1. กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่


ภาพ ชอง บัปติสต์ เดอ ลามาร์ก
ที่มา : http://home.biotec.or.th/NewsCenter/my_documents/my_pictures/BEE82_lamarck.jpg
 
      ชองบัปติสต์เดลามาร์ก(JeanBaptistedeLarmarck)เป็นนักชีววิทยาชาวฝรั่งเศสเป็นบุคคลแรกที่ได้วางรากฐาน
ทางวิวัฒนาการขึ้นและได้ตั้งทฤษฎีขึ้น เรียกว่า ทฤษฎีของลามาร์ก (Lamarck’s theory) และตีพิมพ์ในหนังสือ
philosophinezoologigueในปีพ.ศ.2345เป็นที่เชื่อถือกันมากกว่า70ปีลามาร์กได้ศึกษาและจำแนกพืชและสัตว์
และพบว่าลักษณะของสิ่งมีชีวิตจะแปรผันไปตามสภาพแวดล้อมในอาณาจักรสัตว์จะมีแบบฉบับพื้นฐานแบบเดียวกัน
สัตว์ชนิดเดียวกันย่อมมีรูปแบบพื้นฐานเหมือนกันและการเปลี่ยนแปลงของลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นย่อมเป็นประโยชน์
แก่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ข้อเท็จจริงจากการศึกษาเหล่านี้ทำให้ลามาร์กเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการของลามาร์กขึ้น มีใจความสำคัญคือ
       1. สิ่งมีชีวิตและส่วนต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตมีความโน้มเอียงที่จะมีขนาดเพิ่มขึ้น
       2. การเกิดอวัยวะใหม่มีผลมาจากความต้องการใหม่ในการดำรงชีวิต
       3. อวัยวะใดที่ถูกใช้อยู่เสมอ มีความโน้มเอียงที่จะมีการเจริญและมีขนาดเพิ่มขึ้น อวัยวะใดไม่ค่อยได้ใช้จะเสื่อมหายไป
ซึ่งพัฒนาไปเป็นกฎการใช้และไม่ใช้ (Law of Use and Disuse)
       4. การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้ง 3 ประการข้างต้น สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ เรียกว่า กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่(LawofInheritanceofAcquiredCharacteristics)อันเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
รูปร่างลักษณะมากขึ้นตามระยะเวลาลามาร์กได้อธิบายลักษณะคอยาวของยีราฟว่า ยีราฟในอดีตนั้นคอสั้นกว่าปัจจุบัน
ยีราฟต้องยืดคอขึ้นกินยอดไม้ที่อยู่สูง ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้นาน ๆ จึงทำให้ลูกหลานยีราฟคอค่อย ๆ ยาวขึ้นและลักษณะดังกล่าวสามารถถ่ายทอดลักษณะไปสู่ลูกหลานได้
ในยุคนั้นได้รับการเชื่อถือมากแต่ในปัจจุบันความเชื่อนี้ได้หมดไปเนื่องจากการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ของสิ่งมีชีวิตไม่ได้เกิดจากการฝึกปรือหรือการใช้อยู่เสมอ



ภาพ แนวคิดที่เกี่ยวกับยีราฟที่มีลักษณะคอและขายาวของลามาร์ก
ที่มา : http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/150charles-darwin/images/Lamark%20giraff.jpg