ความเสื่อมของจักรวรรดิ

แสนยานุภาพและการปกครองที่ดีเป็นปัจจัยที่ทำให้โรมันก้าวขึ้นเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ เมื่อปัจจัยทั้ง 2 เสื่อม ลงทำให้จักรวรรดิอ่อนแอลงด้วยความกว้างใหญ่ของจักรววรดิโรมันทำให้จักรวรรดิ ต้องมีกองทัพที่ใหญ่เพื่อรักษาและขยายดินแดน จำนวนประชากรที่เป็นชาวโรมันไม่เพียงพอต่อการเป็นทหารจึงต้องเกณฑ์ทหารจากชน ชาติอื่นๆ เช่น พวกเยอรมัน ผลเสียที่ตามมาคือคนเหล่านี้มาจากดินแดนที่ห่างไกลและยังมีวัฒนธรรมที่แตก ต่างจากชาวโรมัน จึงไม่มีความจงรักภักดีต่อโรม ทั้งยังไม่เห็นความจำเป็นในการรบเพื่อป้องกันผลประโชน์ของจักรวรรดิอีกด้วย

ระบบการสืบอำนาจของจักรวรรดิมีปัญหามากขึ้น เนื่องจากผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้ได้ต้องมีกองทหารสนับสนุนเพื่อต่อสู้แย่งอำนาจ จักรพรรดิต้องเอาใจแม่ทัพหรือนายกองต่างๆ เป็นเหตุให้กองทัพเข้ามามีบทบาทในการแต่งตั้งและการปลดจักรพรรดิ การแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ทำให้ระบบการบริหารอ่อนแอลง โรมไม่สามารถควบคุมดินแดนอันกว้างใหญ่ได้มีอย่างมีประสิทธิภาพ จักรพรรดิไอโอคลีเชียนทรงแก้ไขปัญหาโดยการแบ่งจักรวรรดิออกเป็น 2 ภาคคือ โรมตะวันออกได้แก่ดินแดนกรีกโบราณ และโรมันตะวันตกได้แก่คาบสมุทรอิตาลีและดินแดนใกล้เคียง ทรงแต่งตั้งจักรพรรดิผู้ช่วย (ออกุสตุส) ให้ปกครองโรมันตะวันตก ส่วนพระองค์ปกครองทางตะวันออก

ค.ศ. 313 จักรพรรดิ คอนสแตนตินทรงรวมจักรวรรดิเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกและทรงสถาปนาเมืองไบแซนติอุนซึ่งอยู่ทางโรมันตะวันออกเป็นเมืองหลวง แล้วเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงใหม่เป็น "คอนสแตนติโนเปิล" แต่เมื่อสิ้นราชกาลจักรพรรดิองค์ต่อมาทรงไม่สามารถรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของจักรวรรดิไว้ได้ จักรวรรดิจึงแบ่งเป็น 2 ภาคอีกหนึ่ง มีจักรพรรดิ 2 องค์ องค์หนึ่งปกครองโรมันตะวันตกมีเมืองหลวงที่กรุงโรม ส่วนอีกองค์ปกครองโรมมันตะวันตก มีกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง นอกจากปัญหาทางการเมืองการปกครองแล้ว จักรวรรดิโรมมันยังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย ปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นผลมาจากการที่รัฐต้องเมรายจ่ายสำหรับการบำรุงกองทัพ การยกเลิกนโยบายการล่าอาณานิคมทำให้โรมขาดรายได้เป็นจำนวนมาก ประกอบกับการเกษตรและอุตสาหกรรมของโรมันไม่ได้รับการพัฒนาให้เติบโตจนสามารถ เลี้ยงพลเมืองได้ พ่อค้าถูกเก็บภาษีสูงจนไม่สามารถลงทุนกิจการใหม่ๆ ส่วนชาวนายากจนจนต้องขายที่ดินแก่เจ้าที่ดินใหญ่ บางครั้งต้องขายตัวเป็นทาสที่ดิน

ในทางสังคม ความอดอยากและการเกิดกาฬโรคครั้งใหญ่ทำให้จำนวนประชาการลดลงมาก ช่วงปลายจักรวรรดิที่วัฒนธรรมที่รุ่งเรืองก็ตกต่ำลง เช่น การแสดงละครที่โหดเหี้ยม ไร้ศีลธรรม ประชาชนหันไปนับถือศาสนาต่างๆ ที่เผยเพร่มาจากคะวันออกทำให้ขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางความคิดความ เชื่อในจักรวรรดิ

จักรวรรดิ โรมันต้องเผชิญกับการรุกรานจากภายนอก โดยเฉพาะการโจมตีจากชนเผ่าเยอรมันทางโรมันตะวันตก ส่วนโรมันตะวันออกเปอร์เซอร์มีอำนาจมากขึ้นและยกทัพมารุกรานบ่อยๆ ความอ่อนแอที่เกิดขึ้นทำให้จักรวรรดิไม่สามารถรักษาอำนาจได้ทั้งหมด ดินแดนต่างๆ เริ่มแยกตัวเป็นอิสระ และจักรวรรดิยังสูยเสียดินแดนแก่ชาวเผ่าเยอรมันซึ่งเข้าโจมตีอย่างรุนแรงมาก ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 จน ค.ศ. 476 จักรวรรดิโรมันตะวันตกถล่มสลายงเมื่อโอโดเอเซอร์ (Odoacer) แม่ทัพของชนเผ่าเยอรมันบุกเข้ายึดกรุงโรมแลพปลดจักรพรรดิโรมิวลุส ออกุสตุส (Romulus Augustus) ออกจากตำแหน่ง


<<   สมัยสาธารณรัฐ   สมัยจักรวรรดิ    กฏหมายโรมัน

  

  


 

สร้างโดย: 
นางสาว ปวีณา วิริยะมั่นพงศ์ และครูที่ปรึกษา คุณครูพีรทิพย์ สุคันธเมศวร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 355 คน กำลังออนไลน์