กฎหมายสิบสองโต๊ะ

ในยุค โรมัน หลังจากนครรัฐของกรีกเสื่อมลง กรุงโรมซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มนักรบหลายกลุ่มก็ได้แผ่ขยายอาณาจักรออก ไปกว้างจนกลายเป็นจักรวรรดิ์โรมันที่ยิ่งใหญ่ อารายธรรมของโรมันรุ่งเรืองมากโดยเฉพาะในด้านความคิดทางกฎหมายและทางการ ปกครองในยุคต้นๆ ก่อนคริสตกาล อาณาจักรของโรมันประกอบด้วยชนสองชั้น คือ ชนชาวโรมันที่เรียกว่า Patrician อันเป็นชนชั้นปกครองและมีสิทธิ มีเสียงในการปกครอง กับพวกสามัญชนที่เรียกว่า Plebeian อันเป็นชนชั้นที่ถูกปกครองและไม่มีสิทธิมีเสียงในการปกครอง สำหรับกฎหมายที่ใช้ในอาณาจักรโรมันนั้น แบ่งออกเป็น Jus Civile อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับพลเมืองชาวโรมัน และ Jus Gentium อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับสามัญชนและคนต่างด้าวที่มิได้มีฐานะเป็น พลเมืองชาวโรมัน กฎหมายทั้งสองประเภทนี้ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรมีแต่ชนชั้น ปกครองเท่านั้นที่รู้ ต่อมาในปี 452 ก่อนคริสตกาล จึงได้มีการนำเอากฎหมายที่ใช้กันอยู่นี้มาบันทึกลงบนแผ่นทองแดงรวม 12 แผ่น แล้วเอาไปตั้งไว้กลางเมืองเพื่อให้ประชาชนรู้โดยเรียกกฎหมายนี้ว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ (Law of Twelve Tables) ซึ่งถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่มีการรวบรวมกฎหมายขึ้นและเป็นครั้งแรกที่มีการ นำเอาจารีตประเพณีมาบันทึกเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร และเป็นการเริ่มต้นยอมรับว่ากฎหมายเป็นสิ่งที่จะต้องเปิดเผยให้ทุกคนได้รับ รู้ กฎหมายสิบสองโต๊ะแยกมีรายละเอียด ดังนี้

โต๊ะที่ 1-3 การพิจารณาความแพ่งและการบังคับคดี
โต๊ะที่ 4 อำนาจของบิดาในฐานะหัวหน้าครอบครัว
โต๊ะที่ 5-7 การใช้อำนาจปกครอง การรับมรดก ทรัพย์สิน
โต๊ะที่ 8 การละเมิดและการกระทำความผิดทางอาญา
โต๊ะที่ 9 กฎหมายมหาชน
โต๊ะที่ 10 กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ (ศาสนา)
โต๊ะที่ 11-12 กฎหมายอื่นๆ รวมทั้งกฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองกับชนชั้นที่ถูกปกครอง

http://4.bp.blogspot.com/_poMwsrfXFXs/S5TTk0Zm_1I/AAAAAAAAAHo/e9XMo6N3tmg/s1600-h/romans_.jpg

เมื่อพิจารณาจากกฎหมายสิบสองโต๊ะแล้ว จะเห็นได้ว่า ในยุคโรมันนี้กฎหมายมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน คือ
ก.กฎหมายเอกชน (Jus Privatum) ได้แก่ กฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวพันกับราษฎรทุกคน
ในชีวิตประจำวัน

ข.กฎหมายมหาชน (Jus Publicum) ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องเฉพาะบุคคลบางประเภท เช่น สมาชิกสภา ศาล และกฎหมายเกี่ยวกับกิจการทางการเมืองการปกครอง

ค.กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ (Jus Sacrum) ได้แก่ กฎหมายที่พระใช้ในหมู่พระ ซึ่งถือว่าเป็นสังคมต่างหากอีกสังคมหนึ่ง

หลังจากที่ชาวโรมันใช้กฎหมายสิบสองโต๊ะมาร่วมพันปี ก็มีปัญหาเกิดขึ้นมากมายเพราะกฎหมายนี้มีเนื้อหาไม่ครอบคลุมมาก เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น ลูกขุนก็จะนำไปปรึกษาบรรดานักปราชญ์ ซึ่งก็เกิดการให้ความเห็นที่ขัดแย้ง ในปี ค.ศ.426 จักรพรรดิโรมันจึงได้ออกกฎหมายชื่อ The Law of Citations ซึ่งกำหนดให้ถือหลักว่าความเห็นของนักปราชญ์ซึ่งได้รับการยกย่องในขณะนั้น 5 ท่าน เป็นความเห็นที่ถูกต้อง แต่ถ้าในปัญหาใดปราชญ์ทั้ง 5 เห็นไม่ตรงกัน ก็ให้ถือเอาความเห็นของฝ่ายข้างมากเป็นเกณฑ์ ในเวลาต่อมาหลักกฎหมายโรมันที่เกิดจากความเห็นของนักปราชญ์จึงมีมากขึ้น เรื่อยๆ ทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้เรียนและผู้ใช้เป็นอันมาก ดังนั้น ในสมัยของพระเจ้าจัสติเนียน (Justinian) พระองค์จึงทรงตั้งคณะกรรมการขึ้นสะสางและรวบรวมหลักกฎหมายต่างๆ ที่ใช้อยู่เพื่อจัดทำเป็นประมวลกฎหมายเรียกว่า Corpus Juris Civilis ซึ่งถือได้ว่าเป็นประมวลกฎหมายเอกชน ประมวลกฎหมายนี้ทำให้กฎหมายเอกชนชัดเจนขึ้นและแยกตัวเองออกจากกฎหมายมหาชน ได้เกือบเด็ดขาด

<<   สมัยสาธารณรัฐ     สมัยจักรวรรดิ    กฎหมายโรมัน    ความเสื่อมของจักรวรรดิ

 

 

  

  

สร้างโดย: 
นางสาว ปวีณา วิริยะมั่นพงศ์ และครูที่ปรึกษา คุณครูพีรทิพย์ สุคันธเมศวร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 355 คน กำลังออนไลน์