:: ยินดีต้อนรับเข้าสู่ เว็บไซต์ธรณีภาค ธรณีประวัติค่ะ::  


หลักฐานสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์

          มีการอ้างหลักฐานการพบซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์และชั้นของหินชนิดเดียวกันในสองทวีปแถบที่อยู่ด้านเดียวกันหรือใกล้เคียง 
เวเกเนอร์ได้เสนอแนะให้ลองพิจารณารูปร่างของทวีปต่างๆ บนแผนที่โลก เวเกเนอร์ยังได้ศึกษาซากฟอสซิลของพืชและสัตว์ที่มีอยู่ตามแนวชายฝั่ง (Coastline)ทั้งทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกาซึ่งพบว่าบริเวณที่แนวชายฝั่งทวีปทั้งสองต่อตรงกันนั้นซากฟอสซิลที่พบก็เหมือนกันทุกอย่างด้วยซึ่งหมายความว่าพืชและสัตว์ที่กลายเป็นฟอสซิลนั้นเป็นชนิดเดียวกัน หากทวีปทั้งสอง อยู่แยกกันมาอย่างในปัจจุบัน โดยมีมหาสมุทรคั่นระหว่างทวีปเช่นนี้ แล้วพวก พืชและสัตว์ในอดีตเหล่านี้จะเดินทางจากทวีปหนึ่งข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปสู่อีกทวีปหนึ่งได้อย่างไร ข้อสังเกตนี้สนับสนุนสมมติฐานของเวเกเนอร์ที่ว่า ทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกาเดิมเป็นผืนดินเดียวกัน


ภาพแสดง ซากฟอสซิลของพืชและสัตว์ที่มีอยู่ตามแนวชายฝั่ง
ที่มา : http://www.sema.go.th/files/Content/science/k4/0035/F01/s2-2.htm

          นอกจากนี้เวเกเนอร์ยังพบหลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อน เมื่อเขาได้เริ่มศึกษา สภาพอากาศในยุคโบราณก็ได้พบหลักฐานที่น่าสนใจ คือ กา เปลี่ยนแปลงสภาพ อากาศของโลกธารน้ำแข็งที่ทับถมสะสมกันบ่งชี้ให้เห็นว่าบางส่วนของทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกาใต้ อินเดีย และออสเตรเลียตะวันตก เมื่อประมาณ 300 ล้านปีที่แล้วเคย ปกคลุมด้วยแผ่นน้ำแข็ง ใต้กองธารน้ำแข็งเหล่านี้จะเป็นชั้นหินแข็งชั้นล่าง (Bedrock) ที่ปรากฏร่องรอยครูดเป็นทาง แสดงให้เห็นว่าธารน้ำแข็งเคยเคลื่อนที่ พาดผ่านหินนี้มาก่อน โดยเคลื่อนตัวจา ทวีปแอฟริกาไป สู่มหาสมุทรแอตแลนติก และ จากมหาสมุทรแอตแลนติกไปสู่ทวีปอเมริกาใต้ รอยครูดจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อแผ่นดิน ของสองทวีปนี้ติดกันเท่านั้น ถ้าแยกกันโดยมีมหาสมุทรกั้นอย่างเช่นในปัจจุบัน ธารน้ำแข็งจะไม่สามารถทิ้งรอยครูดไว้กับชั้นหินที่อยู่ใต้มหาสมุทรได้เลย ในช่วงเวลา เดียวกันนี้ ซีกโลกด้านเหนือ (Northern Hemisphere) มีลักษณะเป็นเขตร้อน และเขียวชอุ่ม พืชพันธุ์อันอุดมสมบูรณ์ที่เกิดในหนองน้ำบนผืน ทวีปอเมริกาตะวันออก ยุโรป และ ไซบีเรียเมื่อครั้งนั้น ได้กลายมาเป็นเขต เหมืองถ่านหิน ในปัจจุบันซีกโลก ด้านเหนือซึ่งมีภูมิอากาศแบบเขตร้อนนี้ช่วยสนับสนุน ทฤษฎีของเวเกเนอร์ เนื่องจาก เมื่อพิจารณาผืนดินใหญ่ หรือแพนเจีย300ล้านปีมาแล้วจะเห็นได้ว่าส่วนที่เป็นเขตร้อนเขียวชอุ่มนั้นคือบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรแม้ว่าจะมีข้อมูลสนับสนุนทฤษฎีของเวเกเนอร์แต่นักวิทยาศาสตร์ในยุคนั้นก็ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้และต้องใช้เวลานานถึงครึ่งศตวรรษ ทฤษฎีของเวเกเนอร์จึงได้รับการยอมรับ


ภาพแสดง ชั้นหินแข็งชั้นล่าง
ที่มา : http://www.sema.go.th/files/Content/science/k4/0035/F01/s2-4.htm

 

ก่อนหน้า | หน้าหลัก | ถัดไป

Top

   
   
     
 
| หน้าหลัก | | แผ่นธรณีภาค | | การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค | | หลักฐานและข้อมูลทางธรณีภาค | | อายุทางธรณีวิทยา |
| ซากดึกดำบรรพ์ | | การลำดับชั้นหิน | | เกร็ดความรู้ | | แบบทดสอบ | | แหล่งอ้างอิง | | คณะผู้จัดทำ |