ยุคราชวงศ์ซ่ง

รูปภาพของ sss27520
    



 

 

 

 ยุคราชวงศ์ฉิน   ยุคราชวงศ์ฮั่น  ยุคสามก๊ก  ยุคราชวงศ์จิ้น  ยุคราชวงศ์เหนือใต้  ยุคราชวงศ์สุย  ยุคราชวงศ์ถัง 

5 ราชวงศ์ 10 แคว้น  ยุคราชวงศ์ซ่ง  ยุคราชวงศ์หยวน  ยุคราชวงศ์หมิง  ยุคราชวงศ์ชิง  

 

 กำเนิดแคว้นจินกับอวสานของซ่งเหนือ 
         

           ในเวลาเดียวกัน สถานการณ์ทางภาคเหนือก็วุ่นวายไม่ต่างกัน ราชสำนักเหลียวเกิดการแตกแยกภายใน ระบบการปกครองล้มเหลว บ้านเมืองอ่อนแอลง กลุ่มชนเผ่าทางเหนือที่เคยถูกกดขี่บีบคั้นต่างลุกฮือขึ้นก่อหวอด ชนเผ่าหนี่ว์เจิน  ทางภาคอีสานเริ่มมีกำลังแกร่งกล้าขึ้น
          ปี 1115 อากู่ต่า  ผู้นำชนเผ่าหนี่ว์เจิน สถาปนาแคว้นต้าจินหรือกิม  ที่ฮุ่ยหนิง (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเฮยหลงเจียง) ทรงพระนาม จินไท่จู่  จากนั้นกรีฑาทัพบุกแคว้นเหลียว
           ฝ่ายซ่งเหนือ เห็นเป็นโอกาสที่จะยึดดินแดน 16 เมืองที่เคยเสียไปกลับคืนมา จึงทำสัญญาร่วมมือกับแคว้นจินบุกเหลียว โดยซ่งจะส่งบรรณาการที่เคยให้กับเหลียวมามอบให้แคว้นจินแทน เพื่อแลกกับดินแดน 16 เมือง(ปักกิ่ง ต้าถง)ที่สูญเสียไปกลับคืนมา
          ซ่งกับจินทำสัญญาร่วมมือกันบุกเหลียว ซ่งรับหน้าที่บุกเมืองเยียนจิง(ปักกิ่ง)และต้าถง ขณะที่จินนำทัพรุกคืบกลืนดินแดนเหลียวที่เหลือ ถงก้วน  นำทัพซ่งบุกเมืองเยียนจิงสองครั้งแต่ต้องพ่ายแพ้กลับมาทั้งสองหน สุดท้ายปล่อยให้ทัพจินเป็นฝ่ายบุกเข้ายึดเมืองไว้ได้โดยง่าย ราชสำนักซ่งต้องรับปาก “ ไถ่เมืองคืน ” ด้วยภาษีรายปีที่เก็บได้จากท้องถิ่นเป็นเงินก้อนโต สถานการณ์คราวนี้เป็นเหตุให้ทัพจินเล็งเห็นถึงความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพของกองกำลังฝ่ายซ่ง ดังนั้น เมื่อทัพจินล้มล้างเหลียวเป็นผลสำเร็จ ก็เบนเข็มมุ่งมายังซ่งเหนือเป็นลำดับต่อไป
    

