สมัยสาธารณรัฐ

อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวโรมันรับเอารูปการปกครองในระบอบสาธารณรัฐมาใช้ คือ ความบีบบังคับที่เคยได้รับเมื่อครั้งอยู่ภายใต้การปกครองของต่างชาติชาวอีทรัสกัน ในครั้งนั้นโรมอยู่ภายใต้ระบอบกษัตริย์ซึ่งเรียกว่า Rex กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดในทางการทหาร การปกครองและการศาสนา มีอำนาจสูงสุดในการตรากฎหมาย ตลอดจนตัดสินคดีพิพาทต่างๆ การปกครองดังกล่าวเป็นการปกครองโดยบุคคลคนเดียวที่ได้รับมอบอำนาจสิทธิ์ขาด อาจด้วยความรังเกียจในระบอบดังกล่าว เมื่อเป็นอิสระ โรมจึงสถาปนาระบอบสาธารณรัฐขึ้นปกครอง

               คำว่า " สาธารณรัฐ " ในภาษาอังกฤษคือ repulic มาจากคำภาษาละตินอันเป็นภาษาของชาวโรมัน 2 คำคือ res + publica มีความหมายว่า " ของประชาชน " ตามนัยนี้หมายความว่า อำนาจการปกครองเป็นของประชาชน ซึ่งแตกต่างจากระบอบกษัตริย์ ที่อำนาจแกครองอยู่ที่กษัตริย์ อย่างไรก็ตาม การปกครองสาธารณรัฐโรมันสมัยต้นๆ อำนาจการปกครองยังไม่ได้อยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริงตามความหมายของชื่อ ทั้งนี้เพราะอำนาจการปกครองยังคงอยู่กับสภาเชเนท ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นคนส่วนน้อย ต่อมาภายหลังเมื่อมีการขยายสิทธิพลเมืองโรมันกว้างขวางขึ้น ทำให้ราฎรส่วนใหญ่มีสิทธิมีเสียงในการปกครอง รูปแบบการปกครองของสาธารรรัฐโรมันจึงตรงกับความหมายดังกล่าว

องค์การทางการปกครองของสาธารณรัฐโรมันมีดังต่อไปนี้

ก. กงสุล เป้นประมุขในทางการบริหาร มีจำนวน 2 คน มีอำนาจเท่าเทียมกัน มีอำนาจเต็มที่ทั้งในยามสงครามและยามสงบ มีอำนาจสูงสุดในด้านการทหาร ด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ตำแหน่งกงสุลเลือกมาจากกลุ่มชนชั้นสูงของสังคมโรมันที่เรียกว่า พวก แพทรเชียน โดยสภาราษฎรเป้นผุ้ลงมติเลือก อยู่ในตำแหน่งคราวละปี มีอำนาจซึ่งกันและกันได้ ในยามสงครามหรือยามฉุกเฉิน กงสุลอาจมอบอำนาจให้แก่บุคคลคนเดียวเรียกว่า ผู้เผด็จการหรือผุ้บัญชาการทัพ ทั้งนี้ดดนคำแนะนำยินยอมของสภาเชเนท ผุ้เผด้จการอยู่ในต่ำแหน่งไม่เกิน 6 เดือน ในระหว่างอยู่ในต่ำแหน่งผู้เผด็จการมีอำนาจเด็ดขาดในทางการทหาร มีสิทธิเรียกระดมและลงดทษผู้ประพฤติผิดวินัยได้เต็มที่ ในการปฏิบัติงานโดยทั่วไปกงสุลบริหารงานการปกครองด้วยความช่วยเหลือของสภาเชเนท

ข. สภาเชเนท ประกอบด้วยสมาชิก 300 คนเรียกว่า เชเนเตอร์ หรือสมาชิกสภาเชเนท ดำรงต่ำแหน่งตลอดชีพ สมาชิกเหล่านี้เลือกจากพวก แพทรีเชียน โดยกงสุล เป็ยผุ้แต่งตั้ง กงสุลที่ปฏิบัติหน้าที่ครบตามวาระหลังจะได้เป็นสมาชิกเชเนทโดยอัตโนมัติ สภาเชเนทควบคุมเกี่ยวกับกาคลัง การต่างประเทศ การประกาศศึกสงคราม ทำหน้าที่ตัดสินคดี และมีสิทธิยับยั้งมติของสภาราษฎร ในสมัยต้นๆของระบอบสาธารณรัฐ สภาเชเนทคุมอำนาจการปกครอง ทั้งนี้เพราะกงสุลมักขอความเห็นและคะแนะนำจากสภาเชเนท ซึ่งนโยบายมักดำเนินไปเพื่อประโยชน์ของพวกแพทริเชียนทั้งสิ้น

ค. สภาราษฎร ประกอบขึ้นด้วยราฎรโรมันทั้งพวกแพทริเชียนและเพลเบียน เรียกว่า โคมิตาคิวริเอตา มีหน้าที่แต่งตั้งกงสุลและเจ้าหน้าที่บริหารอื่นๆให้ความเห็นยินยอม หรือปฏิเสธกฎหมายที่กงสุลและสภาเชเนทนำเสนอ ทำหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทที่สำคัญๆ

เป็นที่น่าสังเกตว่า องค์กรทั้ง 3 เป้นองค์กรที่ทรงไว้ซึ่งอำนาจในการปกครองแต่ละองค์กรต่างระแวดระวังและคาน อำนาจซึ่งกันและกัน มิให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งมีอำนาจสูงสุดแต่เพียงฝ่ายเดีบง แต่ก็ทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ

การปกครองโดยวิธีดังกล่าวไม่เป้นที่พอใจของพวกเพลเบียนเท่าไรนัก ทั้งนี้เพราะพวกเพลเบียนยังถูกกีดกันจากตำแหน่งหน้าที่การงานในองค์กรที่ เป็นหัวใจของการปกครองคือกงสุล และสภาเชเนทในปี 450 ก่อนค.ศ มีการร่างกฎหมายเป็นลายลักอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกเรียกว่า กฏหมายสิบสองโต๊ะ   (Law of the Twelve Tabbles) ระบุถึงสิทธิและหน้าที่ของพวกแพทริเชียนและเพลเบียน

     <<  สมัยจักรวรรดิ       กฎหมายโรมัน       ความเสื่่อมของจักรวรรดิโรมัน

  

 

สร้างโดย: 
นางสาว ปวีณา วิริยะมั่นพงศ์ และครูที่ปรึกษา คุณครูพีรทิพย์ สุคันธเมศวร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 242 คน กำลังออนไลน์