img1.gif

กฎของคูลอมบ์

  

Homeผู้จัดทำPretestไฟฟ้าสถิตประจุไฟฟ้ากฎของคูลอมบ์สนามไฟฟ้า,จุดสะเทินEletrostaticsสนามไฟฟ้างานเคลื่อนประจุศักย์ของตัวนำการใช้ประโยชน์Postest

 

แรงระหว่างประจุ 
ทิศของแรง 
Atom 
แรงระหว่างประจุ 
EForce 
แบบทดสอบ 

    นักเรียนรู้ไหมว่าใครเป็นคนวัดค่าคงที่ G ? คนที่วัดค่าคงที่ G คือ Cavendish

    Coulomb ทำการวัดแรงระหว่างประจุในปี ค.ศ. 1785 โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า เครื่องชั่งการบิด ( torsion balance ) ดังรูป (click) รูปที่ 2 แสดงเครื่องมือที่ Coulomb ใช้วัดแรงไฟฟ้าระหว่างประจุทั้งสอง

    เมื่อประจุ Q1 ถูกดันออกจาก Q2 ทำให้เส้นใยสังเคราะห์บิดไปจนนิ่ง เมื่อแรงผลักถูกชดเชยโดยแรงคืนตัวของเส้นใยสังเคราะห์ที่บิด    จากหลักการนี้ Coulomb สามารถวัดแรงเป็นฟังก์ชันของระยะทางระหว่างประจุ Q1 และ Q2 ได้ ในทำนองเดียวกัน Coulomb ยังสามารถวัดแรงดึงดูดได้อีกด้วย

    เมื่อประจุ Q1 และ Q2  คงที่, Coulomb ค้นพบว่า ขนาดของแรงไฟฟ้า แปรผันตรงกับ ส่วนกลับ ของระยะทางระหว่างประจุทั้งสองยกกำลังสอง

                                              (1)

    Coulomb ทำการทดลองอีกชุดหนึ่ง พบว่า เมื่อระยะทางระหว่างประจุทั้งสองคงที่แล้ว ขนาดของแรงไฟฟ้า  แปรผันตรงกับผลคูณประจุ Q1 ของวัตถุหนึ่งกับประจุ Q2 ของวัตถุอีกอันหนึ่ง

                                                   (2)

    ให้นักเรียนนำสมการ (1) และ (2) มารวมกันเป็นสมการทั่วไปสำหรับแรงระหว่างประจุทั้งสอง

                                         (3)

    โดยที่      และ เป็นค่าประจุทั้งสอง
                  R
    เป็นระยะทางระหว่างประจุทั้งสอง
                  
    Kc เป็นค่าคงที่ = 8.99 x 109 N-m2/c2
                      
    เรียกว่า Coulomb’s law อ่านว่า กฎของคูลอมบ์
                 
    ตัวแปร R2 ในตัวส่วนเป็นคำกล่าวของ inverse-square law ( กฎกำลังสองผกผัน )

    นักเรียนสามารถหาทิศทางของการกระทำได้ โดยดูตามเส้นที่เชื่อมระหว่างประจุ (click)

    การใช้กฎของคูลอมบ์ สมการที่ (3) นักเรียนต้องระบุหน่วยของประจุไฟฟ้าของ และ และประเมินค่า kc ในปัจจุบัน หน่วยในระบบ SI ของประจุ เรียกว่า Coulomb มีสัญลักษณ์เป็น C ถ้าประจุจัดเป็น Coulombs, แรงเป็น Newtons และระยะทางเป็น meters, ค่า  kc = 8.99 x 109 N-m2/C2

    ในบางครั้งนักเรียนจะเห็นกฎคูลอมบ์เขียนอยู่ในเทอมของค่าที่่ ซึ่งเรียกว่า สภาพยอมของอวกาศอิสระ ซึ่งเป็นค่าคงที่ที่บอกว่า สนามไฟฟ้าที่เกิดจากประจุมีความสามารถในการผ่านอวกาศได้ง่ายหรือยาก

                โดยที่ ค่าคงที่ = 8.854 x 10-12 C2/(N-m2)

คราวนี้มาลองดูการนำกฎของคูลอมบ์ไปประยุกต์ใช้กันบ้าง

    1.  เมื่อนักเรียนนำวัตถุมารวมกัน?
    ถ้านักเรียนนำลูกบอลไม้สองลูกให้อยู่ห่างกัน 1 เมตร และทำการใส่ประจุให้ลูกบอลไม้ทั้งสองเป็น 1
    Coulomb โดยลูกบอลไม้ที่หนึ่งเป็นประจุบวกและลูกบอลไม้ที่สองเป็นประจุลบ แต่โจทย์ต้องการใหนักเรียนถือมันไว้ให้ห่างกัน 1 เมตร ถามว่าแรงดึงมีค่าเป็นเท่าไร ?

