ปัญญาความคิดสมัยเฮเลนิค

 

ก.การจัดระเบียบความรู้
               ความรู้ทางคณิตศาสตร์ซึ่งชาวเมโสโปเตเมีย  และอียิปต์สั่งสมไว้นั้นได้สืบทอดมาถึงชาวกรีกโบราณ  ความรู้ทางคณิตศาสตร์มีลักษณะที่เป็นระบบคือแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กันได้โดยตลอดตั้งแต่ความรู้ที่ง่ายที่สุดคือหลักเบื้องต้น  เช่น  สัจพจน์ (axiom)  ในเรขาคณิต  หรือจำนวนนับในเลขคณิต  ชาวกรีกได้มองเห็นระบบดังกล่าวอย่างชัดเจนและคิดว่าความรู้ของมนุษย์น่าจะต้องมีลักษณะตายตัว  เพราะหากไม่ตายตัวก็หมายความว่าสิ่งหนึ่งในขณะนี้เป็นความรู้ผู้ที่พยายามจัดระบบความรู้ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างสำคัญ  คือ  เปลโต  เขาไม่เพียงแต่จัดความรู้เฉพาะเรื่องเช่นการศึกษาให้มีระบบคือมีหลักสูตร  ผู้สอน  ผู้เรียน  ที่สัมพันธ์กันเท่านั้น  แต่ยังพยายามจัดความรู้หลายๆอย่างให้เข้ามาสัมพันธ์กันเป็นระบบ  ซึ่งมุ่งสู่จุดหมายเดียวกันด้วย  การจัดระบบทำนองนี้นักปรัชญารุ่นก่อนเช่น  เดโมคริตุส  ไพธากอรัสได้พยายามทำมาแล้วแต่ไม่กว้างขวางและเป็นเหตุเป็นผลเท่าเปลโต
ความรู้ทางคณิตศาสตร์ของเปลโตเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของทฤษฎีทางดาราศาสตร์ของเขา  เปลโตถือว่าดาราศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของคณิตศาสตร์  เปลโตให้ความสำคัญแก่คณิตศาสตร์โดยเฉพาะเรขาคณิต  ถึงขนาดเขียนคำจารึกไว้ที่ประตูสำนักอาคาเดมี (Academy) ของเขาว่า  “ ผู้ที่ไม่ได้เรียนเรขาคณิตอย่าเข้ามาที่นี่ ”
               เปลโตรับความคิดทางดาราศาสตร์จากไพธากอรัสซึ่งเป็นนักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์คนสำคัญ  คือ  เชื่อว่าเทหวัตถุในท้องฟ้าโคจรเป็นวงกลม  ความคิดนี้อริสโตเติลและนักปราชญ์ในยุคกลางยอมรับ
นอกจากความคิดเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของเทหวัตถุในท้องฟ้าแล้วยังมีความเชื่ออีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในระยะเดียวกัน  คือ  ความเชื่อของนักปรัชญาชื่อ  อนักซาโกรัส (Anaxagoras)  ที่เชื่อว่าโลกหรือจักรวาลมีวิญญาณ (Soul)
นอกจากเปลโตแล้วศิษย์ของเขาก็สนใจดาราศาสตร์อยู่ไม่น้อย  เอ็กโซดัส (Exodus) สามารถคำนวณปีสุริยคติว่าเท่ากับ  365  วันกับ  6  ชั่วโมง  และเชื่อว่าเทหวัตถุในท้องฟ้าโคจรรอบศูนย์กลางเป็นวงกลมโดยมีโลกเป็นศูนย์กลาง  เฮราคลีเดส  (Heracleides) ศิษย์อีกคนหนึ่งค้นพบว่าโลกหมุนรอบตัวเอง  1  รอบ  กินเวลา  24  ชั่วโมง  และดาวพุธกับดาวศุกร์โคจรรอบดวงอาทิตย์
นอกจากจะค้นคว้าด้านคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์แล้ว  ยังมีการค้นคว้าด้านพฤกษศาสตร์และกายวิภาคด้วย  เราจะเห็นผลงานเหล่านี้ได้อย่างชัดเจนในงานของอริสโตเติลศิษย์คนสำคัญของเขา

<<       ปัญญาความคิดสมัยเฮเลนิสติค

  

  

สร้างโดย: 
นางสาว ปวีณา วิริยะมั่นพงศ์ และครูที่ปรึกษา คุณครูพีรทิพย์ สุคันธเมศวร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 529 คน กำลังออนไลน์