การใช้กล้องถ่ายรูป 2

 

 

 

4. วิธีการถ่ายภาพ

4.1 การปรับระยะชัด (Fucusing)

สิ่งที่สำคัญในการถ่ายภาพ  คือ  การปรับระยะชัดหรือระยะโฟกัสจะช่วยให้ภาพที่ได้มีความคมชัด 

 สำหรับกล้อง 35 มม.  สะท้อนเลนส์เดี่ยวสามารถมองผ่านช่องมองภาพได้  โดยปรับความคมชัดจากวงแหวน 

 ปรับระยะชัดที่เลนส์  โดยภาพที่ปรากฏผ่านช่องมองภาพจะเป็นภาพจริง 

ดังนั้นผู้ถ่ายภาพควรคำนึงถึงวัตถุที่ต้องการเน้นให้มีความชัดเจนมากที่สุด 

ที่กระบอกเลนส์จะมีค่าแสดงตัวเลขบอกระยะทางจากตัวกล้องไปจนถึงวัตถุที่ปรับระยะชัด 

 ช่วงระยะในการชัดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของรูรับแสง  ยิ่งแคบมากยิ่งทำให้ระยะชัดลึกมากขึ้นเท่านั้น 

 แต่ถ้าเปิดรูรับแสงกว้างมากต้องระวังการปรับระยะชัดให้ดีเพราะช่วงชัดลึกจะสั้น  หรือเลนส์ยิ่งมีความยาวโฟกัสมากเท่าใด 

ความชัดลึกย่อมมีน้อยตามไปด้วย  ดังนั้นผู้ใช้ต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้และฝึกการปรับระยะชัดให้แม่นยำและรวดเร็ว

ในปัจจุบันกล้องบางรุ่นจะมีระบบปรับความชัดอัตโนมัติ (Auto focus) ซึ่งต้องศึกษาการใช้งานจากคู่มือของกล้องรุ่นนั้นให้ดี 

เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการถ่ายภาพ


 

4.2 การกำหนดความเร็วชัตเตอร์

การกำหนดความเร็วชัตเตอร์  เป็นความจำเป็นอีกประการหนึ่งในการถ่ายภาพ 

เพราะจะเป็นตัวกำหนดช่วงเวลาในการรับแสงของฟิล์ม  ซึ่งที่ตัวกล้องจะมีตัวเลขแสดงค่าความเร็วชัตเตอร์เป็นจำนวนเต็ม  เ

ช่น  B  1  2  4  8  15  30  60  125  250  500  1000  เป็นต้น 

แต่ความเป็นจริงแล้ว 1 หมายถึงกล้องจะเปิดม่านชัตเตอร์ให้แสงกระทบกับฟิล์มเป็นเวลา 1 วินาที  2 หมายถึง 1/2 วินาที 

ไปจนถึง 1/1000 วินาที  ค่าตัวเลขยิ่งสูงมากเท่าใดความเร็วยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

การกำหนดความเร็วชัตเตอร์  จะขึ้นอยู่กับสภาพแสง  และจุดประสงค์ในการถ่ายภาพเป็นสำคัญ 

ถ้าแสงมีความสว่างมากเช่นในตอนกลางวัน  ช่วงเวลา 10.00 น. - 14.00 น. ในวันที่ฟ้าสดใสไม่มีเมฆหรือหมอกมาบัง 

 จะสามารถตั้งความเร็วชัตเตอร์ได้สูง  เช่น  1/250  1/500  หรือ  1/1000 

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดรูรับแสงด้วยซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป  สำหรับผู้ที่เริ่มต้นถ่ายภาพควรตั้งความเร็วชัตเตอร์สูงไว้ 

 คือ  ตั้งแต่ 1/125 ขึ้นไป  จะช่วยป้องกันปัญหากล้องสั่นไหวมที่ส่งผลให้ภาพที่ได้พร่ามัว  และการถ่ายภาพวัตถุที่ไม่หยุดอยู่กับที่ 

เช่น การแข่งขันกีฬา  ควรตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่สูงด้วยเช่นกัน  เพราะจะทำให้ภาพที่ที่ได้หยุดนิ่ง (Stop action)


 
 