           ปี 1125 หลังจากหวันเหยียนเซิ่น ขึ้นครองราชย์เป็นจินไท่จง  สืบต่อจากจินไท่จู่ผู้พี่ชายแล้ว ก็นำทัพกวาดล้างแคว้นเหลียวเป็นผลสำเร็จ ทัพจินอ้างเหตุรุกไล่ติดตามตัวนายทัพเหลียว นำทัพล่วงเข้ามาในแดนซ่ง แยกย้ายบุกแดนไท่หยวนและเยียนจิง(ปักกิ่ง) แม่ทัพรักษาเมืองเยียนจิงยอมสวามิภักดิ์ทัพจิน นำทางเคลื่อนทัพรุกประชิดเมืองหลวงไคเฟิง
     ซ่งฮุยจงเมื่อได้ทราบข่าวทัพจินเคลื่อนลงใต้ รีบสละบัลลังก์ให้กับรัชทายาทส่วนตัวเองหลบหนีลงใต้ ซ่งชินจง  เมื่อขึ้นครองราชย์ ก็เรียกประชุมเสนาบดีคิดหาหนทางแก้ไขวิกฤตครั้งนี้ กลุ่มขุนนางใหญ่สนับสนุนให้ย้ายเมืองหลวงเพื่อลี้ภัย ทว่าหลี่กัง  อาสาทำหน้าที่รักษาเมืองอย่างแข็งขัน หัวเมืองรอบนอกเมื่อทราบข่าวทัพจินก็รวมตัวกันจัดตั้งกองกำลังต่อต้านการรุกรานจากภายนอก ทัพจินเมื่อไม่สามารถเอาชัยได้ในระยะเวลาอันสั้น ก็เริ่มขาดแคลนเสบียง
       ในเวลาเดียวกัน ซ่งชินจงแอบทำสัญญาสงบศึกกับทัพจิน โดยยินยอมจ่ายทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาล อีกทั้งส่งมอบดินแดนสามเมืองให้เป็นการชดเชย ฝ่ายจินจึงยอมถอนทัพกลับภาคเหนือ ภายหลังวิกฤตหลี่กังถูกปลดจากตำแหน่ง
        ราชสำนักซ่งแม้ว่ารับปากส่งมอบเมืองไท่หยวน จงซานและเหอเจียนให้กับแคว้นจิน แต่ราษฎรในท้องถิ่นต่างพากันต่อต้านทัพจินอย่างไม่คิดชีวิต ทัพจินไม่อาจเข้าครอบครองทั้งสามเมืองได้ จึงส่งกองกำลังบุกลงใต้มาอีกครั้ง แต่คราวนี้ ชาวเมืองไท่หยวนที่ยืนหยัดต่อสู้เป็นเวลานาน เกิดขาดแคลนเสบียง จึงต้องเสียเมืองในที่สุด ทัพจินรุกประชิดเมืองไคเฟิงอีกครั้ง ราชสำนักซ่งจัดส่งราชทูตไปเจรจาสงบศึกแต่ไม่เป็นผล ทัพจินบุกเข้าเมืองไคเฟิงกวาดต้อน ซ่งเวยจง ซ่งชินจง และเชื้อพระวงศ์ ไปเป็นเชลย อีกทั้งปล้นสะดมทรัพย์สินในท้องพระคลังไปจนหมดสิ้น ราชวงศ์ซ่งเหนือล่มสลาย
      

            ในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ แม้มีการศึกสงครามประปรายเป็นระยะ แต่เนื่องจากพื้นที่บางส่วนยังมีความสงบสุขอยู่บ้าง ดังนั้น วิทยาการความรู้ การผลิต ยังคงมีความก้าวหน้าอย่างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคนิคการพิมพ์ ถือเป็นผลงานที่โดดเด่นในยุคนี้ นอกจากนี้ ความจำเป็นของการศึกสงคราม ราชสำนักซ่งยังได้มีการผลิตดินปืนขึ้นเพื่อใช้ในการรบเป็นครั้งแรก
      

        ในด้านศิลปะและวรรณคดี ก็มีอัจฉริยะที่โดดเด่นปรากฏขึ้นไม่น้อย บทกวี  ในสมัยซ่งได้รับการยอมรับว่า มีความสำเร็จอย่างสูง เนื่องจากระบบการสอบจอหงวนทำให้กลุ่มปัญญาชนได้รับอิสระในการพัฒนาตนเองขึ้นมา อาทิ หวังอันสือ ฟ่านจ้งเยียน ซือหม่ากวง เป็นต้น อีกทั้งยังได้ฝากผลงานภาพวาดฝีมือเยี่ยมไว้มากมายที่โดดเด่นเป็นที่รู้จัก ได้แก่ฝีมือของ ซ่งฮุยจง กษัตริย์องค์ที่แปดแห่งราชวงศ์ซ่ง
     นับแต่ ราชวงศ์ซ่งเป็นต้นมา ประวัติศาสตร์การแบ่งแยกอันยาวนานของจีนในลักษณะนี้ก็ไม่เกิดขึ้นอีก หลังจากซ่งเหนือถูกล้มล้างโดยราชวงศ์จิน ได้เปิดกระแสการรุกรานจากชนเผ่านอกด่านเข้าครอบครองแผ่นดินจีนในเวลาต่อมา

เปากง (เปาบุ้นจิ้น)
         ต่อต้านข้าราชกาลฉ้อราษฏร์บังหลวง กำจัดอิทธิพลท้องถิ่น เป็นเอกลักษณ์เด่นที่สุดของเปาบุ้นจิ้น และเป็นผลงานที่ลำลือกันในหมู่ประชาชน
       ในประวัติศาสตร์จีน เปาบุ้นจิ้นเป็นขุนนางที่ซื่อสัตย์ในระยะเวลาสามสิบปีที่ได้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษา มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ถูกลดยศตำแหน่งปลดออกจากราชการ จนกระทั่งถูกประหารชีวิตไม่ต่ำกว่าสามสิบคน
   ดังที่เปาบุ้นจิ้นได้กล่าวไว้ เค้าเกิดในครอบครัวที่ไม่ร่ำรวย ในวันที่มารดาของเปาบุ้นจิ้น คลอดท่านนั้น นางยังต้องไปตัดฟืนในป่า ครั้นเมื่อเปาบุ้นจิ้นอยู่ในวัยหนุ่ม ถึงแม้ว่าจะยังมีโอกาสได้เรียนหนังสือ ต่อมาท่านได้เข้าสอบจอหงวน แต่ขณะนั้นมารดาท่านได้เสียชีวิตไป และท่านได้ไว้ทุกข์ให้มารดาที่บ้านเป็นเวลานานถึงสิบปี จนกระทั่งอายุได้ 29 ปี จึงไปเข้ารับราชการ เนื่องจากเปาบุ้นจิ้นใช้ชีวิตคลุกคลีกับชาวบ้านเป็นเวลานาน จึงเข้าใจความทุกข์ของชาวบ้านเป็นอย่างดี

