:: ยินดีต้อนรับเข้าสู่ เว็บไซต์ธรณีภาค ธรณีประวัติค่ะ::  


ภาพแสดง รูปภาพของ ดร.อัลเฟรด เวเกเนอร์
ที่มา : http://www.sema.go.th/files/Content/science/k4/0035/F01/images/Th/1_1.jpg

          ในปี พ.ศ. 2458 นักอุตุนิยมวิทยาชาวเยอรมัน ชื่อ ดร.อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Dr.Alfred Wegener) ได้ตั้งสมมติฐานว่า ผืนแผ่นดินทั้งหมดบนโลกเดิมเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน เรียกว่า พันเจีย (Pangaea) ซึ่งเป็นภาษากรีก แปลว่า แผ่นดินทั้งหมด

          ต่อมาเมื่อประมาณ 200 ล้านปีที่แล้ว พันเจียเริ่มแยกออกเป็นทวีปใหญ่ 2 ทวีป คือ ลอเรเซีย ทางตอนเหนือ และ กอนวานา ทางตอนใต้โดยทวีปทางตอนใต้จะเคลื่อนที่แยกจากกันเป็น อินเดีย อเมริกาใต้ และอัฟริกา ในขณะที่ออสเตรเลียยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกอนวานา จนเมื่อประมาณ 65 ล้านปีที่ผ่านมา มหาสมุทรแอตแลนติก แยกตัวกว้างขึ้น ทำให้อัฟริกาเคลื่อนที่ห่างออกไปจากอเมริกาใต้ แต่ออสเตรเลียยังคงเชื่อมอยู่กับอันตาร์กติกา และอเมริกาเหนือกับยุโรปก็ยังคงต่อเนื่องกัน
           ต่อมามหาสมุทรแอตแลนติกขยายกว้างขึ้นอีก อเมริกาเหนือและยุโรปจึงแยกจากกัน อเมริกาเหนือโค้งเว้าเข้าเชื่อมกับอเมริกาใต้ ออสเตรเลียก็แยกออกจากอันตาร์กติกา และอินเดียได้เคลื่อนไปชนกับเอเซียจนเกิดเป็นภูเขหิมาลัยซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินและมหาสมุทรดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

นักธรณีวิทยาแบ่งแผ่นธรณีภาคของโลกออกเป็น 2 ประเภท คือ แผ่นทวีป และแผ่นมหาสมุทร ซึ่งทั้ง 2 ประเภทรวมกันมีจำนวน 13 แผ่น คือ

          1. แผ่นแอฟริกา
          2. แผ่นอเมริกาใต้
          3. แผ่นคาลิบเบีย
          4. แผ่นอาระเบีย
          5. แผ่นอเมริกาเหนือ
          6. แผ่นอเมริกาใต้
          7. แผ่นยูเรีย
          8. แผ่นยูเรีย
          9. แผ่นฟิลิปปินส์
         10. แผ่นแปซิฟก
         12. แผ่นคอคอส
         13. แผ่นนาสกา
         14. แผ่นแอนตาร์กติก


แผ่นธรณีภาคเหล่านี้มีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา

 

หน้าหลัก | ถัดไป

Top