ฉบับที่9

ฉบับที่7ฉบับที่8ฉบับที่9ฉบับที่10 

ฉบับที่11ฉบับที่12 

  

ฉบับที่9 

ฉบับที่ 9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515

     เหตุผลสำคัญในการทำรัฐประหารตนเองข้างต้น ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า จอมพลถนอมเอง ในฐานะหัวหน้าคณะ ได้ใช้ข้าราชการประจำเป็นเครื่องมือรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล โดยผ่ายวุฒิสภา ซึ่งมีอำนาจที่สำคัญเท่าเทียมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง อีกทั้งรัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 ยังห้ามมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นรัฐมนตรีในขณะเดียวกันด้วย จึงเท่ากับเป็นการกีดกันมิให้ผู้แทนราษฎร ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจบริหารอันเป็นความปรารถนาของนักการเมืองทุกคน จึงสร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้แทนราษฎรเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกัน เมื่อปรากฏว่า รัฐบาลไม่สนับสนุนจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้แก่ผู้แทนราษฎรในรูปของงบพัฒนาจังหวัด อันเป็นข้อเรียกร้องของผู้แทนราษฎร เพื่อพวกเขาจะได้เงินงบพัฒนาจังหวัดไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป จึงทำให้ผู้แทนราษฎรรวมหัวกันพยายามจะตัดเงินงบประมาณที่รัฐบาลเสนอขออนุมัติจากสภาทุกปี ทำให้ต้องมีการเจรจาต่อรองกันอย่างหนักกว่าจะตกลงกันได้ ด้วยเหตุนี้ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณของรัฐบาล จึงประกาศใช้ล่าช้าทุกปี คณะทหารและบรรดาข้าราชการประจำ ซึ่งไม่ชอบต่อการบริหารงานแบบประชาธิปไตย จึงทำรัฐประหาร พร้อมยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 8 ไปในทึ่สุด และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 9 แทน

     รัฐธรรมนูญฉบับที่ 9 ซึ่งประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 นั้น มีบทบัญญัติรวมทั้งสิ้นเพียง 23 มาตรา ทว่าที่สำคัญ ก็คือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้นำเอาอำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 17 มาบัญญัติไว้อีกด้วย ขณะที่มีเวลาใช้บังคับอยู่เพียง 1 ปี 9 เดือน 22 วัน ก็ต้องถูกยกเลิกไป อย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2517 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่


       หลักการสำคัญ
 

     รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีหลักการสำคัญคล้ายกันกับรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 7 แต่ก็มีการแก้ไขเพิ่มเติมบ้างเล็กน้อย กล่าวคือ

 1) นายกรัฐมนตรีมีอำนาจพิเศษตามมาตรา 17 เช่นเดียวกับอำนาจในมาตรา 17 ของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ เป็นผู้เริ่มต้นนำมาใช้ แต่มาตรา 17 ของจอมพลถนอม ให้อำนาจเพิ่มเติมสำหรับใช้บังคับการกระทำต่างๆ กว้างขวางกว่า กล่าวคือ มาตรา 17 ของจอมพลสฤษดิ์ นำมาใช้เพื่อประโยชน์ในการระงับ หรือ ปราบปราม แต่มาตรา 17 ของจอมพลถนอม นำมาใช้เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับ หรือ ปราบปราม โดยเพิ่มคำว่า ป้องกัน ไว้ด้วย ซึ่งการป้องกันนั้น สามารถจะยกขึ้นมากล่าวอ้างได้อย่างกว้างขวาง แม้จะยังไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นเลย อีกทั้งมาตรา 17 ของจอมพลถนอม ยังถือว่าการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายเศรษฐกิจของประเทศ หรือก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือทำลายทรัพยากรของประเทศ หรือบั่นทอนอนามัยของประชาชน เป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงเท่ากับเป็นการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ นอกจากนั้น ยังบัญญัติให้ใช้มาตรา 17 นี้ ย้อนหลังไปบังคับใช้กับการกระทำดังกล่าวข้างต้นที่เกิดขึ้นก่อนใช้บังคับรัฐธรรมนูญฉบับนี้อีกด้วย จึงขัดต่อหลักการนิติรัฐอย่างร้ายแรง

 2) ข้าราชการประจำมีสิทธิเข้าดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี หรือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ในขณะเดียวกัน

 3) มีสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 299 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี เพื่อทำหน้าที่ออกกฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล และอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐมนตรีเสนอให้พิจารณาเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญด้วย

 4) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีได้ ซึ่งต่างจากรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 7

หน้าแรก

สร้างโดย: 
นายธานินทร์ พร้อมสุข และ นางสาวภาชินี ผลงามเนตรอรุณ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 227 คน กำลังออนไลน์