img1.gif

ศักย์ของตัวนำ

  

Homeผู้จัดทำPretestไฟฟ้าสถิตประจุไฟฟ้ากฎของคูลอมบ์สนามไฟฟ้า,จุดสะเทินEletrostaticsสนามไฟฟ้างานเคลื่อนประจุศักย์ของตัวนำการใช้ประโยชน์Postest

 

 

    ตัวนำไฟฟ้า พิจารณารูป (click)  รูป 1 ตัวนำที่มีรูปร่างผิดปกติ โดยมีโพรงภายใน, เมื่อตัวนำถูกทำให้มีประจุไฟฟ้าแล้ว ประจุจะแผ่กระจายด้วยตัวมันเองบนผิวภายนอก สนามไฟฟ้าใกล้ตัวนำจะตั้งฉากกับผิวภายนอก สนามไฟฟ้าหายไปภายในตัวนำและภายในโพรง จากรูป 1 สมมุติว่าตัวนำนี้มีประจุไฟฟ้า Q เกิดคำถามว่า ประจุแผ่กระจายด้วยตัวของมันเองได้อย่างไร? สนามไฟฟ้าที่เกิดโดยตัวนำที่มีประจุมีลักษณะอย่างไร ? คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่ยาก แต่อย่างไรก็ตาม มีสมบัติบางอย่างที่ถูกประจุและง่ายง่ายต่อการอธิบาย มีดังต่อไปนี้

    1. สมมุติว่า จุดสองจุดบนตัวนำมีศักย์ไฟฟ้าแตกต่างกันแล้ว ประจุจะไหลจากบริเวณศักย์สูงไปยังบริเวณศักย์ต่ำ ประจุไหลอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งทุก ๆ จุดบนตัวนำเป็นศักย์ตัวเดียวกัน ดังนั้น ประจุบนตัวนำจะแผ่กระจายด้วยตัวมันเองไปในวิถีทางที่ทำให้ทุก ๆ จุดบนผิวตัวนำ เป็นค่าศักย์ไฟฟ้า v เดียวกัน
    2. สนามไฟฟ้าภายในต้องหายไป มิฉะนั้นแล้ว มันจะเป็นสาเหตุให้ประจุเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ หรือไป ๆ มา ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สนามไฟฟ้าต้องหายไปภายในอวกาศ ( โพรง ) ใด ๆ ภายในตัวนำ สนามไฟฟ้าของประจุบนตัวนำทั้งหมดต้องอาศัยบนผิวนอกของตัวนำ ยิ่งไปกว่านั้นสนามไฟฟ้า ณ จุดหนึ่ง ข้างนอกผิวตัวนำจะชี้ในทิศทางที่ตั้งฉากกับผิว ณ จุดนั้น

     

 จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2550

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com

จัดทำโดย ครูสุทธิรัตน์  ศรีสงคราม  ครูกลยุทธ  ทะกอง  ครูนิรมล  เสือเขียว
ภาควิชาฟิสิกส์  มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
Copyright (c) Faculty of Science Naresuan University All rights reserved.