ฉบับที่12

ฉบับที่7ฉบับที่8ฉบับที่9ฉบับที่10 

ฉบับที่11ฉบับที่12 

  

ฉบับที่12 

ฉบับที่ 12 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520

     รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เกิดจากการทำรัฐประหารของคณะปฏิวัติ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 โดยให้เหตุผลว่าเพราะภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์ หลังจากประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 11 แล้ว คณะปฏิวัติได้จัดตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้น ตามหลักการที่คณะปฏิวัติกำหนดไว้ จากนั้น คณะปฏิวัติจึงได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2520

      รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีบทบัญญัติ 32 มาตรา และได้รับการยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2521 เนื่องจากการประกาศใช้ธรรมนูญฉบับใหม่ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 ของประเทศไทย
 

       หลักการสำคัญ

     รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีฐานะเป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งมีหลักการสำคัญคล้ายกับรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 7 และฉบับที่ 9 โดยที่มีข้อแตกต่าง ดังต่อไปนี้

 1) กำหนดเวลาการบังคับใช้ไว้อย่างแน่นอน คือ ไม่พ้นสิ้นเดือนเมษายน ในปี 2522 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ว่า จะต้องมีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (มาตรา 10)

 2) กำหนดให้รัฐสภา มีสภาเดียว แต่มีอำนาจน้อย คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง มีหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่มีสิทธิแม้แต่จะเสนอร่างพระราชบัญญัติ เพราะอำนาจการเสนอกฎหมายเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีเท่านั้น

 3) ในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่ให้ความเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญซึ่งร่างขึ้นมาใหม่เป็นครั้งที่ 2 ในวาระที่ 1 หรือวาระที่ 3 ก็ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติพ้นจากตำแหน่งและให้คณะรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติยกร่างขึ้นใช้

 4) รับรองคณะปฏิวัติให้มีฐานะเป็นองค์กรหนึ่งในรัฐธรรมนูญที่เรียกว่า สภานโยบายแห่งชาติ มีฐานะเหนือกว่าคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติ ดังนี้

     (ก) กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐ และให้ความคิดเห็นแก่คณะรัฐมนตรี เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปตามนโยบายแห่งชาติ (มาตรา 18)

     (ข) ให้ความเห็นชอบในการใช้อำนาจเผด็จการของนายกรัฐมนตรีไว้ในมาตรา 27

     (ค) ประธานสภานโยบายแห่งชาติมีอำนาจกราบบังคมทูลให้พระมหากษัตริย์แต่งตั้งหรือถอดถอนนายกรัฐมนตรี (มาตรา 21, 22, 23)

     (ง) ประธานสภานโยบายแห่งชาติเป็นผู้เสนอบุคคล เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ และมีอำนาจที่จะถวายคำแนะนำตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ้นจากตำแหน่งได้ (มาตรา 7)

 5) กำหนดให้นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 27 ได้ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและสภานโยบายแห่งชาติ

 6) ไม่ให้สิทธิสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตั้งกระทู้ถาม และเสนอร่างกฎหมาย ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ตามปกติของสภานิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย

 7) ข้าราชการประจำ สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ แต่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี จะเป็นสมาชิกสภาในขณะเดียวกัน ไม่ได้

หน้าแรก

 

สร้างโดย: 
นายธานินทร์ พร้อมสุข และ นางสาวภาชินี ผลงามเนตรอรุณ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 206 คน กำลังออนไลน์