ปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากสิ่งที่มีชีวิตและสัตว์ที่เน่าเปื่อยผุพังรวมทั้งมูลสัตว์ด้วย ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่
          1 ปุ๋ยคอก คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งที่สัตว์ขับถ่ายออกมา เช่น อุจาจาระ ปัสสาวะ ของพวกสัตว์ต่าง ๆ ปุ๋ยคอกเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ในการปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน ช่วยลดอัตราการพังทลายของดินเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน เป็นต้น คุณภาพของปุ๋ยคอกนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ หลายอย่างด้วยกัน เช่น
ปุ๋ยคอก

               1.1 ชนิดของสัตว์ สัตว์ต่างชนิดกัน เช่น ไก่และหมู ก็ย่อมจะได้ส่งขับถ่ายที่แตกต่างกันไปทั้งในปริมาณและชนิดของธาตุอาหารที่มีอยู่ในสิ่งขับถ่ายนั้น จึงทำให้ความเป็นประโยชน์ของปุ๋ยคอกเหล่านั้นแตกต่างกันไปด้วย
               1.2 ชนิดของอาหารที่สัตว์กิน สัตว์แต่ละชนิดกินอาหารที่แตกต่างกัน หรือสัตว์ชนิดเดียวกันถ้าอยู่ในสภาพการเลี้ยงดูด้วยอาหารที่ต่างกันก็จะมีผลทำให้สิ่งขับถ่ายของสัตว์ที่ออกมาแตกต่างกันไปด้วย เช่น สัตว์ที่กินอาหารพวกหญ้าหรือฟาง ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารต่ำกว่าพวกอาหารเสริมพวกรำข้าว ก็จะทำให้ปุ๋ยคอกที่ได้นั้นคุณภาพต่ำลงด้วย
               1.3 อายุของสัตว์ สัตว์ที่มีอายุต่างกันย่อมต้องการอาหารที่ต่างกัน ทั้งด้านชนิดและปริมาณ รวมทั้งความสามารถในการย่อย ดังนั้นปุ๋ยคอกที่ได้ย่อมมีประโยชน์ที่ต่างกันออกไป เช่น สัตว์แก่ย่อมจะให้มูลสัตว์ที่มีปริมาณธาตุอาหารพืชที่มากกว่ามูลสัตว์ที่มีอายุน้อย
               1.4 วิธีการเก็บรักษาปุ๋ยคอกจะมีความสำคัญมากเพราะธาตุอาหาร ของพืชในปุ๋ยคอกจะมีโอกาสสูญหายไปได้หลายทาง คือ การซึมหายลงไปในดิน น้ำชะล้าง หรือสูญเสียไปในรูปของก๊าซ การเก็บจึงควรเก็บบนพื้นคอนกรีต เพื่อช่วยดูดซับสิ่งขับถ่ายที่เป็นของเหลวของสัตว์ไม่ให้ซึมหายลงไปในดิน และควรมีหลังคาเพื่อป้องกันการชะล้างของน้ำฝนด้วย นอกจากนี้การใส่ปุ๋ยซูปเปอร์ฟอสเฟตลงไปในปุ๋ยคอกจะช่วยให้ลดการสูญเสียธาตุไนโตรเจนของปุ๋ยคอกนั้น

          2. ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยที่เกิดจากเศษพืชต่าง ๆ เช่น หญ้าและใบไม้ ตัวถั่ว ต้นข้าวโพด ซัง่ข้าวโพด เปลือกถั่วต่าง ๆ ใบจามจุรี ฟาวข้าว ผักตบชวา เมื่อนำมากองหมักไว้จนเน่าเปื่อยก็ใช้เป็นหมักได้
          3. ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยที่ได้จากการปลูกพืชบำรุงดิน เช่น พวกพืชตระกูลถั่ว เมื่อพืชเจริญเติบโตถึงระยะหนึ่ง เราก็ทำการไถกลบในขณะที่พืชยังเขียวและสดอยู่ ซึ่งมักจะไถกลบในช่วงที่พืชกำลังออกดอก เพราะเป็นช่วงที่เหมาะสมแก่การให้ธาตุอาหารแก่พืชมากที่สุด

   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
โครงการประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ (Digital Learning Contest) ครั้งที่ 2
สร้างสรรค์โดยครู นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1