1. การคัดเลือกโดยธรรมชาติ
       2. การผ่าเหล่า (mutation) และการแปรผันทางพันธุกรรม
       3. การอพยพและการเคลื่อนย้ายประชากร
       4. ขนาดของประชากร
       5. รูปแบบของการผสมพันธุ์

1. การคัดเลือกโดยธรรมชาติ
       ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ความสามารถในการสืบพันธุ์จะเพิ่มจํานวนได้สูงมาก หากไม่มีปัจจัยที่จํากัดการเพิ่มจํานวนแล้ว สิ่งมีชีวิตทั้งหลายคงจะล้นโลก
แต่ตามที่เป็นจริง จํานวนของสิ่งมีชีวิตค่อนข้างจะคงที่ เนื่องจากกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection)
ซึ่งอาศัยหลักเกณฑ์พื้นฐานว่าจะไม่มีลักษณะทางกรรมพันธุ์ชุดเดียวที่เหมาะสมต่อสภาพความเป็นอยู่
ของสิ่งมีชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่อาศัย ฉะนั้นการคัดเลือกโดยธรรมชาติจึงต้องมีปัจจัยสําคัญ คือ ความสามารถในการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการถ่ายทอดลักษณะแตกต่าง
ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตนั้นต้องอยู่ใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมผลของการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
จะได้สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะสปีชีส์เดียวกันที่มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดทางกรรมพันธุ์ ซึ่งเรียกว่าโพลีมอร์ฟิซึม
(polymorphism)
      ตัวอย่างเช่น  สีและลวดลายบนเปลือกหอย :หอยชนิด Cepaea memorials เปลือกมีสีเหลือง นํ้าตาลชมพู ส้มแดง และยังมีชนิดที่มีลวดลาย
เป็นเส้นพาดไปตามเปลือก จากการศึกษาพบว่าในแหล่งที่อยู่ที่มีลักษณะเรียบๆ เช่น บริเวณโคลนตมหรือทรายจะพบหอที่มีลักษณะเปลือกเป็น
สีเรียบๆมากกว่าลักษณะอื่นๆส่วนในป่าหญ้าจะพบว่ามีหอยที่เปลือกลายมากกว่าลักษณะอื่นแต่ในที่บางแห่งก็พบ
หอยทั้งเปลือกมีลาย
และหอยเปลือกสีเรียบอยู่ในที่เดียวกันซึ่งพบว่าหอยเปลือกสีเรียบมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
ได้ดีกว่าหอยเปลือกลาย ดังนั้นนอกจากความสัมพันธ์ของเหยื่อและผู้ล่าแล้ว ยังน่าจะเกี่ยวข้องกับการปรับตัวทางสรีระอีกด้วย




ภาพ หอย Cepaea memorials ที่มีลายเปลือกต่างกัน
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/files/u19987/Cepaea_nemoralis_.jpg
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/files/u19987/Cepaea_nemoralis_2.jpg

 

      สีของผีเสื้อกลางคืน ผีเสื้อกลางคืนชนิด Bristom betularia ซึ่งมีอยู่มากในประเทศอังกฤษอาศัยอยู่ตามต้นไม้ที่มีไลเคนส์เกาะอยู่เต็ม สีตัวของมันจึงเป็นสีอ่อนจางซึ่งช่วยใ
ห้มันอําพรางตัวได้ดี
จนกระทั่งประมาณปี 1845 ซึ่งเป็นช่วงปีที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในเขตเมือง จะมีเขม่าควันจากปล่องควันของโรงงานอุตสาหกรรมฟุ้งกระจายไปทั่วในอากาศ เริ่มมีผู้พบผีเสื้อกลางคืนสปีชีส์เดียวกันน
ี้แต่มีสีดําเข้มขึ้นกว่าเดิมปรากฏขึ้นในเขตเมืองแมนเชสเตอร์ ซึ่งเป็นเขตที่มีการอุตสาหกรรมใหญ่และมีกลุ่มควันจากโรงงานอุตสาหกรรมทําลายพวกไลเคนส์ตามเปลือกไม้ และทําให้ต้นไม้มีสีดําเต็มไปหมด
ต่อมในช่วงเวลาไม่ถึงร้อยปีพบผีเสื้อกลางคืนที่มีสีดําเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกือบทั้งหมดเป็นผีเสื้อสีดํา



ภาพ การปรับตัวของผีเสื้อกลางคืนชนิดเดียวกันแต่อยู่ในสภาพแวดล้อมต่างกัน
ที่มา : http://www.azizstan.ac.th/th/images/stories/evolution/moth.jpg