้น และน่าจะเป็นต้นเค้าของทัศนะของคนฮินดู ที่ถือว่าวัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์

       พวกอินโดอารยันใช้ม้าสำหรับขัยขี่ และในการรบพุ่งใช้ม้าเทียมรกรบ เมื่อเขจ้ามาในอินเดีย สัตว์ป่าพวกแรกที่พวกอินโดอารยันรู้จักคือ สิงโต,เสือ และช้าง ช้างเป็นสัตว์ประหลาดในสายตาของพวกอินโดอารยัน และเรียกช้างว่า มฤคหัสดิน ซึ่งแปลว่าสัตว์ป่าที่มีมือ อันหมายถึงงวงช้าง งู เป็นสัตว์ชั่วร้าย แต่แฝงไว้ด้วยพลังและอำนาจ ความหานนี้อาจมาจากการที่พวกอินโดอารยันได้เกิดการขัดแย้งกับชนเผ่านาคา ที่เก่งกล้าสามารถ พวกนี้เป็นพวกที่นับถืองู

        เมื่อตั้งรกรากในอินเดียแล้ว พวกอินโดอารยัน ก็เริ่มประกอบอาชีพต่างๆกันออกไป มีการเปลี่ยนแปลงจากเลี้ยงสัตว์มาเป็นเกษตรกรรม ทั้งนี้เมื่อพวกอินโดอารยัน รู้จักการใช้เหล็กแล้ว เครื่องมือเครื่องใช้ก็ดีกว่าเก่า การหักร้างถางพงก็สะดวกง่ายดายขึ้น เกื้อกูลต่อการอยู่เป็นที่เป็นทางและทำมาหากินด้วยการทำไร่ไถนา ในขั้นต้นถือว่าที่ดินนั้นเป็นสมบัติร่วมชองในหมู่ แต่เมื่อสภาพหมูเริ่มหมดไปมีการแบ่งที่ดินให้แก่ครอบครัว กลายเป็นสมบัติส่วนตัวเกิดปัญหาตามมา อาทิเช่น วิทธิในการครอบครอง การวิวาทกันในสิทธิดังกล่าว ตลอดจนการรับช่วงมรดกที่ดิน เป็นต้น เมื่อสังคมกลายเป็นเกษตรกรรมแล้ว อาชีพอื่นๆก็ตามมา ที่ขึ้นหน้าขึ้นตาเป็นพิเศษคือ อาชีพช่างประกอบรถม้า (Chariot) และช่างทำคันไถ ไม้ในป่าเป็นของหาง่าย ทำให้อาชีพช่างไม้ขึ้นหน้าขึ้นตา อาชีพอื่นๆ ก็มีเช่นช่างโลหะ ช่างทองแดง ช่างสัมฤทธิ์ ช่างเหล็ก ช่างปั้นหม้อ ช่างเครื่องหนัง ฯลฯ

       เกษตรกรรมให้เกิดการค้า เมื่อมีการหักร้างถางพงในดินแดนทางตะวันออกแห่งเขตลุ่มแม่น้ำคงคาแล้ว ก็ได้อาศัยแม่น้ำคงคาเป็นเส้นทางคมนาคมเพื่อการค้า มีชุมนุชนใหม่ๆเกิดขึ้นบนฝั่งแม่น้ำ กลายเป็นตลาดกาค้า พวกเจ้าของที่ดินที่มีเงินก็มักจะจ้างคนอื่นทำงานในที่ดินของตนแล้วตัวเองหันมาจับอาชพพ่อค้า เพราะมีเวลาว่างและมีเงินทุน จึงเกิดชุมชนค้าขายขึ้น กาค้าในชั้นต้นเป็นเรื่องเฉพาะท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนสินค้า(Barter) ปฏิบัติกันทั่วๆไป ยกเว้นในการณีที่เป็นกาค้ารายใหญ่ๆใช้ แม่วัว เป็นหน่วยในการบอกราคา

แหล่งอ้างอิง ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน.ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด,2518.

สร้างโดย: 
น.ส.นภัสสชนก เคหะธูป และ นางพีรทิพย์ สุคันธเมศวร์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 591 คน กำลังออนไลน์