กล้วย

Home ผู้จัดทำ หน้าที่1 หน้าที่2 หน้าที่3 หน้าที่4 หน้าที่5
หน้าที่6 หน้าที่7 หน้าที่8 หน้าที่9 หน้าที่10

กล้วยเป็นไม้ผลเขตร้อน ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลสุกนอกจากจะใช้รับประทานเป็นผลไม้แล้ว ยังสามารถนำมาปรุงอาหารคาวหวาน และแปรรูปเป็นผลิต ัณฑ์อาหารแปรรูปชนิดต่าง ๆ อีกหลายชนิด ได้แก่ กล้วยตาก ท๊อปฟี่ กล้วยทอด กล้วยบวชชีกระป๋อง กล้วยในน้ำเชื่อมกระป๋อง เป็นต้น ใบตองสดสามารถนำไปใช้ห่อของ ทำงานประดิษฐ์ศิลปต่าง ๆ ได้แก่ กระทง บายศรี ใบตองแห้งใช้ทำกระทงใส่อาหาร และใช้ห่อผลไม้ เพื่อให้มีผิวสวยงามและป้องกันการทำลายของแมลงก้านใบและกาบกล้วยแห้งใช้ทำเชือก กาบสดใช้สำหรับการแทงหยวกประกอบเมรุในการฌาปนกิจศพ หัวปลี (ดอกกล้วยน้ำว้า) ยังใช้รับประทานแทนผักได้ดีอีกด้วย สำหรับคุณค่าทางอาหาร กล้วยเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินเอ เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำอีกทั้งปลูกแล้วดูแลรักษาง่ายให้ผลผลิตเร็ว และเจริญเติบโตได้ดีในทุก าคของประเทศไทย รวมทั้งตลาดยังมีความคล่องตัวสูงทั้งตลาด ายในประเทศและตลาดส่งออก กล้วยจึงเป็นไม้ผลที่เกษตรกรควรพิจารณาปลูกเป็นการค้าทั้งในลักษณะพืชหลักหรือแซมพืชอื่น ๆ เป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง กล้วยเป็นไม้ผลสารพันประโยชน์ที่ปลูกได้ง่าย นิยมปลูกในขณะที่สร้างบ้านเสร็จแล้วใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดร่มเงารอบ ๆ บ้านโดยเร็ว และยังจะเป็นการให้ร่มเงากับไม้ผลชนิดอื่น ๆ ที่เจริญเติบโตช้ากว่าด้วย กล้วยเป็นพืชที่โตเร็วและดูแลรักษาได้ง่าย เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีโรคและแมลงรบกวนเลย อีกทั้งยังไม่มีปัญหาในเรื่องการออกดอกติดผล การนำไปใช้ประโยชน์ ใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน เป็นพืชที่ให้ร่มเงาได้ดีจึงช่วยทำให้เกิดความร่มเย็นและความชุ่มชื้น ายในบริเวณบ้าน แต่มีข้อเสียตรงที่ต้องมีการปลูกใหม่ทุกๆ ๒ - ๓ ปี เพราะโคนต้นมักจะลอยทำให้โค่นล้มได้ง่าย และควรมีการค้ำยันต้นเมื่อต้นกล้วยมีการตกเครือ เพราะหากไม่ค้ำยันให้แล้วต้นอาจโค่นล้มได้ง่าย เนื่องจากน้ำหนักเครือกล้วยเป็นตัวถ่วง โดยทั่วไปกล้วยที่นิยมปลูกกันมีทั้งกล้วยหอม กล้วยน้ำว้า และกล้วยหักมุกแต่ไม่นิยมปลูกกล้วยไข่เพราะต้องการการดูแลรักษามาก กล้วยน้ำว้าเป็นพืชที่คนส่วนใหญ่รู้จักดีมากที่สุด เพราะสามารถใช้ทุกส่วนของต้น ผลสามารถใช้รับประทานผลสุกและประกอบอาหารได้มากชนิด รวมทั้งผลิต ัณฑ์สามารถส่งขายทั้ง ายในประเทศและต่างประเทศ ถ้าหากมีการปรับปรุงคุณ าพให้ดีกว่าเดิม และมีการเพิ่มปริมาณผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จะสามารถทำรายได้ให้ประเทศได้มากขึ้น