ดาวพฤหัสบดี

                                  


 

http://www.sunflowercosmos.org/glossary/glossary_images/panet_profile_jupiter_10.jpg

               ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ยักษ์ เพราะมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11.2 เท่า นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ เพราะมีองค์ประกอบเป็บก็ซไฮโดรเจนและฮัเลียมคล้ายในดวงอาทิตย์ ความหนาแน่นของดวงอทิตย์จึงต่ำ ( 1.33 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ) เมื่อดูในกล้องโทรทรรศน์ จะเห็นเป็นดวงกลมโตกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ พร้อมสังเกตเห็นบริวารทั้ง 4 ดวงใหญ่เรียงกันอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตรอีกด้วย กาลิเลโอเป็นนักดาราศาสตร์คนแรกที่ใช้กล้องส่องพบบริวารสี่ดวงใหญ่นี้ จึงได้รับเกียรติว่าเป็นดวงจันทร์ของกาลิเลโอ

              ความเป็นที่สุดของดาวพฤหัสบดี ใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลาย โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น 11.2 เท่าของโลก ขนาดเชิงมุมใหญ่ที่สุดเท่ากับ 50.0 ฟิลิปดา มีมวลสารมากที่สุดโดยมีเนื้อสารเป็น 318 เท่าของโลก หรือ 2.5 เท่าของดาวเคราะห์อื่นและบริวารรวมกัน มีปริมาตรมากที่สุด ถ้าดาวพฤหัสบดีกลวงจะสามารถจุโลกได้ 1,430 โลก หมุนรอบตัวเองเร็วที่สุด โดยใช้เวลาไม่ถึง 10 ชั่วโมงในการหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ดังนั้น 1 วันบนดาวพฤหัสบดีจึงสั้นที่สุดด้วย การหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วของดาวเคราะห์ ทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีออกจากจุดศูนย์กลาง ดาวพฤหัสบดีโป่งออกจากบริเวณเส้นศูนย์สูตร ซึ่งสามารถสังเกตได้แม้ในรูปขนาดเล็ก มีความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่ผิวมากที่สุด โดยมีค่าเป็น 2.53 เท่าของโลก นั่นหมายความว่าถ้าเราอยู่บนดาวพฤหัสบดีเราจะหนักเป็น 2.53 เท่าของน้ำหนักบนโลก มีความเร็วของการผละหนีที่ผิวมากที่สุด ( 60 กิโลเมตรต่อวินาที เทียบกับ 11.2 กิโลเมตรต่อวินาทีที่ผิวโลก ) ดังนั้นก๊าซไฮโดรเจนและก็ซฮีเลียมที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำ จึงไม่สามารถหนีออกจากดาวพฤหัสบดีได้ เป็นราชาแห่งดาวเคราะห์เพราะความเป็นที่สุดดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ยังเป็นระบบสุริยะย่อย ๆ เพราะมีบริวารอย่างน้อย 16 ดวง เคลื่อนไปรอบ ๆ คล้ายดวงอาทิตย์ที่มีดาวเคราะห์โคจรรอบ 9 ดวง สมบัติอื่น ๆ ของดาวพฤหัสบดี คือ มีจุดแดงใหญ่อยู่ที่ละติจูด 22 องศา มีขนาดโตกว่า 3 เท่าของโลก จุดแดงใหญ่เป็นพายุหมุนที่เกิดในบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี สุงเกตพบครั้งแรกโดย รอเบิร์ด ฮุค เมื่อ พ.ศ. 2207 และแคสสินี ในปีพ.ศ. 2208 จุดแดงใหญ่มีอายุอยู่ได้นานเพราะมีขนาดใหญ่ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและไม่มีใครบอกได้ว่าจุดแดงใหญ่จะหายไปเมื่อใด มีแถบและเข็มขัดขนานกันในแนวเส้นศูนย์สูตร เมื่อดูจากภาพถ่ายหรือดูในกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูง จะเห็นแทบกว้างหลายแถบ ระหว่างแถบมีร่องลึกคล้ายเข็มขัดหลายเส้น เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี

