img1.gif

เหนี่ยวนำไฟฟ้า

  

Homeผู้จัดทำPretestไฟฟ้าสถิตประจุไฟฟ้ากฎของคูลอมบ์สนามไฟฟ้า,จุดสะเทินEletrostaticsสนามไฟฟ้างานเคลื่อนประจุศักย์ของตัวนำการใช้ประโยชน์Postest

 

แรงผลัก แรงดึงดูด 
แรงระหว่างประจุ 
เหนี่ยวนำไฟฟ้า 
ตัวนำและนวน 
อิเลคโตรสโคป 
ตัวอย่าง 
แบบทดสอบ 

    การทำให้เกิดประจุ

     สำหรับคนที่สวมใส่รองเท้าหนังแล้วเดินไปบนพื้นที่ปูด้วยขนสัตว์หรือพรหม เมื่อเดินไปจับลูกปิดประตูจะมีความรู้สึกว่าถูกไฟช๊อต ที่เป็นเช่นนี้เราสามารถอธิบายได้ว่า เกิดประจุไฟฟ้าขึ้นจากการขัดสีของวัตถุ 2 ชนิด วัตถุใดสูญเสียอิเลคตรอนไปจะมีประจุไฟฟ้าเป็นบวก ส่วนวัตถุใดได้รับอิเลคตรอนมาจะมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุที่มาขัดสีกัน

     ปกติคนเป็นกลางทางไฟฟ้าเมื่อเดินผ่านขนสัตว์หรือพรหม รองเท้าหนัง ของเขาจะขัดสีกับพื้นขนสัตว์หรือพรหม ทำให้อิเลคตรอนหลุดจากรองเท้าหนังไปยังพื้นพรหม เมื่อเขาเดินไปเรื่อย ๆ อิเลคตรอนจะหลุดจากรองเท้าไปยังพื้นมากขึ้น จึงทำให้เขามีประจุไฟฟ้าเป็นบวกกระจายอยู่เต็มตัวเขา เมื่อเขา(ซึ่งมีประจุบวก)เข้าไปใกล้ ๆ และจะจับลูกบิดประตู ซึ่งเป็นโลหะจะทำให้ อิเลคตรอนจากประตูกระโดดมายังตัวเขา ทำให้เขารู้สึกว่าคล้าย ๆ ถูกไฟช๊อต

     ในลักษณะเดียวกันถ้าเขาใส่รองเท้ายาง รองเท้ายางจะรับอิเลคตรอนจากผ้าขนสัตว์หรือพรหม จะทำให้เขามีประจุไฟฟ้าเป็นลบ เมื่อเขาเข้าไปใกล้และจะจับลูกบิดประตูจะทำให้อิเลคตรอนกระโดด จากเขาไปยังลูกบิด เขาจะมีความรู้สึกว่าคล้าย ๆ ถูกไฟช๊อต 

     เมื่อเรานำวัตถุต่าง ๆ มาขัดสีกัน แล้วพิจารณาดูว่า วัตถุใดจะให้ หรือรับอิเลคตรอน แล้วมาเรียงลำดับ ได้ลักษณะดังซ้ายมือ

     เมื่อเอาวัตถุที่กำหนดทางซ้ายมือ 2 ชนิดมาขัดสีกัน  วัตถุที่มีลำดับอยู่บนจะสูญเสียอิเลคตรอน(ทำให้มีประจุไฟฟ้า เป็นบวก) ส่วนวัตถุที่มีดับดับด้ายล่างลงมาจะเป็นผู้รับอิเลคตรอน จึงทำให้มีประจุไฟฟ้าเป็นลบ

     ตัวอย่างเช่น ถ้านำหนัง( leather)มาถูกับขนสัตว์( wool) หลังการถู หนังจะมีประจุเป็นบวก ขนสัตว์จะมีประจุเป็นลบ หรือเอาแท่งยางแข็ง  (hard rubber)ถูกับขนสัตว์( wool) แท่งยางจะมีประจุไฟฟ้าลบและขนสัตว์จะมีประจุไฟฟ้าเป็นบวก

หมายเหตุ การเรียงลำดับการให้หรือรับอิเลคตรอนดังกล่าววัตถุนั้นจะต้อง สะอาดและแห้ง

 

 

 จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2550

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com

จัดทำโดย ครูสุทธิรัตน์  ศรีสงคราม  ครูกลยุทธ  ทะกอง  ครูนิรมล  เสือเขียว
ภาควิชาฟิสิกส์  มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
Copyright (c) Faculty of Science Naresuan University All rights reserved.