ความสำคัญของธาตุอาหารหลัก

ภาพแสดง หน้าที่ของธาตุอาหารหลัก


1. ธาตุไนโตรเจน (N)

    1.1 หน้าที่ของธาตุไนโตรเจน มีดังนี้
           1.1.1 ช่วยกระตุ้นให้ พืชเจริญเติบโตและมีความแข็งแรง
           1.1.2 ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของใบและลำต้น
           1.1.3 ทำให้พืชมีใบสีเขียวเข้ม
           1.1.4 ส่งเสริมคุณภาพของพืช โดยเฉพาะพืชผักสวนครัวที่ใช้ใบ ลำต้น และหัวเป็นอาหาร
           1.1.5 ส่งเสริมให้พืชตั้งตัวได้เร็ว ในระยะแรกของการเจริญเติบโต
           1.1.6 เพิ่มปริมาณโปรตีนให้แก่พืชที่ใช้เป็นอาหาร เช่น ข้าว หรือหญ้าเลี้ยงสัตว์
           1.1.7 ควบคุมการออกดอกออกผลของพืช
           1.1.8 ช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยเฉพาะพืชที่ให้ผลและเมล็ด

    1.2 อาการที่พืชขาดไนโตรเจน
           1.2.1 ใบพืชมีสีเหลืองซีด
           1.2.2 ลำต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโตตามปกติ
           1.2.3 ให้ผลผลิตต่ำและคุณภาพเลว

    1.3 อาการที่พืชได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป
           1.3.1 ลักษณะลำต้น ใบมีสีเขียวจัด
           1.3.2 มีอาการเผือใบ ความต้านโรคลดลง
           1.3.3 พืชแก่ช้ากว่าปกติ เพราะไนโตรเจนจะส่งเสริมให้มีการเจริญเติบโตอยู่เรื่อย ๆ
           1.3.4 ลำต้นหัก โค่น เปราะและล้มง่าย

2. ธาตุฟอสฟอรัส (P)


หน้าที่ของธาตุฟอสฟอรัส

     2.1 หน้าที่ของธาตุฟอสฟอรัส มีดังนี้
            2.1.1 ช่วยในการแบ่งเซลของพืช และช่วยในการเปลี่ยนแปลงแป้งให้เป็นน้ำตาล
            2.1.2 ช่วยในการสร้างรากพืช โดยเฉพาะรากแขนงและรากฝอย
            2.1.3 ช่วยเร่งออกดอก ออกผลของพืช ทำให้พืชแก่เร็ว และช่วยสร้างเมล็ดพืช
            2.1.4 ช่วยเสริมสร้างคุณภาพของพืชพวกธัญพืชและพืชผัก

     2.2 อาการที่พืชขาดธาตุฟอสฟอรัส
            2.2.1 พืชจะแก่ช้ากว่าปกติ
            2.2.2 ดอกและผลไม่สมบูรณ์ เล็กผิดปกติ

หน้าที่ของธาตุโปแตสเซี่ยม

3. ธาตุโปแตสเซี่ยม (K)

    3.1 หน้าที่ของธาตุโปแตสเซี่ยม มีดังนี้
           3.1.1 เป็นธาตุที่จำเป็นในการสร้างคาร์โบไฮเดรต และช่วยส่งเสริมให้พืชดูดก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ได้ดีขึ้น
           3.1.2 ช่วยในการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลภายในพืช
           3.1.3 ช่วยในการสร้างเนื้อไม้ส่วนที่เข็งของลำต้น
           3.1.4 ช่วยเสริมสร้างคุณภาพของผลไม้และพืชหัว
           3.1.5 ช่วยป้องกันผลเสียหายอันเนื่องจากพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป

    3.2 อาการที่พืชขาดธาตุโปแตสเซี่ยม
           3.2.1 ขอบใบจะเหลืองแล้วกลายเป็นน้ำตาล โดยเริ่มจากปลายใบเข้าสู่กลางใบและส่วนที่เป็นสีน้ำตาลก็จะแห้งเหี่ยวไป ซึ่งเห็นได้ชัดในพวกข้าวโพด
           3.2.1 พืชเจริญเติบโตช้า ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพต่ำ
           3.2.3 พืชหักล้มง่าย มีความต้านทานโรคน้อย

   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
โครงการประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ (Digital Learning Contest) ครั้งที่ 2
สร้างสรรค์โดยครู นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1