หน้าที่ 6

       

   

     
 

 

           อย่างไรก็ตามแม้ยุทธศาสตร์การรบเหนือเกาะอังกฤษของเยอรมันจะพ่ายแพ้ แต่คุณสมบัติของนักบินเยอรมันกลับไม่ได้พ่ายแพ้ไปด้วย นักบินรบของเยอรมันต่างฝากฝีมือไว้ให้นักบินขับไล่ของอังกฤษต้องจดจำไปอีกนาน นักบินที่มีสถิติที่น่ากลัวของเยอรมันมีเป็นจำนวนมาก เช่น เฮลมุท วิค (Helmut Wick) ที่สามารถยิงเครื่องบินอังกฤษตกถึง 42 ลำ อดอล์ฟ กัลลันด์ (Adolf Galland) เสืออากาศของเยอรมันซึ่งใช้นามเรียกขานขณะทำการบินว่า "ดอลโฟ" (Dolfo) มีสถิติรองลงมาคือยิงเครื่องบินอังกฤษตก 35 ลำ (สถิติเฉพาะสงครามเหนือเกาะอังกฤษเท่านั้น) วอลเธอร์ โอซอร์ (Walter Oesau) มีสถิติยิงตก 34 ลำ และเวอเมอร์ โมลเดอส์ (Wemer Molders) ยิงตกเป็นจำนวน 28 ลำ (ยอดรวมของเขาทั้งหมด 115 ลำก่อนที่จะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุระหว่างการบินในวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ.1941) เป็นต้น

         สถิติที่น่าสนใจที่จะขอนำมาเสนอคือสถิติของเฮลมุท วิค ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับฝูงบินที่ 2 หรือ จาคส์ชแวเดอร์ 2 'ริชโธเฟน' (Jagdgeschwader 2 'Richthofen') เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ.1940 ก่อนยุทธการสิงโตทะเลจะเปิดฉากขึ้น โดยระหว่างการรบในวันที่ 11 สิงหาคมเพียงวันเดียว เครื่องบินขับไล่แมสเซอร์ชมิท บีเอฟ 109 ของเขายิงเครื่องบินขับไล่ของอังกฤษแบบสปิตไฟร์ 1 ลำ แบบเฮอร์ริเคน 1 ลำและแบบฮอว์ค75 ตกอีก 1 ลำรวมเป็น 3 ลำในการรบเหนือเมืองพอร์ตแลนด์ของอังกฤษ โดยใช้เวลาในการยิงเครื่องบินอังกฤษทั้งสามลำในการรบตั้งแต่เวลา 11.30 น. ถึง 11.45 น. หรือใช้เวลาเพียง 15 นาทีเท่านั้น และในวันที่ 5 ตุลาคม เขาก็ยิงเครื่องบินขับไล่แบบเฮอร์ริเคนของอังกฤษสังกัดฝูงบินที่ 607 จำนวน 3 ลำตกและยิงเครื่องบินขับไล่แบบสปิตไฟร์สังกัดฝูงบินที่ 238อีก 2 ลำตกระหว่างการรบเหนือเมืองบูมเมาธ์ (Boumemouth) โดยใช้เวลาในการรบตั้งแต่ 14.58 น.ถึง 15.03 น.หรือเพียง 5 นาทีในการพิชิตเฮอร์ริเคนทั้ง 3 ลำ และใช้เวลาระหว่าง 18.35 น.ถึง 18.40 น. หรืออีกเพียง 5 นาทีในการกำจัดสปิตไฟร์อีก 2 ลำในการรบเหนือเกาะไวท์ (Else of Wight)

         และในวันที่ 6 พฤศจิกายน เขาก็สามารถยิงเครื่องบินขับไล่ของอังกฤษแบบสปิตไฟร์จำนวน 2 ลำ และแบบเฮอร์ริเคนสังกัดฝูงบินที่ 151อีกจำนวน 3 ลำรวมทั้งสิ้น 5 ลำตกในการรบเหนือเมืองเซาท์แธมตัน โดยใช้เวลาทั้งสิ้นเพียง 13 นาที คือระหว่างเวลา 15.35 น.ถึง 15.48 น. จึงอาจกล่าวได้ว่าประสิทธิภาพของนักบินเยอรมันนั้นไม่เป็นรองนักบินอังกฤษแต่อย่างใด หากแต่ด้วยการดำเนินยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ผิดพลาดของนายทหารชั้นสูงของกองทัพอากาศเยอรมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจอมพลแฮร์มาน เกอริง ผู้บัญชาการทหารอากาศของเยอรมันที่แม้จะเคยเป็นเสืออากาศในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่ผ่านมา แต่ก็ไม่เคยมีประสบการณ์ในการควบคุมบังคับบัญชากำลังทางอากาศขนาดใหญ่เข้าทำการรบ จึงตัดสินใจด้วยความลังเลและนำไปสู่ความผิดพลาดซึ่งส่งผลไปสู่ความพ่ายแพ้ในการรบเหนือน่านฟ้าของประเทศอังกฤษในที่สุด