ขุนศึกตระกูลหยาง
    หากกล่าวถึงราชวงศ์ซ่งแล้ว ก็จะต้องกล่าวถึงขุนศึกตระกูลหยางที่มีความองอาจกล้าหาญ และความจงรักภักดีทั้งสามชั่วอายุคน ยากที่จะหาใครมาเปรียบได้
    หยางเยี่ย ชื่อเดิม หยางจังกุ้ย เป็นขุนพลของแคว้นเป่ยฮั่น ในยุคอู่ไต้สือกั๋ว สามารถรบชนะข้าศึกแคว้นเหลียวหลายครั้ง เมื่อแคว้นเป่ยฮั่นถูกราชวงศ์ซ่งโค่นล้ม หยางเยี่ยยอมจำนนต่อราชวงศ์ซ่งและได้เป็นขุนพลดังเดิม ทำหน้าที่ป้องกันด่านทางภาคเหนือ และได้สร้างผลงานมากมายหลายครั้ง แต่คาดไม่ถึงว่าผลงานที่ได้สร้างเพื่อบ้านเมืองนี้จะทำให้ พานเหม่ย ซึ่งเป็นเสนาบดีในสมัยนั้นอิจฉาริษยา จึงได้ทำการวางแผนให้หยางเยี่ยต้องต่อสู่กับกองทัพเหลียว โดยไม่มีผู้ใดเข้ามาช่วยเหลือ หยางเหยียนยู่ลูกชายคนโตของหยางเยี่ยสู้รบจนสิ้นชีพ ส่วนหยางเยี่ยได้รับบาดเจ็บสาหัสและถูกจับกุม ทางฝ่ายเมืองเหลียวนิยมชมชอบในฝีมือของหยางเยี่ย จึงได้มีการเจรจาให้ยอมจำนน แต่หยางเยี่ยไม่ยอม เขาอดอาหารอยู่สามวันก็เสียชีวิตไปในที่สุด
     หยางเหยียนเจา ลูกชายอีกคนของหยางเยี่ย เป็นตัวแทนของขุนศึกตระกูลหยางรุ่นที่สอง หยางเหยียนเจาเป็นคนที่กล้าหาญและมีความสามารถในเชิงการรบ เค้าเป็นคนที่มีระเบียบวินัยที่เข้มงวดและใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ทุกครั้งที่ได้รับรางวัลมาก็จะแจกจ่ายให้กับเหล่าบริวาร ทุกครั้งที่มีการสู้รบก็จะนำทัพด้วยตนเองเสมอ ดังนั้นเหล่าบริวารจึงยินดีที่จะเสียสละและร่วมเป็นร่วมตายกับเค้า หยางเหยียนเจารักษาด่านทางเหนือนานถึง 20 ปี แคว้นเหลียวเกรงกลัวฝีมือของเค้าจนขนานนามเค้าว่า “ หยางหลิ่วหลาง ” เค้าต่อสู้เพื่อรักษาเอกราชของประเทศ จึงได้รับกายกย่องจากประชาชนและสร้างชื่อเสียงให้กับตระกูลหยาง
     หยางเหวินกว่าง บุตรชายคนที่ 3 ของหยางเหยียนเจา หยางเหวินกว่างแม้มิได้สร้างความลื่อเลื่องเช่นรุ่นปู่และรุ่นพ่อ แต่ยังคงสืบทอดรักษาเจตนารมณ์แห่งความจงรักภักดีต่อแผ่นดิน ไม่ลืมอุดมการณ์ปราบปรามทางเหนือ เค้ายังได้ตีชิงเอาเมืองโยวเยี่ยนกลับคืนมา  

 

แหล่งอ้างอิง http://www.thaichinese.net/History/Imperial/Imperial2/imperial2.html#Song http://www.thaisamkok.com/china-dynasty-19.shtml  http://www.thaisamkok.com/china-dynasty-20.shtml

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 406 คน กำลังออนไลน์