กล้วย

Home ผู้จัดทำ หน้าที่1 หน้าที่2 หน้าที่3 หน้าที่4 หน้าที่5
หน้าที่6 หน้าที่7 หน้าที่8 หน้าที่9 หน้าที่10

="center">กล้วย Bananas ................................................................................................................................................ เบญจมาศ ศิลาย้อย  าควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนไทยรู้จักกล้วยกันมาตั้งแต่เริ่มมีการก่อตั้งประเทศไทย เพราะประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นแหล่งกำเนิดกล้วย จึงมีกล้วยป่า และกล้วยปลูกอยู่ทั่วไป คนไทยจึงรู้จักการใช้ ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของกล้วยเป็นอย่างดี การปลูกกล้วย ในสมัยโบราณเป็นการปลูกเพื่อไว้ใช้สอย ายในบ้าน ต่อมาเริ่ม มีการค้าขายผลไม้ กล้วยเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีการปลูกขายกัน มาตั้งแต่สมัยอยุธยา การปลูกรวบรวมพันธุ์เพื่อการศึกษานั้น ได้มีการเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2498 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการรวบรวมพันธุ์ไว้ ที่สถานีวิจัยบางกอกน้อย โดย อาจารย์อรุณ ทรงมณี อาจารย์ คณะกสิกรรมและสัตวบาล หลวงสมานวรกิจ อดีตคณบดีคณะ กสิกรรมและสัตวบาล และ ศาสตราจารย์โชติ สุวัตถิ อดีต คณบดีคณะประมง ได้ทำการรวบรวมและศึกษาในเรื่องของ กล้วย รวมทั้ง ศาสตราจารย์ อินทรีย์ จันทรสถิตย์ อดีต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้มีความสนใจในเรื่อง พันธุ์ของกล้วย แต่ในการรวบรวมในครั้งนั้นไม่มีรายงานที่ชัด เจน และพันธุ์ที่รวบรวมไว้ได้สูญหายไปในเวลาต่อมา ในปี พ.ศ. 2510 ศาสตราจารย์วัฒนา เสถียรสวัสดิ์ และ ศาสตราจารย์ปวิณ ปุณศรี แห่ง าควิชาพืชสวน ได้รับทุน สนับสนุนจากส าวิจัยแห่งชาติ ในการรวบรวมพันธุ์กล้วยใน ประเทศไทย การรวบรวมในครั้งนั้นได้ประมาณ 125 สาย พันธุ์ รวมทั้งพันธุ์จากต่างประเทศด้วย พันธุ์ที่รวบรวมได้ ได้ปลูกไว้ที่สถานีฝึกนิสิตเกษตร ปากช่อง (สถานีวิจัยปาก ช่องในปัจจุบัน) ต่อมาเนื่องจากขาดแคลนทุนทรัพย์ กล้วย ส่วนใหญ่ได้สูญหายไป ในการรวบรวมพันธุ์ครั้งนั้น ได้ทำ การศึกษาถึง การปลูก ระยะปลูก การให้ปุ๋ย การปลูกพืชบังลม และการศึกษาอนุกรมวิธานของกล้วยโดยวิธีทางไซโตและ สัณฐานวิทยา ด้วย ปี พ.ศ. 2523 - 2526 เบญจมาศ ศิลาย้อย และ ฉลองชัย แบบประเสริฐ แห่ง าควิชาพืชสวน ได้รับทุน วิจัยจาก IBPGR/FAO ในการรวบรวมเชื้อพันธุกรรมกล้วย ในประเทศไทย การรวบรวมพันธุ์ได้รวบรวมทั้งกล้วยป่าและ กล้วยปลูก ตามแนวเขตเศรษฐกิจของประเทศ ได้ 323 สาย พันธุ์ และเมื่อทำการจำแนกชนิดแล้ว พบว่า มี 53 พันธุ์ หลัง จากนั้นได้มีผู้ช่วยทำการสำรวจและรวบรวมเพิ่มขึ้นคือ กวิศร์ วานิชกุล และ กัลยาณี สุวิทวัส จนกระทั่งปัจจุบันได้ 71 พันธุ์ พันธุ์ที่รวบรวมได้ ได้เก็บรักษาไว้ที่สถานีวิจัยปากช่อง อำเ อปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และรวบรวมไว้โดยวิธี เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ าควิชาพืชสวน คณะเกษตร วิทยาเขต บางเขน งานวิจัยในเรื่องกล้วยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากเรื่องการรวบรวมพันธุ์ การจำแนกพันธุ์แล้ว ยังได้มีการ ทดลองนำเข้ากล้วยที่ขายในตลาดต่างประเทศเพื่อนำมาทดลอง ปลูกในประเทศไทย ในการส่งเสริมให้มีการปลูกเพื่อส่งออก ให้มากขึ้น ในเรื่องของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยพันธุ์ต่าง ๆ โดยการหาสูตรอาหารที่เหมาะสมกับกล้วยพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อ ให้เกิดหน่อที่สมบูรณ์มากและเร็ว การทดสอบและเปรียบเทียบ ศักย าพของกล้วยพันธุ์การค้าที่ขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อในแหล่งปลูกต่าง ๆ ในประเทศไทย การพัฒนาพันธุ์และ การผลิตกล้วยหอมโดยวิธีเทคโนโลยีชีว าพ การชักนำให้เกิด แคลลัสในกล้วย การเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมกล้วยในส าพปลอด เชื้อ ผลของยีโนม กล้วยที่มีต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย การ ศึกษาโครโมโซมของกล้วย ลักษณะทางสัณฐานบางประการของ กล้วยที่มีจำนวนโครโมโซมต่างกัน คุณค่าทางอาหารของกล้วย ได้มีการศึกษาคุณค่าทางอาหาร ของกล้วยไม่ต่ำกว่า 10 พันธุ์ มีการศึกษาสารที่มีประโยชน์จาก เปลือกกล้วย การแปรรูปกล้วยให้เป็นอาหารที่เก็บได้นาน เช่น การ ทำกล้วยตาก กล้วยกวน ท๊อฟฟี่กล้วย การบรรจุกระป๋อง เช่น กล้วย บวชชี กล้วยน้ำว้าในน้ำเชื่อม แกงเหลืองหยวกกล้วย ซึ่งสามารถเก็บ ไว้ได้นาน และส่งออกขายต่างประเทศได้อีกด้วย นอกจากนี้ได้มีการ แปรรูปกล้วยเป็นแป้งกล้วย (banana flour) และกล้วยผง (banana powder) การทำเครื่องดื่มจากกล้วย เช่น การทำ น้ำกล้วย (banana juice) มีการทำไวน์กล้วยจาก กล้วยหอมทอง กล้วยหอมแกรนด์เนน กล้วยน้ำว้า และกล้วยไข่ นอกจากการแปรรูปจากผลผลิตแล้ว ได้มีการนำใบตองมาทำเป็น  าชนะทดแทน าชนะพลาสติก และโฟม เพื่อใช้ในการบรรจุ อาหารชั่วคราว เพื่อลดปัญหาขยะและมล าวะทางอากาศ พบว่า ใบตองของกล้วยน้ำว้าดำ และกล้วยหอมเขียว ให้คุณสมบัติดี และแข็งแรง ส่วนลำต้นเทียมที่อยู่เหนือดินของกล้วย นำมาทำ กระดาษประเ ทกระดาษสาได้คุณ าพที่ดี ในเรื่องของการปรับปรุงพันธุ์กล้วย ได้ทดสอบความมีชีวิตของ ละอองเกสรกล้วย เพื่อนำประโยชน์มาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ พบว่า ละอองเกสรกล้วยส่วนใหญ่มีชีวิตสั้น และไม่ค่อยมีชีวิต ดังนั้น ในการปรับปรุงพันธุ์ส่วนใหญ่จึงศึกษาในเรื่องของการปรับ ปรุงพันธุ์ ด้วยวิธีการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยการใช้สารเคมี และรังสี โดยทำกับต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เช่นทดลอง ใช้รังสีกับกล้วยหอมทอง และกล้วยไข่ เพื่อให้ได้ต้นที่ต้านทานต่อ ใบจุด สำหรับการใช้สารเคมีกับต้นอ่อนกล้วยไข่ ทำให้ได้ต้นกล้วย ที่มีขนาดเตี้ยมาก เหมาะในการทำไม้ประดับกระถาง ได้ตั้งชื่อว่า "เบพ" ซึ่งมหาวิทยาลัยได้จดทะเบียนกล้วยประดับต้นนี้ไว้กับกรม วิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับการใช้รังสี ได้ทดลองใช้กับรังสีแกมมา ได้ต้นกล้วยไข่ที่ไม่ต่างจากเดิม รสชาติเหมือนเดิม แต่ผลกล้วยมีรูปร่างต่างจากเดิมเล็กน้อย กล่าวคือ ผลผอมเรียว ทำให้การจัดเรียงของหวีดีกว่าพันธุ์ปกติ ให้ชื่อว่า "KB2" (Kasetsart Banana no 2) และผลคล้ายเดิม แต่มีขนาดสั้น ก้านยาวขึ้น ให้ชื่อว่า "KB3" ส่วนพันธุ์ที่ไม่ได้ใช้รังสี ได้ผิวของเปลือกเงาขึ้น ได้ให้ชื่อว่า "KB1" ขณะนี้งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการตรวจสอบ DNA ของกล้วย เพื่อหากำเนิดของ พันธุ์กล้วยหลายชนิด และมีการหาวิธีการให้ได้พันธุ์กล้วยน้ำว้า ที่ต้านทานต่อโรคเหี่ยว นอกจากงานวิจัยเกี่ยวกับกล้วยกินได้แล้ว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังได้ทำการศึกษากล้วยประดับ ซึ่ง หมายถึง กล้วยบัว กล้วยกัทลี กล้วยผา กล้วยนวล ด้วย

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com