           

นั่นคือ นักเรียนต้องการใช้แรง 8.99 x 109 Newtons เพื่อยึดให้ลูกบอลไม้ทั้งสองอยู่ห่างกันอย่างนี้

2. คำนวณหาอัตราเร็วของอิเล็กตรอน
นักเรียนสามารถเห็นความสัมพันธ์ระหว่างแรงไฟฟ้าสถิตและแรงสู่ศูนย์กลาง โดยมองดูวงโคจรของอิเล็กตรอน และจินตนาการว่านักเรียนนั่งอยู่รอบ ๆ นักเรียนรู้มาแล้วว่า แต่ละอะตอมของไฮโดรเจนถูกสร้างขึ้นโดยมีอิเล็กตรอนหนึ่งตัวโคจรเป็นวงกลมรอบโปรตอน 1 ตัวเกิดคำถามว่า อิเล็กตรอนวิ่งพุ่งรอบ ๆ โปรตอนเร็วเท่าไร ?
เฉลย (click)

        นักเรียนต้องรู้ว่าแรงไฟฟ้าสถิตระหว่างอิเล็กตรอนและโปรตอน และสมมุติให้อิเล็กตรอนโคจรเป็นวงกลมรอบ ๆ โปรตอน, แรงไฟฟ้าสถิตย์เท่ากับแรงสู่ศูนย์กลาง

     

    มวลของอิเล็กตรอนเป็น 9.11 x 10-31 kg
    รัศมีของวงโคจรเป็น 5.29 x 10-11 m

    นักเรียนรู้ว่า แรงระหว่างอิเล็กตรอนและโปรตอนมีค่าเท่ากับแรงสู่ศูนย์กลาง

    นักเรียนลองคิดดูว่า อัตราเร็ว = 2.18 x 106 เมตรต่อวินาที นั่นก็คือ เข้าใกล้ 1% ของอัตราเร็วแสง ! อย่าเพิ่งเบื่อนะนักเรียนตัวอย่างสุดท้ายแล้ว

3. มองหาแรงระหว่างประจุมากกว่าสองประจุ ?
ปัญหาโดยทั่วไปแล้วมักจะมีจำนวนประจุมากกว่าสองประจุเสมอ ดังนั้นนักเรียนต้องใช้เวกเตอร์
( vectors ) เพื่อหาแรงสุทธิบนประจุไฟฟ้าใด ๆ ถ้านักเรียนมีประจุ 3 ประจุ ดังรูป (click)
F
1
เป็นแรงบนประจุ Q  เนื่องจาก ประจุลบ Q1 F2 เป็นแรงบนประจุ Q  เนื่องจาก ประจุลบ Q2
แรง F1 และ F2 รวมกันได้ Fสุทธิ 
สมมุติว่า Q1 = Q2 = -1.0 x 10-18 C, Q = 3.0 x 10-18 C ถามว่า Fสุทธิ มีค่าเท่าไร ?

นักเรียนรู้ว่าขนาด F1 = F2 ดังนั้น แรงสุทธิ, Fnet  = 2F1cos (45 0) =F1
จากทฤษฏี พิธากอรัส ( Pythagorean theorem ) รู้ว่า = 45 0 ถามว่าขนาด F1 = ?


    F
    สุทธิ   = 2F1cos (45 0) = F1 = 1.27 x 10-4 N
    ขนาดของแรงสุทธิบนประจุ +Q เกิดจากผลรวมเวกเตอร์มีค่าเท่ากับ 1.27 x 10-4 N

     

 จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2550

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com

จัดทำโดย ครูสุทธิรัตน์  ศรีสงคราม  ครูกลยุทธ  ทะกอง  ครูนิรมล  เสือเขียว
ภาควิชาฟิสิกส์  มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
Copyright (c) Faculty of Science Naresuan University All rights reserved.