4.3 การกำหนดค่ารูรับแสง

การกำหนดรูรับแสง  เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติควบคู่กับการกำหนดความเร็วชัตเตอร์ 

เพราะเป็นตัวกำหนดปริมาณของแสงที่มากระทบกับฟิล์ม  ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของรูรับแสง 

โดยมีการกำหนดค่าตั้งแต่กว้างสุด  จนถึงแคบสุด  โดยแทนค่าเป็นตัวเลข  ยิ่งตัวเลขมากเท่าใดรูรับแสงยิ่งแคบลง

วิธีการเพิ่มหรือลดรูรับแสงนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแสง  ค่าความไวแสงของฟิล์มและความเร็วชัตเตอร์เป็นสำคัญ 

ยิ่งเปิดรูรับแสงแคบเท่าใดต้องปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำลงเพื่อรักษาความสมดุลย์ของแสง 

 การเปิดรูรับแสงนั้นจะส่งผลต่อภาพในเรื่องของระยะชัด (Depth of field) ของภาพ 

 ในกรณีที่เปิดรูรับแสงกว้างจะทำให้ภาพมีความชัดเฉพาะจุดหรือชัดตื้น  ถ้าเปิดรูรับแสงปานกลางถึงแคบสุด 

ภาพจะเพิ่มระยะชัดหรือมีความชัดลึกมากขึ้น


 

                                                                        4.4 การวัดแสง

หลังจากที่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความเร็วชัตเตอร์  กับการเปิดรูรับแสงแล้ว  

ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการวัดแสง  เพื่อให้ได้ภาพที่มีความสมดุลย์ของแสงและความอิ่มตัวของสี 

ความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงต้องมีความสัมพันธ์กัน  ถึงแม้ว่าในปัจจุบันกล้องถ่ายภาพส่วนใหญ่

จะสามารถปรับสภาพของการรับแสงของกล้องได้โดยอัตโนมัติก็ตาม  แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ถ่ายภาพต้องทำความเข้าใจ 

 คือ  ลักษณะของภาพที่ต้องการ  อาจต้องการภาพที่มีความชัดลึก  เช่น  ภาพภูมิทัศน์  ภาพงานพิธีต่างๆ 

หรือภาพที่ต้องการให้มีลักษณะชัดตื้น  เพื่อเน้นเฉพาะจุด  เช่น  การถ่ายภาพบุคคล  การถ่ายภาพวัตถุต่างๆ 

หรือภาพที่ต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงเพื่อหยุดภาพที่เคลื่อนไหวอย่างเร็ว

ภาพที่วัดแสงได้ถูกต้องหรือ Normal จะได้ภาพที่มีความเข้มของสีถูกต้อง เหมาะสม  แต่ถ้าวัดแสงผิดพลาด 

คือ  ให้ฟิล์มรับแสงน้อยเกินไป  หรือ Under  อาจเกิดจากเปิดรูรับแสงน้อยเกินไป  หรือใช้ความเร็วชัตเตอร์เร็วเกินไป 

 ภาพจะออกมามีโทนสีดำมาก  หรือที่เรียกว่า ภาพมืด  ยิ่งผิดพลาดมากเท่าใดภาพยิ่งมืดมากเท่านั้น 

ส่วนภาพที่รับแสงมากเกินไปหรือ Over มีสาเหตุจากใช้รูรับแสงกว้างเกินไป  หรือความเร็วชัตเตอร์ช้าเกินไป 

ทำให้ภาพที่ได้มีสีขาวมาก หรือแสงจ้ามาก  ทำให้ภาพขาดความสดใสไปมาก

ดังนั้น  ก่อนการกดชัตเตอร์  ควรศึกษาเรื่องการวัดแสงให้ถูกต้อง  ศึกษาคู่มือการใช้กล้องและฟิล์มให้ดี 

เพราะถ้าวัดแสงผิดพลาดจะเสียทั้งเวลา  เงินทอง และโอกาสที่จะได้ภาพดีๆ ไปอย่างน่าเสียดาย


 

 

 

 

                                                                       
 

สร้างโดย: 
นาย วีรศักดิ์ เตชมหนนท์และ นางสาว กัญญารัตน์ ภูมิศิริวิไล โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 400 คน กำลังออนไลน์