กล้วย

Home ผู้จัดทำ หน้าที่1 หน้าที่2 หน้าที่3 หน้าที่4 หน้าที่5
หน้าที่6 หน้าที่7 หน้าที่8 หน้าที่9 หน้าที่10

="center">
สถานการณ์ทั่วไป กล้วยน้ำว้าเป็นพืชที่คนส่วนใหญ่รู้จักดีมากที่สุด เพราะสามารถใช้ทุกส่วนของต้น ผลสามารถใช้รับประทานผลสุกและประกอบอาหารได้มากชนิด รวมทั้งผลิต ัณฑ์สามารถส่งขายทั้ง ายในประเทศและต่างประเทศ ถ้าหากมีการปรับปรุงคุณ าพให้ดีกว่าเดิม และมีการเพิ่มปริมาณผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จะสามารถทำรายได้ให้ประเทศได้มากขึ้น

ลักษณะทั่วไปของพืช กล้วยน้ำว้าเป็นพืชล้มลุกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 2-5 เมตร ชอบอากาศร้อนชื้นและอบอุ่น อุณห ูมิที่เหมาะไม่สมควรต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส อุณห ูมิที่ต่ำทำให้กล้วยแทงปลี(การออกดอก) ช้า ควรมีความชื้นสัมพัทธ์อย่างน้อย 60% ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 200-220 มม./เดือน ส่วนดินที่เหมาะสมควรเป็นดินที่มีความสมบูรณ์ การระบายน้ำดี และหมุนเวียนอากาศดี มีความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 4.5-7 แต่ที่ดีควรอยู่ในระดับ 6 ซึ่งจะพบทั่วๆไป ในพื้นที่แถบเอเชีย แต่ถ้าพื้นที่นั้นมีอากาศร้อนยาวนาน แต่มีการชลประทานที่ดี คือ มีน้ำสม่ำเสมอจะสามารถปลูกกล้วยได้ดี และให้ผลผลิตสม่ำเสมอ กล้วยน้ำว้าจะใช้ระยะเวลาการปลูกถึงเก็บเกี่ยวผลใช้ระยะเวลาประมาณ1 ปี จำนวน 10 หวี/เครือ ตั้งแต่ปลูกจนถึงแทงปลีใช้ระยะเวลา 250-260 วัน แทงปลีถึงระยะเก็บเกี่ยว 110-120 วัน
พื้นที่ส่งเสริม ชุมพร เลย ระนอง นครราชสีมา และหนองคาย พื้นที่ปลูก ปี 2538 ปี 2540 (ประมาณการ) พื้นที่ปลูกรวม 731,006 ไร่ 732,000 ไร่ พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 597,796 ไร่ 598,000 ไร่ ยังไม่ให้ผลผลิต 133,210 ไร่ 134,000 ไร่ พื้นที่ส่งเสริม ชุมพร เลย ระนอง นครราชสีมา และหนองคาย พันธุ์ส่งเสริม ต้นทุนการผลิต/ไร่ ปีแรกที่เริ่มปลูก 2,500 บาท/ไร่ ปีที่ให้ผลผลิตเต็มที่แล้ว 2,000 บาท/ไร่ ผลผลิต ปี 2539 2540 (ประมาณการ) ผลผลิตรวมทั้งประเทศ (2535) 1,180,465 ตัน 1,185,000 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย/ไร่ 1,974 กก./ไร่ 1,982 กก./ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 3.27 บาท/กก. 3.25 บาท/กก. ปริมาณการใช้ ายในประเทศ 1,180,465 ก.ก 1,185,000 บาท ปริมาณการส่งออก ปริมาณและมูลค่าการนำเข้า
การปลูก วิธีการปลูก 1. ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน 2. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 ซม. 3. ผสมดินปุ๋ยคอกเล็กน้อย วางหน่อกล้วยลงในหลุม 4. กลบดินที่เหลือลงในหลุม 5. กดดินบริเวณโคนหน่อกล้วยให้แน่น 6. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมโยก 7. หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่นฟางข้าว หญ้าแห้ง 8. รดน้ำให้ชุ่ม ระยะปลูก 2.5 x 3 เมตร , 2.5 x 2.5 เมตร จำนวนต้น / ไร่ จำนวนต้นเฉลี่ย 200 ต้น / ไร่ , 250 ต้น/ไร่ การดูแลรักษา การใส่ปุ๋ย - ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ 15- 15-15 อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 4 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 ใส่หลังปลูก 1 สัปดาห์ ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน ครั้งที่ 3 ใส่หลังจากครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน ครั้งที่ 4 ใส่หลังจากครั้งที่ 3 ประมาณ 3 เดือน