กล้วยไข่ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร นำรายได้มาสู่จังหวัดเป็นมูลค่าปีละ ได้ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ล้านบาท และกลายมาเป็นพืชสัญญลักษณ์ของจังหวัด และสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัด กำแพงเพชร โดยเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีเทศกาลเดือน ๑๐ เรียกว่า "งานสารทไทยกล้วยไข่เมือง กำแพงเพชร" กล้วยไข่ ที่ปลูกในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการยอมรับจากผู้ที่เคยบริโ คว่ามีรสหวานเนื้อในนุ่ม ตลอดทั้งผล เนื่องเพราะแกนในของกล้วยไม่กระด้าง ทำให้เกิดความกลมกลืนกับรสชาติที่หวานของกล้วยไข่ ขณะรับประทาน จึงเป็นที่นิยมบริโ คผลไม้ตามฤดูกาลโดยทั่วไป และผู้บริโ คมักจะนิยมบริโ คกล้วยไข่ พร้อมกระยาสารท นัยว่าจะยิ่งเพิ่มรสชาติยิ่งขึ้น เกษตรกรจะปลูกกล้วยไข่ในช่วงประมาณ เดือนสิงหาคม - กันยายน โดยใช้หน่อ ในปีแรก (ส่วนในปีที่ ๒ และปีที่ ๓ จะเป็นกล้วยที่ได้จากหน่อที่แตกจากต้นเดิม) หากจะล่าช้าออกไปก็จะไม่เกินเดือนตุลาคม เนื่องจากต้องอาศัยน้ำฝน เพื่อให้กล้วยเจริญเติบโต และหลีกเลี่ยงไม่ให้กล้วยไข่ตกเครือในช่วงฤดูแล้ว จะทำให้กล้วยผลเล็ก ถูกแสงแดดเผามาก เพราะจะทำให้ บริเวณก้านเครือแห้ง หรือหักได้ง่าย การปลูกกล้วยไข่ เกษตรกรจะต้องคอยดูแลกำจัดวัชพืชบริเวณใต้ ลำต้นไว้เสมอ จึงจะทำให้กล้วยเจริญดี การตัดกล้วยไข่ จะไม่ปล่อยให้กล้วยไข่สุกคาต้น เพราะจะทำให้เสียรสชาติ ผลกล้วยจะแตกและมีสีผิวไม่นวลเหมือนวิธีบ่ม ผลผลิตกล้วยไข่ จะเริ่มออกสู่ตลาด ตั้งแต่เดือนกรกฏาคม และจะออกสู่ตลาดมากที่สุด ในช่วงเดือน กันยายน - ตุลาคม การซื้อขาย จะใช้หน่วย "ตั้ง" เป็นเกณฑ์ กล้วยไข่ ๑ ตั้ง หมายถึง กล้วยไข่หวีที่มีผลสมบูรณ์ ๖ หวี ในแต่ละเครือ หากในแต่ละเครือ มีผลไม่สมบูรณ์ทั้ง ๖ หวี ก็นำกล้วยไข่เครืออื่นมานับรวมให้ครบ ๖ หวี เท่ากับ ๑ ตั้ง กล้วยไข่ ๒ หวี ที่อยู่ปลายเครือ ซึ่งมักจะมีผลเล็ก ไม่สมบูรณ์จะเรียกว่า "กล้วยหมอน" และ "กล้วยก้อย" หากมีพ่อค้ามาเหมากล้วยไข่ ยกไร่กล้วย หมอนและกล้วยก้อยจะเป็นของแถมให้พ่อค้านับเป็นกำไรส่วนเกินของพ่อค้า บางครั้งเกษตรจะชำแหละออกมาขายเหมาเข่ง เรียกว่า กล้วยเข่ง แหล่งเพาะปลูกกล้วยไข่ที่สำคัญในจังหวัดกำแพงเพชร คือ อำเ อเมืองกำแพงเพชร อำเ อไทรงาม อำเ อคลองขลุง และอำเ อ พรานกระต่าย อำเ ออื่นๆ ปลูกไม่แน่นอน นอกจากตลาดบริโ ค ายในประเทศแล้ว กล้วยไข่ยังเป็นสินค้าออก ทางเกษตรอีกด้วยตลาดกล้วยไข่ ในต่างประเทศที่สำคัญ คือ ตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เด็นมาร์ก บัตตาเรีย และแคนนาดา

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com