พันธุศาสตร์ประชากร
       ประชากรหมายถึงกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่รวมกันในพื้นที่หนึ่งๆโดยสมาชิกในประชากรของสิ่งมีชีวิตนั้นสามารถสืบพันธุ์
ระหว่างกันได้และให้ ลูกที่ไม่เป็นหมัน ในประชากรหนึ่งๆจะประกอบด้วยสมาชิกที่มียีนควบคุมลักษณะต่างๆจำนวนมาก ยีนทั้งหมดที่มีอยู่ในประชากรในช่วงเวลาหนึ่งเรียกว่ายีนพูล(genepool)ซึ่งประกอบด้วยแอลลีล(allele)ทุกแอลลีลจากทุกยีน
ของสมาชิกทุกตัวในประชากรนั้นดังนั้นพันธุศาสตร์ประชากร เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีน (gene frequency) หรือการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล( allele frequency) ที่เป็นองค์ประกอบทางพันธุกรรมของประชากร และปัจจัยที่ทำให้ความถี่ของแอลลีลเปลี่ยนแปลง สิ่งที่น่าสนใจคือเราจะศึกษาความถี่ของแอลลีลในประชากรได้อย่างไร

1.การหาความถี่ของแอลลีลในประชากร

       สิ่งมีชีวิตที่เป็นดิพลอยในแต่ละเซลล์มีจำนวนโครโมโซมเพียง 2 ชุด และแต่ละยีนจะมี 2 แอลลีล ดังนั้นถ้าเรารู้จำนวนจีโนไทป์แต่ละชนิดของประชากร เราจะสามารถหาความถี่ของจีโนไทป์ ( genotype frequency) และความถี่ของแอลลีลในประชากรได้จากตัวอย่างดังนี้ในกลุ่มประชากรไม้ดอกชนิดหนึ่งที่ลักษณะสีดอกถูกควบคุมโดย ยีน 2 แอลลีล คือ R ควบคุมลักษณะดอกสีแดงเป็นลักษณะเด่น และ r ควบคุมลักษณะดอกสีขาวซึ่งเป็นลักษณะด้อย ในประชากรไม้ดอก 1,000 ต้น มีดอกสีขาว 40 ต้น และดอกสีแดง 960 ต้น โดยกำหนดให้เป็นดอกสีแดงที่มีจีโนไทป์ RR 640 ต้น และดอกสีแดงมีจีโนไทป์ Rr 320 ต้น ดังแสดงในภาพที่ 19-15



ภาพ ความถี่ของจีโนไทป์และความถี่ของแอลลีลในประชากรไม้ดอก
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/files/u19987/F_Alle.jpg
 
      ดังนั้นในประชากรไม้ดอกนี้จะมีความถี่ของแอลลีล R = 0.8 และความถี่ของแอลลีล r = 0.2 ถ้าประชากรไม้ดอกนี้มีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่าๆกัน นักเรียนคิดว่าความถี่ของแอลลีล และความถี่ของจีโนไทป์ในประชากรรุ่นต่อไปเป็นอย่างไร

.2 ทฤษฎีของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก
       จี เอช ฮาร์ดี ( G.H. Hardy ) และดับเบิลยู ไวน์เบิร์ก ( W. Weinberg ) ได้ศึกษายีนพูลของประชากร และได้แสนอทฤษฎีของฮาร์ดีไวน์เบิร์ก(Hardy–WeinbergTheorem)ขึ้นโดยกล่าวว่าความถี่ของแอลลีล
และความถี่ของจีโนไทป์ในยีนพูลของประชากรจะ มีค่าคงที่ในทุกๆรุ่น ถ้าไม่มีปัจจัยบางอย่างมาเกี่ยวข้อง
เช่น มิวเทชัน การคัดเลือกโดยธรรมชาติ การอพยพ แรนดอมจีเนติกดริฟท์ (random genetic drift) และการถ่ายเท
เคลื่อนย้ายยีน ( gene flow) เป็นต้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวก็จะได้ศึกษาในหัวข้อต่อไปเราสามารถทฤษฎีของ ฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก ได้จากตัวอย่างประชากรไม้ดอกในภาพที่ 19-15 พบว่ายีนพูลของประชากรรุ่นพ่อแม่นั้นมีความถี่ของแอลลีล R = 0.8 และ r = 0.2 ถ้าสมาชิกทุกต้นในประชากรมีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่าๆกันแล้วเซลล์สืบพันธุ์เพศ ผู้ และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียที่มีแอลลีล R มีความถี่ = 0.8 และ r มีความถี่ = 0.2 เมื่อมีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์ ประชากรไม้ดอกในรุ่นลูกจะมีจีโนไทป์ดังแสดงในภาพที่ 19-16


ภาพ ปริมาณจีโนไทป์ต่าง ๆ ในประชาการที่มีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่ากัน
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/files/u11793/23.png