ลำไส้ยักษ์

  

Homeผู้จัดทำสอบก่อนเรียนปากของเราคอสวยสายทางอาหารที่พักลำไส้จิ๋วลำไส้ยักษ์สอบหลังเรียน

 

  ลำไส้ใหญ่    ยาวประมาณ  1.5 เมตร  ประกอบด้วยโครงสร้างสำคัญ คือ

  1. ซีกัม (caecum) มีลักษณะเป็นถุงยื่นลงมาประมาณ 5-8 เซนติเมตร ตอนปลายจะมีไส้ติ่งปรากฎอยู่ ไส้ติ่งไม่มีประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น หากตัดออกก็ไม่มีผลเสียหายอะไร แต่ถ้าแบคทีเรียเข้าไปอยู่หรือเกิดการอักเสบต้องทำการผ่าออกทันที เพราะถ้าแตกออกจะเป็นอันตราย
  2. โคลอน (colon) เป็นส่วนที่ยาวที่สุด แบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย คือ
    •  โคลอนส่วนขึ้น (ascending colon) เป็นส่วนที่ยื่นตรงขึ้นไปในแนวตั้งฉากทางด้านขวาของช่องท้อง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
    • โคลอนส่วนขวาง (transverse colon) เป็นส่วนที่วางพาดตามแนวขวางของช่องท้องยาวประมาณ 50 เซนติเมตร
    • โคลอนส่วนลง (descending) เป็น่วนที่ตรงลงมาในแนวตั้งฉากทางด้านซ้ายของช่องท้อง ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร

    3.  ไส้ตรง (rectum) ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร ปกติเป็นบริเวณที่ว่างอยู่เสมอ แต่ถ้ากากอาหารลงมาไส้ตรงจะกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่เกิดการหดตัว กากอาหารก็จะถูกขับออกมาข้างนอกทางช่องทวารหนัก

    4.  ทวารหนัก (anus) ยาวประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร เป็นส่วนท้ายสุดของลำไส้ใหญ่ ภายในประกอบด้วยกล้ามเนื้อหูรูด 2 แห่ง คือ หูรูดภายใน และหูรูดภายนอก

หน้าที่ของลำไส้

  1. ดูดน้ำ วิตามิน และเกลือแร่พวก     และ     ออกจากกากอาหารเป็นหน้าที่สำคัญ
  2. ผนังด้านในมีต่อมสร้างน้ำเมือก แต่ไม่มีต่อมสร้างน้ำย่อยอาหาร
  3. ขับถ่ายกากอาหารออกสู่ภายนอก

จัดทำโดยครูปัญญฎา อินทวงศ์ 
โรงเรียนบึงโขงหลงวิทยาคม อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย
Copyright(c) 2004 Mrs.Panyada Intawong.All rights reserved.

 จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2547

thaigoodview.com Version 12.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail:
webmaster@thaigoodview.com

Copyright(c) 2004 www.thaigoodview.com. All rights reserved.