:: ยินดีต้อนรับเข้าสู่ เว็บไซต์ธรณีภาค ธรณีประวัติค่ะ::  


รอยต่อธรณีภาค
          เป็นรอยตะเข็บเก่าๆดั้งเดิมที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลก2แผ่นขึ้นไปที่มีความแตกต่างกันทางธรณีประวัติชนิดหินซากดึกดำบรรพ์ลักษณะสำคัญของรอยตะเข็บนี้คือ จะมีหินหรือตะกอนหินที่มาจากพื้นมหาสมุทรเท่านั้นโผล่ขึ้นมาเช่นหินที่พบในOceanicfloorหินเชิร์ตน้ำลึกเม็ดแร่แมงกานีสซึ่งหินดังกล่าวไม่สามารถพบได้ง่ายในแผ่นดินทั่วไป ซึ่งที่หินพวกนี้โผล่ขึ้นมาได้ก็เพราะการชนกัน ทำให้เกิดการเกย การยู่ยี่และบีบตัวของแผ่นมหาสมุทรที่อยู่ตรงกลางแบบกล้วยทับถูกเหยียบ นอกจากนี้ยังพบว่าใกล้รอยตะเข็บมักพบหินภูเขาไฟเดิมเป็นเทือกอีกด้วย

ในประเทศไทย รอยต่อธรณีที่ชัดเจนและยอมรับกันมากที่สุดได้แก่ รอยต่อธรณีน่าน-อุตรดิตถ์ สระแก้ว-จันทบุรีและแถบนราธิวาส
          ประโยชน์ของรอยต่อ คือจะมีแร่ธาตุที่พบเฉพาะใน ท้องทะเลลึก สะสมตัวอยู่เช่น โครไมต์ แมงกานีส และก็ยังมีแร่ที่เกิดจากการเฉือนเช่น ทัลก์ แอสเบตทอส
และยังเป็นสถานที่ที่ศึกษาลักษณะของท้องทะเลลึกได้โดยไม่ต้องดำน้ำเป็นกิโลๆ


รอยต่อของแผ่นธรณี
          เมื่อนำแผ่นภาพแต่ละทวีปมาต่อกัน จะเห็นว่ามีส่วนที่ต่อกันได้พอดี เช่น ขอบตะวันออกของอเมริกาใต้สามารถต่อกับขอบตะวันตกของทวีปแอฟริกาใต้ได้อย่างพอดี ซึ่งเป็นเหตุผลที่สามารถตั้งเป็นสมมติฐานได้ว่า ทวีปทั้งสองอาจเป็นแผ่นดินผืนเดียวกันมาก่อน แล้วต่อมาก็แยกออกจากกันโดยเคลื่อนไปทางทิศตะวันออกส่วนหนึ่ง และทิศตะวันตกอีกส่วนหนึ่ง จนกลายเป็นมหาสมุทรแอตแลนติกเข้ามาแทนที่ตรงรอยแยก และแผ่นทวีป ก็มีการเคลื่อนตัวแยกไปเรื่อย ๆ จนปรากฏเป็นตำแหน่ง และรูปร่างของทวีปทั้งสองดังปัจจุบัน


ภาพแสดง แนวขอบของทวีปต่างๆในปัจจุบันที่คิดว่าเคยต่อเชื่อมเป็นผืนเดียวกัน

ที่มา : http://www.geothai.net/2009/index.php?option=com_content&view=article&id=80:-plate-tectonics&catid=57:tectonics&Itemid=100007

          ภูเขาไฟเกือบทั้งหมดในโลก จะพบในบริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีภาค โดยเฉพาะรอบๆมหาสมุทรแปซิฟิก ที่เรียกว่า วงแหวนแห่งไฟ สำหรับประเทศไทยไม่มีภูเขาไฟที่มีพลัง เนื่องจากอยู่นอกเขตการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ภูเขาไฟส่วนใหญ่ไม่ชัดเจน ที่มีรูปร่างชัดเจน ได้แก่ ภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู(ลำปาง) ภูพระอังคารและภูเขาพนมรุ้ง(บุรีรัมย์) ซึ่งจะมีปากปล่องเหลือให้เห็น ทั้งนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว ถูกกระบวนการกัดกร่อนผุพังทำลายจนไม่เห็นรูปร่างของภูเขาไฟชัดเจน
ปล่องภูเขาไฟลำปางที่จัดได้ว่าเห็นชัดที่สุด ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่อเนื่องของอำเภอเมืองและอำเภอแม่ทะ ได้แก่ปล่อง ภูเขาไฟดอยผาคอกจำป่าแดด และปล่องภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู ปล่องภูเขาไฟทั้งสอง ตั้งอยู่ไม่ห่างกัน โดยอยู่คนละฝั่งถนน สายเข้าเหมืองถ่านหินแม่เมาะ การเข้าถึงทำได้โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 11 (ลำปาง-เด่นชัย) ออกจากตัวเมืองลำปางไป 10 กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้ายเข้าเหมืองถ่านหินแม่เมาะไปถึงระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 2 และ 3 จะมีทางเลี้ยวขวาเข้าวัดเวียงสวรรค์ ให้วิ่งตามทางลาดยางเข้าไป 3.5 กิโลเมตรจะถึงวัด แต่ไม่เข้าวัดให้เลยไปจนสุดถนนซึ่งเป็นลานจอดรถด้านหลัง แล้วเดินขึ้นบันไดซีเมนต์ไปอีกราว 100-200 เมตร ขึ้นไปที่ศาลาชมวิวบนยอดเขา ซึ่งสร้างอยู่บนปากปล่องของภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู ส่วนปล่อง