การให้น้ำ - ปริมาณของน้ำนั้นขึ้นอยู่กับส าพพื้นที่ ความชุ่มชื้นของดิน ปริมาณลมที่พัดผ่าน จะทำให้การคายน้ำมาก จึงไม่ควรปล่อยให้ผิวหน้าดินแห้งติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากรากจะหาอาหารอยู่บริเวณผิวดิน จะทำให้หยุดชะงักการเจริญเติบโต การปฏิบัติอื่นๆ - การตัดแต่งหน่อ หลังจากปลูกประมาณ 3 - 4 เดือน จะมีหน่อขึ้นมารอบๆ โคน ให้ตัดไปเรื่อยจนกว่าจะเริ่มออกปลี จากนั้นก็ให้ไว้สัก 1 - 2 หน่อ โดยหน่อที่ 1 และ ที่ 2 ควรมีอายุห่างกันประมาณ 4 เดือน เพื่อให้ผลกล้วยมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเลือกหน่อที่อยู่ในทิศทางที่ตรงกันข้าม - การตัดแต่งใบ ควรทำการตัดแต่งช่วงที่ต้นเริ่มโตจนถึงเก็บเกี่ยว โดยเลือกใบแก่และใบที่เป็นโรคออก ตัดให้เหลือประมาณ 7 - 12 ใบ เพื่อป้องกันต้นกล้วยโค่นช่วงออกปลี เพื่อใช้ใบปรุงอาหาร และเพิ่มความเจริญเติบโตของผลกล้วย
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช - โรคใบจุด ป้องกันโดยนำไปเผา หรือใช้สารเคมีคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือสารป้องกันกำจัดเชื้อรา แมนโคเซบ หรือเบนโนมิล - ด้วงงวง ป้องกันโดยใช้สารเคมีประเ ทดูดซึม เช่นโตฟอส - หนอนม้วนใบกล้วย ป้องกันโดยใช้สารเคมีคลอไพลิฟอส - แมลงวันผลไม้ ใช้สารล่อแมลง สารเมธิลยูลินอลผสมสารฆ่าแมลงล่อทำลายแมลงวันเพศผู้หรือ ใช้สารฆ่าแมลงมาลาไธออน หรือ ไดเมทโทเอท
ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษา ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. -ให้น้ำสม่ำเสมอ -เก็บเกี่ยวผลผลิต -ปลูกโดยใช้หน่อใหม่ -ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-13 หรือ 15-15-15 เป็นระยะทุก 3 เดือน -เริ่มออกปลี-ตัดปลีทิ้งเมื่อ หรือเลี้ยง - กำจัดวัชพืช ปลีบานถึงหวี หน่อจาก - ปาดหน่อทุก 15 - 30 วัน ตีนเต่า กอเดิม - ให้น้ำสม่ำเสมอ - พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงตามความจำเป็น
การจัดการก่อนเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวกล้วยระยะใดขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการขนส่ง หากขนส่งไปขายไกลๆ อาจตัดกล้วยเมื่อ ความแก่ประมาณ 75 % การดูลักษณะความอ่อนแก่ของกล้วย อาจดูจากลักษณะผล เช่น ดูขนาดลูกกล้วย เหลี่ยมกล้วย หรือใช้วิธีการนับอายุจากวันแทงปลี หรือวันตัดปลี ในการตัดจะต้องพิจารณาถึงต้นสูงหรือเตี้ย ถ้าสูงก็ให้ตัดบริเวณโคนต้น เพื่อให้ต้นเอียงลงมา โดยให้อีกคนหนึ่งจับหรือรับเครือกล้วยไว้ จะต้องเหลือก้านให้ยาวพอสมควร ก็ให้นำไปยังโรงเรือนคัดบรรจุต่อไป การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว - นำเครือกล้วยแขวนไว้บนราว ปล่อยให้ยางไหลจนแห้ง - ทำความสะอาดลูกผล หรือบริเวณปลายผลที่มีกลีบแห้งติดอยู่ออกให้หมด - ชำแหละเครือกล้วยออกเป็นหวีๆ อย่างระมัดระวัง อย่าให้รอยตัดช้ำ - คัดเลือกผลที่มีรอยตำหนิ หวีที่ไม่ได้ขนาดออก - จุ่มในน้ำผสมสารไธอาเบนดาโซล แล้วผึ่งลมหรือเป่าให้แห้ง - บรรจุหีบห่อ/บรรจุลงเข่ง โดยมีใบตองรอง เพื่อป้องกันบอบช้ำ
แนวทางส่งเสริม 1. ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มปรับปรุงคุณ าพผลผลิต 2. สนับสนุนให้มีการแปรรูปให้เป็นผลิต ัณฑ์ชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้น 3. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้ทั่วถึง
ปัญหาอุปสรรค 1. เทคโนโลยีการผลิตไม่ทั่วถึง 2. พื้นที่ปลูกยังกระจัดกระจายอยู่ 3. วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวยังไม่ทั่วถึง
รายชื่อเจ้าของสวน 1. นายจักรกฤษณ์ แสงจันทร์ 80 ม.1 ต.เพ็ญ อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี ( 2,000 ต้น 10 ไร่ ) 2. นายกมล จันทร์ชุ่ม 207 ม.5 ต.นาแท้ อ.คำตากล้า จ.สกลนคร ( 1,00 ต้น 5 ไร่ ) 3. นายสด มุ่งชอบกลาง 20 / 2 ม.7 ต.ถนนโพธิ์ กิ่งอ.โนนไทย จ.นครราชสีมา ( 400 ต้น 4 ไร่ ) 4. นายสุวรรณ สลับศรี 55 ม.7 ต.ป่าไร่ อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร ( 1,000 ต้น 5 ไร่ ) 5. นายคอย คำมีมูล 198 ม.3 ต.ทำนง อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com