เหตุใดจึงเรียกว่า


Homeระนาดเอกผู้จัดทำ
ประวัติระนาดเอก 
เหตุใดจึงเรียกว่า 
ส่วนประกอบของระนาด 
ลายบนรางระนาดเอก 
ข้อมูลเกี่ยวกับระนาดเอก 
ระนาดในวงปี่พาทย์ต่างๆ 
การฝึกระนาดเอก 

เหตุใดจึงเรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า "ระนาด"

          มีเครื่องดนตรีจำนวนมากที่ถูกตั้งชื่อตามลักษณะเสียงของเครื่องดนตรีนั้นๆ เช่น ฉิ่ง กรับ ฆ้อง เป็นต้นแต่น่าแปลกที่ ระนาด ไม่ได้ถูก
เรียกชื่อตามลักษณะของเสียงที่ได้ยินเมื่อเคาะลูกระนาด ชื่อนี้มีที่มาอย่างไร
? และเหตุใดจึงเรียกเช่นนั้น? ได้มีการสันนิษฐานตามหลักภาษา
ศาสตร์เป็น
2 กระแสคือ

          1) กระแสแรกมีความเห็นว่า คำว่าระนาดนั้นเป็นคำไทยที่แผลงหรือยืดเสียงมา จากคำว่า "ราด" เช่นคำว่า "เรียด" แผลงเป็น "ระเรียด" "ราบ" แผลงเป็น "ระนาบ" เป็นต้น ทั้งยังมีสำนวนที่ชอบพูดติดปากกันมาแต่โบราณว่า "ปี่พาทย์ ราด ตะโพน" ซึ่งมีคำว่า ราด ปรากฏรวมอยู่ในประโยคดังกล่าวด้วยและอาจจะหมายถึงระนาดเอกก็ได้ คำว่า "ราด" นั้นมีความหมายว่า แผ่ออกไป กระจายออกไป ซึ่งก็ดูจะพ้องกับวิธี การที่นำเอาไม้กรับหรือลูกระนาดมาวางเรียงตามขนาดลดหลั่น กันหรือการนำท่อนไม้มา วางเรียงขวางทางเดินแล้วเรียกท่อนไม้เหล่านั้นว่า "ลูกระนาด" อย่างไรก็ดีเรื่องนี้ยังไม่มี ข้อยุติที่แน่ชัดว่าเป็นการเรียกท่อนไม้ที่วางเรียงขวางทางเดินก่อนแล้วจึงนำมาเรียกเป็นชื่อ เครื่องดนตรีในภายหลังหรือ
ว่าเป็นศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อใช้เรียกเครื่องดนตรีก่อนแล้ว จึงใช้เรียกการเรียงท่อนไม้ลักษณะนั้นในภายหลัง

          2) กระแสที่สอง เห็นว่าคำนี้น่าจะเป็นคำในภาษาเขมรดังปรากฏในบทความของ อาจารย์สงัด ภูเขาทอง เรื่อง "โปงลางในทัศนะของคนต่างถิ่น" จากหนังสือ "คำดนตรี" ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า ระนาดน่าจะไม่ใช่คำไทย ยิ่งไปพบ
คำเขมรที่เขียนว่า "ราด" คนเขมรออกเสียงว่า "เรียะส์" แต่ไทยออกเสียงว่า
"ราด" เป็นคำกริยาแปลว่า "คราด" เขามีวิธีทำคำกริยาให้เป็นคำนาม
ด้วยการเติมกลางคำ
(INFIX) คือแทรกตัว "น" เข้าไปเป็น "รนาส" คนเขมรอ่านว่า "โรเนียะส์" แต่คนไทยอ่านว่า "ระนาด" แปลว่า "ลูกคราด"
เวลาเขียนคำเขมรที่สะกดด้วยตัว "ส" เมื่อเป็นภาษาไทยมักจะแปลง ตัว "ส" ให้เป็น "ด" เช่น "โปรส" เป็น "โปรด" เป็นต้น ดังนั้นคำว่า "ระนาส"
จึงกลายเป็น "ระนาด" ไป และพลอยให้น่าเชื่อว่า คำว่าระนาดนั้นน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากภาษาเขมร

 

 

จัดทำโดยครูอาร์ค โรงเรียนพวงคราม อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
Copyright (c) 2007 Mr.Poonsak Sakkatatiyakul. All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2550

thaigoodview.com Version 17.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com