          ภูเขาไฟดอยผาคอกจำป่าแดด ให้ใช้ถนนเข้าเหมืองเช่นกัน ไปจนเลยหลักกิโลเมตรที่ 6 เล็กน้อยจะมีทางแยกซ้ายเข้าสู่เชิงเขาดอยผาคอกจำป่าแดด แต่ที่นี่ไม่มีทางขึ้นเขาเหมือนที่ดอยผาคอกหินฟู จึงขึ้นไปปากปล่องไม่ได้

          ชื่อของภูเขาไฟทั้งสองได้มาจากชาวบ้านในบริเวณนั้น เป็นคำง่ายๆ ที่มีความหมายสอดคล้องกับลักษณะของปล่องภูเขาไฟ คำว่า ผาคอก หมายถึงเขาที่มีผากั้นล้อมรอบ
หินฟู หมายถึงหินที่มีลักษณะเป็นรอยแตกฟู มีน้ำหนักเบา ลอยน้ำได้ หรือตะกรันภูเขาไฟ (Scoria) ส่วนคำว่า จำป่าแดด เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากในบริเวณปล่อง ภูเขาไฟ

          ภูเขาไฟทั้งสองลูกนี้สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลจากเส้นทางสายลำปาง-เด่นชัย ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 14 ที่กลางสะพานข้ามทางรถไฟ โดยให้มองไปทางเหมืองแม่เมาะจะเห็นภูเขายาวต่อเนื่องกันตั้งตระหง่านขวางหน้า ให้สังเกตภูเขาลูกเล็กยอดแหลม ซึ่งโดดเด่นกว่าบริเวณข้างเคียงตรงกลางเทือก จุดนี้เป็นจุดแบ่งระหว่างภูเขาไฟดอยผาคอกจำป่าแดดที่อยู่ทางซ้ายและภูเขาไฟดอยคอกผาหินฟู ที่อยู่ทางขวา มีระยะห่างกันในแนวเหนือใต้ เป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร

          ปล่องภูเขาไฟลำปางอีกบริเวณหนึ่ง อยู่ที่บริเวณอำเภอเกาะคา อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางไปประมาณ 32 กิโลเมตร อยู่ในแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1: 50,000 ระวางอำเภอเกาะคา เส้นละติจูดที่ 19ฐ 0ข 94ขข เหนือกับเส้นลองจิจูดที่ 5ฐ 40ข 100ขข ตะวันออก ปล่องภูเขาไฟนี้มีถนนสายลำปาง-สบปราบ (ทางหลวงหมายเลข 1) ตัดผ่านระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 586 ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของเส้นทางสายนี้ โดยจะเห็นชั้นหินลาวา (หินบะซอลต์) ซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ เนื่องจากปากปล่องภูเขาไฟมีบริเวณกว้าง ลักษณะของพืชหรือต้นไม้คลุมดินมีลักษณะเหมือนๆ กับภูมิประเทศทั่วๆ ไปจึงไม่เป็นที่ทราบว่าบริเวณนั้นเป็นส่วนหนึ่งของปล่องภูเขาไฟ

 

ก่อนหน้า | หน้าหลัก

Top

   
   
     
 
| หน้าหลัก | | แผ่นธรณีภาค | | การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค | | หลักฐานและข้อมูลทางธรณีภาค | | อายุทางธรณีวิทยา |
| ซากดึกดำบรรพ์ | | การลำดับชั้นหิน | | เกร็ดความรู้ | | แบบทดสอบ | | แหล่งอ้างอิง | | คณะผู้จัดทำ |