         7 กันยายน ฝูงบินเยอรมันโจมตีกรุงลอนดอนเป็นครั้งแรก ลุฟวาฟเชื่อว่า มีเครื่องบินอังกฤษเหลือปกป้องนครลอนดอนเพียง 100 เครื่องเท่านั้น

         แต่แท้ที่จริง ปรากฏว่า เยอรมันต้องพบกับเครื่องบินอังกฤษเหนือน่านฟ้านครลอนดอนถึงกว่า 300 เครื่อง เครื่องบินทิ้งระเบิดของเยอรมันกว่า 300 ลำ ทิ้งระเบิดกว่า 300 ตันลงสู่นครหลวงของอังกฤษ ตั้งแต่เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป

         เพลิงลุกไหม้ลอนดอนสว่างไสวราวกับกลางวัน และเพลิงยังทำหน้าที่เสมือนคบเพลิง บอกทิศทางให้เครื่องบินทิ้งระเบิดของเยอรมันอีกกว่า 250 ลำที่บินเลาะแสงสีเงินของลำน้ำเทมส์ เข้าโจมตีลอนดอนเป็นระลอกต่อมา ชาวอังกฤษที่เห็นเหตุการณ์ถึงกับกล่าวว่า โลกทั้งโลกกำลังลุกเป็นไฟ (the whole bloody world is on fire)

         นับจากวันนั้นมาอีก 56 คืน ลอนดอนก็ถูกโจมตีตั้งแต่ตะวันตกดินจนถึงรุ่งอรุณ (from dusk to dawn) การโจมตีอันยาวนานนี้ ส่งผลให้ชาวลอนดอนเสียชีวิตกว่า 13,600 คน บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก อีกกว่า 250,00 คนไร้ที่อยู่อาศัย

         ในขณะที่ฝ่ายเยอรมันสูญเสียไม่มากอย่างที่คาดการณ์ไว้ ปืนต่อสู้อากาศยานของอังกฤษสามารถยิงเครื่องบินเยอรมันตกได้น้อยมาก ในอัตราส่วน ยิงตกเพียง 1 ลำจากทุกๆ 300 ลำที่บินเข้ามาโจมตีลอนดอน

         การโจมตีที่หนักที่สุดมีขึ้นในวันที่ 16 เมษายน 1941 จนเกิดคำศัพท์ใหม่ในพจนานุกรมว่า Blitz ซึ่งการโจมตีครั้งนี้ส่งผลให้ถนนหนึ่งในสามของลอนดอนถูกทำลาย ครอบครัว 160,000 ครอบครัวไม่มีน้ำปะปา ไฟฟ้า และแก๊สใช้

         ปลายเดือนมิถุนายน ภายหลังจากสูญเสียครื่องบินไปเป็นจำนวนมาก เยอรมันก็เริ่มอ่อนล้า ประกอบกับฮิตเลอร์เริ่มมองไปที่แนวรบด้านตะวันออก พร้อมทั้งเตรียมการบุกรัสเซีย เครื่องบินสองในสามถูกย้ายไปเพื่อเตรียมการใน ยุทธการบาร์บารอสซ่า

         12 ตุลาคม 1941 ฮิตเลอร์ก็เลื่อนยุทธการสิงโดทะเลออกไปอย่างไม่มีกำหนด และหันไปเปิด แนวรบด้านตะวันออก กับรัสเซียแทน ปล่อยให้อังกฤษมีเวลาฟื้นตัว และกลายเป็นฐานทัพของฝ่ายพันธมิตรในการส่งกองทัพอากาศเข้าโจมตีเยอรมัน และเป็นฐานในการยกพลขึ้นบกครั้งสำคัญใน วัน ดี เดย์ ซึ่งส่งผลให้เยอรมันตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในที่สุด


สร้างโดย: 
ครู ชาญชัย เปี่ยมชาคร และ นส.ปณิชา อลงกรณ์ชุลี

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 517 คน กำลังออนไลน์