 โครงสร้างดาวพฤหัส และลักษณะพิเศษ

        ภายในดาวพฤหัส มีลักษณะพิเศษมาก การสำรวจผ่านเข้าไปในกลุ่มเมฆหมอกที่ลึกลงไปมาก ไม่ใช่รื่องง่ายนักที่นำมา วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโครงสร้างตามเงื่อนไขในห้องปฏิบัติการ อย่างไรก็ตามปัจจุบันเราใช้วิธี พิจารณาทางกายภาพ อาจจะพอมีความใกล้เคียงจากชั้น Upper clouds (กลุ่มเมฆหมอกชั้นบน) ภายในมีความหนาแน่นของก๊าซอย่างสม่ำเสมอ ด้วยลักษณะทรงตัวนิ่ง ก่อให้เกิดความกดดันและอุณหภูมิสูง ลักษณะดังกล่าว ยิ่งลึกลงทความกดดันเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆถึง 100 ล้านเท่า (เทียบกับความกดดันบนพื้นผิวโลก) สามารถวัดอุณหภูมิได้ 30,000 Kelvins ในกรณี ตัวอย่างจาก Hydrogen มีความหนาแน่นประมาณ 4 กรัม ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
ทำให้มีโอกาสสร้างรูปแบบ Metallic (เกร็ดโลหะเล็กๆกระทบกัน) เมื่อเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ 20,000 กิโลเมตร ภายในก็เหมือนมีก้อนหินเล็กๆทั้งหมดบรรจุอยู่ภายใน แต่ขณะนี้ยังไม่ชัดแจ้ง ลักษณะพื้นผิวกลุ่มเมฆหมอกดังกล่าวแต่การแบ่งชั้นนั้น ค่อยๆสลับเปลี่ยนจาก ของเหลวไปเป็นก๊าซด้วยความกดดันจากใจกลางของ ดาวพฤหัส ออกมาด้านนอกสู่กลุ่มเมฆหมอกชั้นบน

 

 

http://www.sunflowercosmos.org/glossary/glossary_images/panet_profile_jupiter.jpg 

                    แม้ว่าดาวพฤหัสมีขนาดใหญ่ แต่การหมุนรอบตัวเองน้อยกว่า 10 ชั่วโมง ความเร็วดังกล่าว ทำให้บริเวณเส้นศูนย์สูตรตรงกลางโป่งตัวออก (Bulge) จึงเกิดการรวมตัวโดยไม่คำนึงถึงลำดับชั้น (Combination) ด้ายความกดดัน ของ Metallic ด้านในทำให้กำเนิดสนามแม่เหล็ก ออกมารอบๆดาวพฤหัส เกิดเป็นรูปแบบม้วนตัวของเมฆหมอก (Cloud patters) บนดาวพฤหัส แถบของเมฆหมอก (Cloud bands) มีสีสว่างป็นวง สามารถมองเห็นได้ระยะไกล คือ Jets(พุ่งพ่นออกมาเป็นลำ) เป็นการเกิดจาก กระแสลมพัดจากตะวันตก และลมตะวันออกมาชนบรรจบกัน ทั่วไปเกิดขึ้นยาวนาน โดยไม่เปลี่ยนแปลงมากกว่า 100 ปี กระแสลมดังกล่าวความเร็ว 50 เมตรต่อวินาทีแสดงรูปแบบที่ย้วยไปมาในแต่ละพื้นที่ การหมุนวนผสมผสาน แล้วสงบนิ่งภายใน 1-2 วัน ปรากฏการณ์เกิดขึ้นมี ความแตกต่างกันด้วยการโค้งงอ การปั่นหมุน ความบางเบา ของเมฆการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วยระยะเวลา ความเคลื่อนไหวจากการนำพาของความร้อนจากหน่วยย่อยๆ (Convection cells) ที่เกิดขึ้นหลุดรอดออกมา จากภายในของดาวพฤหัส และจากความร้อนของดวงอาทิตย์

http://www.sunflowercosmos.org/glossary/glossary_images/panet_profile_jupiter_1.jpg

 

สร้างโดย: 
นายจำเริญ บุญยืน,นางสาวกนกพร รัตนเจริญพร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 504 คน กำลังออนไลน์