user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('ประเพณีแห่ธงสงกรานต์ จ.นครปฐม', 'node/87516', '', '18.119.130.231', 0, '20a8fc36228f178071f874ec9d94165b', 134, 1716060031) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

ชนิดของกล้องถ่ายรูป 1

 

 

 

 

กล้องถ่ายรูป  นับเป็นเครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมาจาก "กล้อง ออบสคูร่า" (Obscura)

ที่มีลักษณะเป็นกล้องมืด (Dark room) และได้รับการพัฒนามาเรื่อยๆ

 โดยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ ซึ่งกล้องปัจจุบันนี้สามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้  ดังนี้

1. กล้องบ๊อกซ์ (Box Camera)

เป็นกล้องที่ไม่มีกลไกสลับซับซ้อน  มีขนาดรูรับแสงคงที่  อาจเป็น 8 หรือ 11 อันใดอันหนึ่ง 

 และมีความเร็วชัตเตอร์เดียวปกติประมาณ 1/60  กล้องชนิดนี้ให้ระยะชัดตั้งแต่ 6 ฟุตขึ้นไปจนถึงไกลที่สุด 

 ขนาดของฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้อาจเป็นฟิล์มขนาด 120, 127 และ 620  บางชนิดอาจใช้ฟิล์มขนาด 126 ก็ได้ 

 อย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ถ่ายรูปได้ดีในสภาพที่มีแสงเพียงพอ

http://www.rayongwit.ac.th/computer/m2fri49/g17m2fri/images/03kind/camara2.jpg ]

 

 

2. กล้องพับ (Folding Camera)

เป็นกล้องที่มีห้องมืดชนิดพับระหว่างตัวกล้องกับเลนส์  สามารถพับเก็บ หรือยืดออกมาได้ 

 นอกจากนั้นกล้องชนิดนี้ยังเพิ่มขนาดของรูรับแสง  และสามารถปรับเปลี่ยนความเร็วของชัตเตอร์ได้หลายระดับมากยิ่งขึ้น 

 และอาจใช้กับไฟแวบอีกด้วย  ฟิล์มที่ใช้อาจมีขนาดต่างๆ เช่น 120, 127 และ 620 เป็นต้น

http://www.rayongwit.ac.th/computer/m2fri49/g17m2fri/images/03kind/camara3.jpg ]

 

 

3. กล้องรีเฟล็กซ์ (Reflex Camera) 

กล้องชนิดนี้แบ่งออกเป็น 2 แบบ  คือ

3.1 แบบเลนส์คู่ (Twin Lens Reflex)  บางครั้งอาจเรียกว่ากล้อง TLR ซึ่งเคยได้รับความนิยมมากในสมัยก่อน 

กล้องชนิดนี้มีเลนส์ 2 ตัว  เลนส์ตัวบนทำหน้าที่สะท้อนภาพเข้าสู่ช่องมองภาพซึ่งมีกระจกเป็นตัวสะท้อน 

ทำให้ผู้ถ่ายรูมองเห็นวัตถุที่จะถ่ายได้  ส่วนเลนส์ตัวล่างทำหน้าที่รับแสง  เพื่อส่องผ่านไปยังฟิล์ม 

กล้องรีเฟล็กซ์เลนส์คู่นี้ได้รวมเอาข้อดีของกล้องใหญ่ (View Camera) และกล้องเรนจ์ไฟเดอร์ (Range finder) เข้าด้วยกัน 

 โดยเฉพาะสามารถมองภาพจากข้างบนกล้องได้  โดยลดกล้องให้ต่ำลง  แล้วมองภาพจากช่องมองได้สะดวกสบาย 

อย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ก็มีข้อเสีย  เนื่องจากใช้เลนส์ 2 ตัว ตั้งอยู่ในแนวดิ่งซึ่งกันและกัน  ดังนั้นภาพที่มองเห็นจากเลนส์ตัวบน 

อาจจะไม่เหมือนกันกับภาพที่ถ่าย  ซึ่งเรียกว่าเกิดอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนของภาพ (Parallax)  ยิ่งเป็นการถ่ายรูปใกล้ๆ 

 บางส่วนของภาพจะถูกตัดออกไป  แม้ว่าเวลามองที่ช่องมองภาพนั้นเป็นภาพสมบูรณ์ก็ตาม

  อีกประการหนึ่งภาพที่เห็นที่ช่องมองภาพจะกลับซ้ายเป็นขวาเสมอ  นอกจากนี้  กล้องชนิดนี้ส่วนมากจะเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้

