ข้อมูลเกี่ยวกับระนาดเอก


Homeระนาดเอกผู้จัดทำ
ประวัติระนาดเอก 
เหตุใดจึงเรียกว่า 
ส่วนประกอบของระนาด 
ลายบนรางระนาดเอก 
ข้อมูลเกี่ยวกับระนาดเอก 
ระนาดในวงปี่พาทย์ต่างๆ 
การฝึกระนาดเอก 

ข้อมูลเกี่ยวกับระนาดเอกจากหนังสือสารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย
  
ภาคคีตะ - ดุริยางค์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

         ระนาด, ระนาดเอก เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี สันนิษฐานว่าแต่เดิมคงนำไม้ทำอย่างกรับหลายๆอันวางเรียงตีให้เกิดเสียงอย่างหยาบๆขึ้นก่อน แล้วคิดทำไม้รองเป็นรางวางเรียงไป ต่อมาจึงประดิษฐ์ดัดแปลงให้มีขนาดลดหลั่นกันวางบนรางเพื่อให้อุ้มเสียงได้ จากนั้นจึงใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆนั้นให้ติดกันขึงแขวนไว้บนราง ใช้ไม้ตีเกิดเสียงกังวานไพเราะลดหลั่นกันตามต้องการ และใช้ขี้ผึ้งกับตะกั่วผสมกันติดหัวท้ายลูก
ระนาดเพื่อถ่วงเสียงให้ไพเราะยิ่งขึ้น ให้ชื่อว่า "ระนาด"

         ต่อมามีผู้คิดประดิษฐ์ระนาดอีกชนิดหนึ่งให้มีเสียงทุ้มฟังนุ่มไม่แกร่งกร้าวเหมือนอย่างเก่า จึงเรียกระนาดอย่างใหม่นั้นว่า "ระนาดทุ้ม" และ
เรียกระนาดอย่างเก่าว่า "ระนาดเอก" ระนาดเอกถ้าต้องการเสียงไพเราะนุ่มนวลมักนิยมทำด้วยไม้ไผ่บง ถ้าต้องการให้เสียงเกรียวกราวมักนิยมทำ
ด้วยไม้แก่นเช่น ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ลูกระนาดมีจำนวน
21 ลูก ลูกต้น (อยู่ซ้ายมือของผู้ตี) ขนาดยาวประมาณ 39 ซม. กว้างประมาณ 5 ซม.หนา 1.5 ซม. ลูกต่อมาก็ลดหลั่นกันลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอด (ขวามือของผู้ตี) มีขนาดยาว 29 ซม. ลูกระนาดเหล่านั้นร้อยเชือกติดกันเป็นผืน
แขวนบนรางซึ่งทำด้วยไม้เนื้อแข็งมีรูปร่างคล้ายลำเรือ ด้านหัวและท้ายโค้งขึ้นเพื่อให้อุ้มเสียงมีแผ่นไม้ปิดหัวและท้ายรางระนาดเรียกว่า"โขน" วัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งถึงโขนอีกข้างหนึ่งยาวประมาณ
120 ซม. มีฐานรูปทรง สี่เหลี่ยมรองตรงส่วนโค้งตรงกลางเรียกว่า "เท้า"

         ระนาดเอกใช้ไม้ตี 1 คู่ ตอนที่ใช้มือถือเหลาเล็กเป็นก้านไม้กลม หัวไม้ตีทำเป็น 2 ชนิด ชนิดหนึ่งทำด้วยวัสดุแข็งตอนปลายพอกด้วยผ้าชุบยางรักบรรเลงให้เสียงดังเกรียว กราว เมื่อผสมเข้าวงเรียกว่า "ปี่พาทย์ไม้แข็ง" ไม้ตีอีกชนิดหนึ่งคิดทำกันขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุล
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯทำด้วยวัสดุซึ่งนุ่มกว่า ใช้ผ้าพันแล้วถักด้าย สลับจนนุ่มบรรเลงให้เสียงนุ่มนวล เมื่อผสมเข้าวงเรียกว่า
"ปี่พาทย์ไม้นวม" ผู้ตีนั่งหัน หน้าเข้าหาเครื่องดนตรีจับไม้ข้างละมือตีคู่แปดพร้อมกัน

         ระนาดเอกเป็นเครื่องดนตรีชิ้นนำของวงปี่พาทย์เพราะไม่ว่าจะเริ่มเล่นเพลงหรือ เปลี่ยนเพลงทั้งวงจะยึดแนวของระนาดเอกเป็นหลัก นอก
จากนี้ระนาดเอกยังเป็นเครื่อง ดนตรีหลักในการผสมวงเช่น ปี่พาทย์เครื่องห้า ปี่พาทย์เครื่องคู่ ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ปี่พาทย์มอญ ปี่พาทย์นางหงส์ หรือแม้แต่ในวงมโหรีไม่ว่าจะเป็นมโหรีเครื่องเล็ก มโหรี เครื่องคู่ หรือ มโหรีเครื่องใหญ่ ต่างก็ใช้ระนาดเอกเป็นหลักทั้งสิ้น

 

จัดทำโดยครูอาร์ค โรงเรียนพวงคราม อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
Copyright (c) 2007 Mr.Poonsak Sakkatatiyakul. All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2550

thaigoodview.com Version 17.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com