  จึงเป็นข้อเสียเปรียบเช่นกัน  ฟิล์มที่ใช้อาจมีขนาด 120, 220 หรือ 35 มม. ก็ได้

http://www.rayongwit.ac.th/computer/m2fri49/g17m2fri/images/03kind/camara4.jpg ]

 

3.2 แบบเลนส์เดี่ยว (Single Len Reflex)  หรือเรียกว่า SLR ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน 

 เพราะสะดวกและง่ายต่อการประกอบภาพ  นอกจากนั้น  ยังมีอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ร่วมกันได้มากมาย 

กล้องชนิดนี้สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้  และไม่มีอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนภาพ (Parallax) เลย 

 เพราะใช้เลนส์ตัวเดียวทำหน้าที่ทั้งมองภาพ หาระยะชัด และบันทึกภาพ  อย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ก็มีข้อเสียเปรียบ

 คือ อาจจะชำรุดได้ง่ายเพราะการกระดกขึ้นลง ของกระจก 45 องศา  อีกประการหนึ่ง  เมื่อกดชัตเตอร์จะมีเสียงดังมาก 

 อาจทำให้เกิดการรบกวนได้  โดยเฉพาะถ้านำไปถ่ายรูปสัตว์  อาจทำให้สัตรว์ตื่นตระหนกตกใจได้ 

นอกจากนั้นเมื่อถ่ายรูปในที่ๆ มีแสงน้อย อาจทำให้การมองภาพที่ช่องมองไม่ชัดเจน 

เพราะมีการสะท้อนหลายครั้งที่กระจกและปริซึมภายในตัวกล้อง  ทำให้ความเข้มของแสงลดลงไปได้ 

 กล้องรีเฟลกซ์เลนส์เดี่ยวส่วนมากใช้ระบบชัตเตอร์ม่านจึงทำให้ใช้ความเร็วของชัตเตอร์ได้สูงมาก  การเปลี่ยนขนาดของรูรับแสงก็มีมาก 

ฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้มีเบอร์ 135, 126, 120, 220 และ 110 ซึ่งสนองความต้องการของผู้ใช้ได้มาก

http://www.rmutphysics.com/CHARUD/oldnews/235/camera1/SingleLenReflex2.jpg ]

4. กล้องเล็ก (Miniature Camera)

กล้องเล็ก (Miniature Camera) หรือ กล้องวิวไฟเดอร์ (View finder)

บางคนก็เรียกว่า เรนจ์ไฟเดอร์ (Range Finder) หรือเรียกว่า กล้อง 35 มม.  มาตรฐาน (35 mm. Standard Camera) 

เพราะใช้กับฟิล์มขนาดมาตรฐาน คือ 35 มม.  กล้องชนิดนี้เหมาะที่สุดสำหรับนักถ่ายภาพสมัครเล่น 

 เพราะออกแบบเพื่อให้สะดวกสบายในการจับถือ  มีทั้งชนิดที่ต้องปรับแต่ง  และไม่ปรับแต่งความชัด 

ความเร็วชัดเตอร์และขนาดของรูรับแสง  กล้องชนิดนี้มีลักษณะกระทัดรัด  ใช้ง่าย  ราคาไม่แพงนัก 

อย่างไรก็ตามก็มีข้อเสียคือภาพถ่ายอาจเกิดอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนของภาพ (Parallax) ได้ถ้าถ่ายรูปใกล้กว่า 3 ฟุต 

 เนื่องจากหน้าต่างหาระยะชัดของภาพตั้งอยู่คนละแห่งกับเลนส์  คือจะอยู่เหนือเลนส์ถ่ายรูปเล็กน้อย 

 ในปัจจุบันกล้องชนิดนี้ได้พัฒนาให้เปลี่ยนเลนส์ได้  และมีอุปกรณ์อื่นๆ ประกอบมากมายจึงทำให้มีผู้นิยมกล้องชนิดนี้อยู่พอสมควร

http://www.rmutphysics.com/CHARUD/oldnews/235/camera1/MiniatureCamera%20copy.jpg ]

 

 

 

     

                                                                   

 

 

 

 

สร้างโดย: 
นาย วีรศักดิ์ เตชมหนนท์และ นางสาว กัญญารัตน์ ภูมิศิริวิไล โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 225 คน กำลังออนไลน์